Publication:
พุทธอรรถปริวรรตศาสตร์ว่าด้วยจิตเดิมแท้ในกระบวนการพัฒนาปัญญา

dc.contributor.authorพระมหาสุรชัย พุดชู
dc.contributor.authorPHRAMAHA SURACHAI PHUTCHUen
dc.date.accessioned2023-12-16T06:49:52Z
dc.date.available2023-12-16T06:49:52Z
dc.date.issued2017
dc.date.issuedBE2560
dc.description.abstractดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์5 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาปัญญาใน ปรัชญาตะวันตกและพุทธปรัชญา 2) เพื่อศึกษาเรื่องจิตเดิมแท้ในพุทธปรัชญาเซนและพุทธปรัชญา เถรวาท 3) เพื่อศึกษาอรรถปริวรรตศาสตร์ตะวันตกและพุทธอรรถปริวรรตศาสตร์อันเป็นเครื่องมือ ในการวิจัย 4) เพื่อประยุกต์ใช้พุทธอรรถปริวรรตศาสตร์ว่าด้วยจิตเดิมแท้ในกระบวนการพัฒนาปัญญา และ 5) เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และรูปแบบในกระบวนการพัฒนาด้านอื่น ดุษฎีนิพนธ์นี้มีขอบเขต เฉพาะเรื่องจิตเดิมแท้ในพุทธปรัชญาเซนเท่านั้น โดยอาศัยทฤษฎีพุทธอรรถปริวรรตศาสตร์มหายาน มาตีความจิตเดิมแท้ว่า สามารถนำ ไปสู่กระบวนการพัฒนาปัญญาได้อย่างไร และเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพตามกระบวนการศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ โดยใช้วิธีวิภาษวิธีและวิธีหาเหตุผลด้วยวิจารณญาณ ภายใต้การวิเคราะห์วิจักษ์และวิธาน ผลจากการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการพัฒนาปัญญาในปรัชญาตะวันตกและพุทธปรัชญามีส่วนที่สอดคล้องกัน ในเรื่องแนวคิดญาณวิทยากับ ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิกล่าวคือ ประสบการณ์นิยมสอดคล้องกับ หลักปรโตโฆสะ และเหตุผลนิยมสอดคล้องกับ หลักโยนิโสมนสิการ 2) จิตเดิมแท้ในพุทธปรัชญาเซนมีความหมายใกล้เคียงกับคำ ว่า ภวังคจิตในพุทธปรัชญาเถรวาท อย่างไรก็ตาม จิตเดิมแท้ในพุทธปรัชญาเซนมีพื้นฐานมาจากพุทธปรัชญาโยคาจารเรื่อง อาลยวิญญาณและพุทธปรัชญามาธยามิกะเรื่องศูนยตา ส่วนจิตเดิมแท้ในพุทธปรัชญาเถรวาท ในที่นี้ หมายถึง ภวังคจิต จะมีความเกี่ยวข้องกับหน้าที่หรือกิจของจิตทั้ง 14 ประการ 3) อรรถปริวรรตศาสตร์ตะวันตกเดิมทีเป็นการตีความคัมภีร์ทางศาสนา ต่อมาพัฒนาเป็นญาณวิทยาในปรัชญาหลังนวยุค จำแนกเป็น 2 สาย คือ 1) การตีความเชิงศาสนา 2) การตีความเชิงปรัชญา ส่วนพุทธอรรถปริวรรตศาสตร์เป็นทฤษฎีบูรณาการหรือปฏิสัมพันธ์นิยม ทฤษฎีอรรถปริวรรตศาสตร์ในพุทธปรัชญามหายานที่นำมาใช้คือ อุปายโกศลวิธี 4) การประยุกต์ใช้พุทธอรรถปริวรรตศาสตร์ว่าด้วยจิตเดิมแท้ในกระบวนการพัฒนาปัญญาแยกเป็น 2 ระดับ คือ 1) โลกิยปัญญาหรือความรู้เชิงจริยธรรม คือการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยอุดมคติข้อมหาอุปายและมหากรุณา 2) โลกุตรปัญญาหรือความรู้ที่เป็นสัจธรรม คือ การบรรลุซาโตริ โดยอาศัยอุดมคติข้อมหาอุปายและมหาปัญญา ปัญญาทั้งสองระดับอาศัยทฤษฎีอุปาย โกศลวิธี คือ โกอาน ซาเซนและมอนโด เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงจิตเดิมแท้ 5) การสร้างองค์ความรู้ใหม่ในกระบวนการพัฒนาปัญญา มี 3 ประการ คือ 1) วิภาษวิธีแห่งอไทฺวตะ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างอุดมคติกับปัญญาและธรรมะ 2 และ 3) ทฤษฎีพุทธอรรถปริวรรตศาสตร์เซน
dc.description.abstractThe objectives of this dissertation are as followings: 1) to study the process of wisdom development in western and Buddhist philosophiesen
dc.description.abstract2) to study the Essence of Mind (or Original Mind) in Zen and Theravada Buddhist philosophiesen
dc.description.abstract3) to study western and Buddhist hermeneutics as the tools of dissertationen
dc.description.abstract4) to apply Buddhist hermeneutics on the Essence of Mind in the process of wisdom developmenten
dc.description.abstractand 5) to build a body of knowledge and a platform in the process of other developments. The scope of this dissertation is to study the Essence of Mind in Zen Buddhist philosophy only. It uses the hermeneutical theory of Mahayana Buddhism to interpret how the Essence of Mind is able to be processed into wisdom development. This is a qualitative research on the study of humanities through dialectic and discursive methods under the analytic, appreciative, and applicative approaches. The results of research are the followings: 1) the process of wisdom development in western and Buddhist philosophies shows a relation between epistemology and sources for the arising of right view, that is empiriscism is related with another utteranceen
dc.description.abstract2) rationalism is related with reasoned attentionen
dc.description.abstract2) the Essence of Mind in Zen Buddhist philosophy is highly significant to the Passive State of Mind (or Subconscious Mind) in Theravada Buddhist philosophy. However, the Essence of Mind in Zen is based on Stored Consciousness in Yogacara Buddhist philosophy and Emptiness (or Sunyata) in Madhyamika Buddhist philosophy. And the Essence of Mind in Theravada, in this case the Subconscious Mind, is concerned with fourteen functions of minden
dc.description.abstract3) the western hermeneutics is originally a religious interpretation, after that, it has evolved to epistemology in postmodernism. It is divided into two parts: 1) Religious Interpretationen
dc.description.abstract2) Philosophical Interpretation. For Buddhist hermeneutics, it is a theory of interactionism, especially Zen Buddhist hermeneutical theory, it uses the skillful meansen
dc.description.abstract4) an application of the Buddhist hermeneutics on the Essence of Mind in the process of wisdom development has been divided into two levels: 1) Worldly Wisdom or Ethical, that is a use for daily life, based on Bodhisattva ideals on topic of Great Skillfulness and Great Compassionen
dc.description.abstract2) Transcendental Wisdom or Truthful, that is a Satori, is based on Bodhisattva ideals on topic of Great Skillfulness and Great Wisdom. These levels are based on a theory of Skillful Means, i.e. Koan, Zazen, and Mondo as tools of getting the Essence of Minden
dc.description.abstract5) a new body of knowledge in the process of wisdom development has been divided into three parts: 1) Zen Dialectic of Non-dualityen
dc.description.abstract2) Relation between Bodhisattva Ideals and Wisdom/Dhamma 2en
dc.description.abstractand 3) Zen Hermeneutical Theory.en
dc.identifier.urihttps://harrt.in.th/handle/123456789/5626
dc.language.isoth
dc.subjectจิตเดิมแท้
dc.subjectนิกายเซน
dc.subjectการตีความ
dc.subject.isced0223 ปรัชญาและจริยธรรม
dc.subject.oecd6.3 ปรัชญา จริยธรรมและศาสนา
dc.titleพุทธอรรถปริวรรตศาสตร์ว่าด้วยจิตเดิมแท้ในกระบวนการพัฒนาปัญญา
dc.title.alternativeTHE BUDDHIST HERMENEUTICS ON ESSENCE OF MIND IN THE PROCESS OF WISDOM DEVELOPMENTen
dc.typeวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก (Doctoral Thesis)
dspace.entity.typePublication
harrt.itemID261
harrt.researchAreaปรัชญาตะวันออก
harrt.researchGroupปรัชญา
harrt.researchTheme.1ปรัชญาศาสนา
harrt.researchTheme.2ปรัชญาพุทธมหายาน
mods.location.urlhttps://sju.ac.th/web_news/detail/89
thesis.degree.departmentวิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
thesis.degree.levelปริญญาเอก
thesis.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Files