Publication: การวิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้างบทสนทนาภาษาไทยของนักศึกษาชาวไทยและบทสนทนาภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยในสถานการณ์การตอบรับคำชักชวน
Submitted Date
Received Date
Accepted Date
Issued Date
2021
Copyright Date
Announcement No.
Application No.
Patent No.
Valid Date
Resource Type
Edition
Resource Version
Language
th
File Type
No. of Pages/File Size
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Scopus ID
WOS ID
Pubmed ID
arXiv ID
item.page.harrt.identifier.callno
Other identifier(s)
Journal Title
วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ
Payap University Journal
Payap University Journal
Volume
31
Issue
2
Edition
Start Page
17
End Page
35
Access Rights
Access Status
Rights
Rights Holder(s)
Physical Location
Bibliographic Citation
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Title
การวิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้างบทสนทนาภาษาไทยของนักศึกษาชาวไทยและบทสนทนาภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยในสถานการณ์การตอบรับคำชักชวน
Alternative Title(s)
A Comparative Analysis of Conversational Organization in Acceptance of Invitation Conversations of Thai Students speaking in Thai and Japanese Language Thai Learners speaking in Japanese
Author(s)
Author’s Affiliation
Author's E-mail
Editor(s)
Editor’s Affiliation
Corresponding person(s)
Creator(s)
Compiler
Advisor(s)
Illustrator(s)
Applicant(s)
Inventor(s)
Issuer
Assignee
Other Contributor(s)
Series
Has Part
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการถ่ายโอนทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้างบทสนทนาและลักษณะการใช้วัจนกรรมในสถานการณ์การตอบรับคำชักชวนไปรับประทานอาหารของกลุ่มนักศึกษาชาวไทยที่สนทนาด้วยภาษาไทย (TT) และกลุ่มผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยที่สนทนาด้วยภาษาญี่ปุ่น (JT) กลุ่มละ 20 คู่ รวม 40 คู่ ทั้ง 2 กลุ่มเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยการอัดเสียงบทสนทนาบทบาทสมมุติ ผลการศึกษา พบว่า<<ส่วนเปิดบทสนทนา>><<ส่วนชักชวน>>และ<<ส่วนปรึกษา>> เป็นส่วนที่ปรากฏบ่อยในบทสนทนาของทั้ง 2 กลุ่ม แต่เมื่อวิเคราะห์การเรียงลำดับวัจนกรรมในโครงสร้างบทสนทนาแต่ละส่วน พบความแตกต่างกันหลายประการ เช่น (1) TT มักเปิดบทสนทนาด้วยการเรียกขาน จากนั้นชักชวนคู่สนทนาทันที แต่ JT จะเรียกขาน และรอจังหวะให้คู่สนทนาตอบรับ (2) เมื่อถูกชักชวน TT มักจะไม่ตอบรับโดยทันที แต่จะถามรายละเอียดและเจรจาร่วมกับผู้ชักชวน แล้วจึงตอบรับ ส่วน JT มักตอบรับคำชักชวนทันที (3) TT ปิดท้ายบทสนทนาด้วยการทักทาย JT ส่วนใหญ่ไม่มีส่วนปิดบทสนทนา นอกจากนี้ทั้ง 2 กลุ่มยังมีลักษณะการใช้วัจนกรรมที่แตกต่างกัน เช่น (1) TT มักพูดปฏิเสธตรง ๆ แต่กลุ่ม JT มักจะหลีกเลี่ยงการพูดปฏิเสธ (2) TT มักใช้วัจนกรรมแสดงทัศนะเพื่อโน้มน้าวคู่สนทนา แต่กลับไม่พบการใช้วัจนกรรมนี้ในกลุ่ม JT จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ไม่พบการถ่ายโอนทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ที่เด่นชัดในกลุ่ม JT ปัจจัยที่ทำให้ลักษณะการใช้ภาษาของทั้ง 2 กลุ่มแตกต่างกัน คือ ตำราเรียนของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย ความสามารถภาษาญี่ปุ่น และวัฒนธรรม ผลการศึกษาในครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะช่วยชี้แนะประเด็นในเรื่องการถ่ายโอนทางภาษา ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม