Publication: การวิเคราะห์ความถูกต้องในการลงรายการสิ่งพิมพ์ตามหลักเกณฑ์การลงรายการแบบแองโกลอเมริกัน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 และรูปแบบมาร์ก 21 ของนักศึกษา สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Submitted Date
Received Date
Accepted Date
Issued Date
2019
Copyright Date
Announcement No.
Application No.
Patent No.
Valid Date
Resource Type
Edition
Resource Version
Language
th
File Type
No. of Pages/File Size
ISBN
ISSN
2673-0898
eISSN
DOI
Scopus ID
WOS ID
Pubmed ID
arXiv ID
item.page.harrt.identifier.callno
Other identifier(s)
Journal Title
บรรณศาสตร์ มศว
Volume
11
Issue
2
Edition
Start Page
80
End Page
93
Access Rights
Access Status
Rights
Copyright (c)
Rights Holder(s)
Physical Location
Bibliographic Citation
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Title
การวิเคราะห์ความถูกต้องในการลงรายการสิ่งพิมพ์ตามหลักเกณฑ์การลงรายการแบบแองโกลอเมริกัน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 และรูปแบบมาร์ก 21 ของนักศึกษา สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Alternative Title(s)
Author(s)
Author's E-mail
Editor(s)
Editor’s Affiliation
Corresponding person(s)
Creator(s)
Compiler
Advisor(s)
Illustrator(s)
Applicant(s)
Inventor(s)
Issuer
Assignee
Other Contributor(s)
Series
Has Part
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความถูกต้องของการลงรายการสิ่งพิมพ์ตามหลักเกณฑ์แบบแองโกลอเมริกัน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 และรูปแบบมาร์ก 21 ของนักศึกษาวิชาเอกบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยแยกสิ่งพิมพ์เป็น 3 กลุ่ม คือ หนังสือทั่วไป วิทยานิพนธ์ และรายงานการประชุม/สัมมนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา มส.สท. 222 การทำรายการสืบค้น ในภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบฟอร์มการลงรายการหนังสือ และแบบบันทึกการตรวจสอบรายการ ซึ่งประยุกต์มาจากเครื่องมือประเมินการลงรายการของแชพแมน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า การลงรายการสิ่งพิมพ์ตามหลักเกณฑ์แบบแองโกลอเมริกัน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 ของนักศึกษาส่วนใหญ่สามารถลงรายการได้ถูกต้อง (ร้อยละ 80.64) รายการบรรณานุกรมที่ถูกต้องมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ร้อยละ 96.04) ผู้แต่งบุคคล (ร้อยละ 92.11) และฉบับพิมพ์ (ร้อยละ 91.94) ประเภทของสิ่งพิมพ์ที่นักศึกษาลงรายการได้ถูกต้องมากที่สุด คือ หนังสือทั่วไป (ร้อยละ 85.34) รองลงมา คือ วิทยานิพนธ์ (ร้อยละ 84.86) และรายงานการประชุม/สัมมนา (ร้อยละ 50.17) ตามลำดับ การลงรายการตามรูปแบบมาร์ก 21ของนักศึกษาส่วนใหญ่สามารถลงรายการได้ถูกต้อง (ร้อยละ 91.24) เขตข้อมูลที่ลงรายการได้ถูกต้องมากที่สุด คือ เขตข้อมูลความยาวคงที่ (ร้อยละ 98.01) โดยข้อมูลที่ลงรายการถูกต้องมากที่สุด คือ รหัสปีพิมพ์สิ้นสุด (ร้อยละ 99.58) ส่วนการลงรายการเขตข้อมูลความยาวไม่คงที่ของนักศึกษาส่วนใหญ่ลงรายการถูกต้องได้น้อยกว่า (ร้อยละ 86.26) โดยเขตข้อมูลที่ลงรายการได้ถูกต้องมากที่สุด คือ เขตข้อมูล 250 ฉบับพิมพ์ (ร้อยละ 98.61) ประเภทของสิ่งพิมพ์ที่นักศึกษาลงรายการรูปแบบมาร์กได้ถูกต้องมากที่สุด คือ วิทยานิพนธ์ (ร้อยละ 95.18) รองลงมา คือ รายงานการประชุม/สัมมนา (ร้อยละ 91.31) และหนังสือทั่วไป (ร้อยละ 90.24) ตามลำดับ Abstract This research was aimed to analyze the accuracy of AACR2 bibliographic and MARC 21 cataloging records of students in the Library and Information Science (LIS) program, faculty of Humanities and Social Sciences, Pibulsongkram Rajabhat University. Three main printed materials, i.e. general books, theses/ dissertations and proceedings were chosen in this study. Twenty-four LIS sophomores who registered in the Cataloging of Information Resource (IS 222) course, enrolling in the second semester of the 2017 academic year were selected as samples. The research instruments comprised cataloging form and checklist form, modified from Chapman’s CAT-Assess tool. The percentage was employed for statistical analysis. It was revealed that most students could accurate catalog the information resources according to AACR2 bibliographic data record (80.64 %). The first three items that the most students could record correctly were ISBN (96.04%), personal authors (92.11%) and edition (91.94%). The general book was the most printed material of being correctly recorded (85.34%), followed by thesis (84.34%) and proceedings (50.17%), respectively. Regarding MARC 21 records, most students could correctly document (91.24 %) in which the fixed-length data elements was the most of the right records (98.01%), followed by determinant of dates (99.58%). Based on variable data fields, students were able to correct list only about 86.26% in which the tag 250 - edition statement exhibited the most of the being correctly listed (98.61%). Additionally, the most of printed material types that being correctly recorded was thesis (95.18%) followed by proceedings (91.31%) and general book (90.24%), respectively. คำสำคัญ: การทำรายการ หลักเกณฑ์การลงรายการแบบแองโกลอเมริกัน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 การลงรายการรูปแบบมาร์ก 21 Keywords: Cataloging, AACR2, MARC 21