Publication: การศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ในเรื่องนางผมหอม
Submitted Date
Received Date
Accepted Date
Issued Date
2013
Copyright Date
Announcement No.
Application No.
Patent No.
Valid Date
Resource Type
Edition
Resource Version
Language
th
File Type
No. of Pages/File Size
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Scopus ID
WOS ID
Pubmed ID
arXiv ID
item.page.harrt.identifier.callno
Other identifier(s)
Journal Title
Volume
Issue
Edition
Start Page
End Page
Access Rights
Access Status
Rights
Rights Holder(s)
Physical Location
Bibliographic Citation
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Title
การศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ในเรื่องนางผมหอม
Alternative Title(s)
Author’s Affiliation
Author's E-mail
Editor(s)
Editor’s Affiliation
Corresponding person(s)
Creator(s)
Compiler
Advisor(s)
Illustrator(s)
Applicant(s)
Inventor(s)
Issuer
Assignee
Other Contributor(s)
Series
Has Part
Abstract
วิทยานิพนธ์เรื่องการศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ในเรื่องนางผมหอมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติและโลกทัศน์ทางพุทธปรัชญา เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์ในปรัชญาเถรวาท เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องนางผมหอมการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก คัมภีร์พระพุทธศาสนาอื่นๆ และใช้คัมภีร์ใบลาน สำนวนคำกลอนโบราณอีสาน ของนายบุญช่วย หิรัญวัฒน์ ฉบับ ๙ กัณฑ์ พ.ศ.๒๕๔๐ (ฉบับพิสดาร) เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้วิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาวิจัยพบว่าวรรณกรรมเรื่องนางผมหอมได้ยึดหลักการแนวคิด ในพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นพื้นฐานในการแต่ง โครงเรื่องคล้ายวรรณกรรมในพระพุทธศาสนาหลายๆเรื่องทั่วไป เช่น สุวรรณสามชาดก หรือหลวิชัยคาวี เป็นต้น วรรณกรรมเรื่องนางผมหอมมีจุดเด่นของเรื่อง คือความรักความผูกพันทางสายเลือด ที่พัดพรากจากกันตั้งแต่กำเนิด จึงเป็นเหตุให้เกิดความเพียรและความกตัญญูกตเวทีออกตามหาผู้มีพระคุณ เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาของวรรณกรรมจัดว่าเป็นวรรณกรรมสร้างคุณค่าโลกทัศน์เชิงจริยศาสตร์ ที่ปรากฏเด่นชัดในวรรณกรรมคือความเชื่อทางอภิปรัชญาในเรื่องเทวดา ในฐานะเป็นผู้สร้างโลก ทำให้คนไทยอีสานมีขนบธรรมเนียมประเพณีนิยมความเชื่อในเรื่องต่างๆ เช่นการเสี่ยงทาย การทำนายฝันและประเพณีการสู่ขวัญ ตลอดจนการประพฤติตามจารีตประเพณีโบราณอันทรงคุณค่ายิ่ง พุทธจริยศาสตร์เป็นศาสตร์วิชาแห่งการประพฤติตนเป็นคนดียังรวมลักษณะที่เป็นบ่อเกิดทางจริยศาสตร์อันนำมาซึ่งเกณฑ์การตัดสินความดีและความชั่วตามแนวทางพุทธปรัชญาเถรวาทอยู่ในรูปแบบการปฏิบัติหน้าที่ต่อตนเองและต่อผู้อื่น ตามความเหมาะสมตามสถานะและบทบาท ภายในขอบเขตของหลักจริยธรรมตามจารีต การเชื่อมโยงของพุทธจริยศาสตร์กับวรรณกรรมเรื่องนางผมหอมผู้วิจัยได้วิเคราะห์ผ่านเนื้อหา ตัวละคร และวิถีแห่งธรรมชาติที่แสดงให้เห็นถึงการกระทำตามหน้าที่ของมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกันซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่สันติสุขร่วมกัน มีความสัมพันธ์ระหว่างความรักของบิดา-มารดากับบุตรผูกพันกันด้วยจริยธรรมความเคารพรักและกตัญญูรู้คุณ ความสัมพันธ์ระหว่างความไว้วางใจ คือ สัมพันธภาพระหว่างความรักของสามีกับภรรยา ผูกพันกันด้วยจริยธรรมความซื่อสัตย์ระหว่างความรักของเพื่อนกับเพื่อนผูกพันกันด้วยจริยธรรมความจริงใจ วรรณกรรมเรื่องนางผมหอมได้สะท้อนบทบาทของตัวละครใน ๔ ลักษณะ ได้แก่ บทบาทของบุตรธิดาที่มีต่อบิดามารดาบทบาทของสามีที่มีต่อภรรยาบทบาทของภรรยาที่มีต่อสามีและบทบาทของบิดามารดาที่มีต่อบุตรธิดาซึ่งเป็นข้อประพฤติปฏิบัติตนตามหลัก จริยศาสตร์ในพุทธปรัชญาเถรวาทคือทิศ๖ ได้แก่ ทิศเบื้องหน้าและทิศเบื้องหลังอันเป็นหลักธรรมที่กล่าวถึงมารยาทที่สมาชิกในครอบครัวพึงประพฤติปฏิบัติต่อกันและสะท้อนให้เห็นว่าครอบครัวไทยยึดหลักพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตถ่ายถอดผ่านสายใยความรัก ความกตัญญูความเพียร ซึ่งเป็นรากฐานนำไปสู่ความดีของสังคม และนำไปสู่ความดีอันสูงสุด ซึ่งเป็นความดีไม่ประกอบไปด้วยอคติ ๔ คือลำเอียงเพราะรัก ลำเอียงเพราะเป็นลูก และลำเอียงเพราะเป็นเจ้านายเพราะความดีในพุทธจริยศาสตร์ประกอบด้วยหลักไตรสิกขา๓ พรมวิหาร๔ และไตรลักษณ์ อันเป็นพื้นฐานที่ใช้ในการคิดการประพฤติการปฏิบัติซึ่งจะนำไปสู่ความสุขอันเป็นเป้าหมายแห่งความสำเร็จของชีวิต
Table of contents
Description
Sponsorship
Degree Name
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
บัณฑิตวิทยาลัย
Degree Discipline
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย