Publication: ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องวิญญาณในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ กับ พร รัตนสุวรรณ
Submitted Date
Received Date
Accepted Date
Issued Date
2016
Copyright Date
Announcement No.
Application No.
Patent No.
Valid Date
Resource Type
Edition
Resource Version
Language
th
File Type
No. of Pages/File Size
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Scopus ID
WOS ID
Pubmed ID
arXiv ID
item.page.harrt.identifier.callno
Other identifier(s)
Journal Title
วารสารปณิธาน
Panidhana Journal
Panidhana Journal
Volume
12
Issue
1
Edition
Start Page
41
End Page
58
Access Rights
Access Status
Rights
Rights Holder(s)
Physical Location
Bibliographic Citation
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Title
ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องวิญญาณในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ กับ พร รัตนสุวรรณ
Alternative Title(s)
Comparative study of Vinnana in Buddhadasa Bhikkhu’s and Phorn Rattanasuwan’s perspectives
Author(s)
Author’s Affiliation
Author's E-mail
Editor(s)
Editor’s Affiliation
Corresponding person(s)
Creator(s)
Compiler
Advisor(s)
Illustrator(s)
Applicant(s)
Inventor(s)
Issuer
Assignee
Other Contributor(s)
Series
Has Part
Abstract
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดเรื่องวิญญาณในทัศนะของพุทธทาสภิกขุกับอาจารย์พร รัตนสุวรรณ เกี่ยวกับความหมาย คุณลักษณะ ประเภท และสภาพการดำรงอยู่ ของวิญญาณตามสภาวะในภพภูมิต่างๆ รวมทั้งกระบวนการพัฒนาคุณภาพของวิญญาณ และวิเคราะห์คุณค่าทาง จริยะของความเชื่อเรื่องวิญญาณที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตและการกำหนดเป้าหมายชีวิต ผลจากการศึกษา ผู้วิจัยได้พบข้อสรุปแนวคิดเกี่ยวกับวิญญาณดังต่อไปนี้ ในด้านความหมาย “ วิญญาณ” ในทรรศนะของพุทธทาสภิกขุ หมายถึง ความรู้แจ้ง รู้แจ้งวิเศษ และสิ่งที่ควรรู้แจ้ง(นิพพาน)หรือแปลว่า สิ่งที่ควรพัฒนาให้ยิ่งขึ้นไป เป็นวิญญาณถึงขั้นอิสระเสรีได้ แต่อาจารย์พรกล่าวว่า “วิญญาณ” เป็นพลังงานทางนามธรรม หรือเป็นอำนาจอย่างหนึ่งที่มีอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะคือ ในสิ่งที่มีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือ มนุษย์ ล้วนมีวิญญาณทั้งสิ้น ในด้านคุณลักษณะ จากความคิดของทั้ง 2 ท่าน ไม่มีความแตกต่างกันในด้านคุณลักษณะ คือ ทั้ง 2 ท่าน กล่าวว่า วิญญาณมีคุณลักษณะ คือ การรู้แจ้งอารมณ์ หรือการรับรู้อารมณ์ ทางอายตนะทั้ง 6 และวิญญาณ มีลักษณะ เกิดและดับอย่างรวดเร็ว มีการเกิดและดับอยู่ตลอดเวลา เกิด ดับต่อเนื่องกันไป ตามเหตุปัจจัย ในด้านประเภท พุทธทาสกล่าวว่ามีอยู่ 3 ชนิด คือ 1 วิญญาณที่ยังเป็นธาตุอยู่ตามธรรมชาติ 2 วิญญาณที่ปรุงแต่งมาโดยสังขาร สำหรับทำความรู้สึกทางอายตนะและ 3 มีชื่อตามอายตนะ ส่วนอาจารย์พร แบ่งวิญญาณออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ภวังควิญญาณ หมายถึง จิตใต้สำนึก หรือจิตไร้สำนึก เป็นสภาวะจิตที่ไม่มีความรู้สึกนึกคิด เป็นวิญญาณที่ทำหน้าที่เป็นองค์แห่งภพ คือ เป็นรากฐานของชีวิต เป็นจิตที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ และ 2. วิถีวิญญาณ หรือวิญญาณปฏิบัติการับรู้ในขณะตื่น ในด้านสภาพการดำรงอยู่ของวิญญาณตามสภาวะภพภูมิต่างๆ พุทธทาสภิกขุไม่ได้เน้นชีวิตในอนาคต เพราะการเกิดของวิญญาณตามนัยปฏิจจสมุปบาทที่เป็นกระบวนการปัจจุบัน ในชาตินี้ ไม่โยงวิญญาณ ในลักษณะการข้ามภพข้ามชาติ ส่วนอาจารย์พร อธิบายวิญญาณในลักษณะการข้ามภพข้ามชาติ คือ ในเมื่อวิญญาณยังมีกิเลส หลังจากตายแล้ว จะต้องสร้างชีวิตต่อไปอีกไม่มีสิ้นสุด ในด้านกระบวนการพัฒนาคุณภาพของวิญญาณ การพัฒนาวิญญาณในทัศนะของทั้งสองท่านมีอยู่ 3 ขั้น ได้แก่ ระดับศีล ระดับสมาธิ และระดับปัญญา เพื่อพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริง เมื่อเข้าถึงจุดนี้ จึงจะรู้แจ้งทุกสิ่งตามเป็นจริง ในด้านคุณค่าทางจริยะที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตและการกำหนดเป้าหมายชีวิต พุทธทาส เน้นการพัฒนาวิญญาณ ในปัจจุบัน เป้าหมายชีวิต ต้องการความเป็นอิสรภาพด้วยการดับกิเลสตามกระบวนการของปฏิจจสมุปบาท ที่เรียกว่า นิพพานได้ในปัจจุบัน ขณะที่อาจารย์พร มีเป้าหมายชีวิตที่ดีในชาติหน้า ด้วยการทำกรรมดีปัจจุบัน สั่งสมบารมีให้มากขึ้น เมื่อบารมีเต็มจึงจะบรรลุนิพพานดับกิเลสได้
The thesis aimed to study the concept of vinnana in Bud-dhadasa Bhikkhu’s and Phorn Rattanasuwan’s Perspectives.The result revealed that the word ‘soul’ or vinnana for Buddhadasa Bhikkhu’s concept was referred to enlightenment, or thing that one should be known (Nibbana) or the thing that one should develop to the ultimate end or freedom that consisted of three characteristics viz. rising, remaining and decaying.According to Buddhadasa Bhikkhu’s concept of vinnana, there are three kinds of vinnana as: 1) Vinnana as the nature, 2) Vinnana as it was formed by the condittioned things or Sankhara and 3) Vinnana as named by Ayatana or sense – fields. Regarding to Phorn Rattanasuwan’s perspectives, it is referred to the power of mentality or as the general power. Especially. it can be found in living beings viz. plants, animals and human. They are considered to be the things that vinnana is existed. When both concepts are compared, the result revealed that it has similarity and differences as: Vinnana for Buddhadasa Bhikkhu’s concept referred to the consciousness of all faculties’ viz. eye, ears and so no and the explanation of the Dependent Origination in human language. Regarding to Phorn Rattanasuwan’s explanation of the Dependent Origination, he mentioned that it was the life process from birth to death.Buddhadasa Bhikkhu has explained the Dependent Origina-tion as the emptiness of self. Thus the cause of suffering in every step of Dependent Origination has the similarity as the ‘emptiness’ and it is being as the delusion of each until the Cessation of Suffer-ing. There is nothing to be called as self beyond the function of Dependent Origination.
The thesis aimed to study the concept of vinnana in Bud-dhadasa Bhikkhu’s and Phorn Rattanasuwan’s Perspectives.The result revealed that the word ‘soul’ or vinnana for Buddhadasa Bhikkhu’s concept was referred to enlightenment, or thing that one should be known (Nibbana) or the thing that one should develop to the ultimate end or freedom that consisted of three characteristics viz. rising, remaining and decaying.According to Buddhadasa Bhikkhu’s concept of vinnana, there are three kinds of vinnana as: 1) Vinnana as the nature, 2) Vinnana as it was formed by the condittioned things or Sankhara and 3) Vinnana as named by Ayatana or sense – fields. Regarding to Phorn Rattanasuwan’s perspectives, it is referred to the power of mentality or as the general power. Especially. it can be found in living beings viz. plants, animals and human. They are considered to be the things that vinnana is existed. When both concepts are compared, the result revealed that it has similarity and differences as: Vinnana for Buddhadasa Bhikkhu’s concept referred to the consciousness of all faculties’ viz. eye, ears and so no and the explanation of the Dependent Origination in human language. Regarding to Phorn Rattanasuwan’s explanation of the Dependent Origination, he mentioned that it was the life process from birth to death.Buddhadasa Bhikkhu has explained the Dependent Origina-tion as the emptiness of self. Thus the cause of suffering in every step of Dependent Origination has the similarity as the ‘emptiness’ and it is being as the delusion of each until the Cessation of Suffer-ing. There is nothing to be called as self beyond the function of Dependent Origination.