Publication: ชื่อมัสยิดในกรุงเทพมหานคร: ภาษาและการสื่อสารทางวัฒนธรรม
dc.contributor.author | วาริด เจริญราษฎร์ | |
dc.contributor.author | Charoenrad, Warid | en |
dc.date.accessioned | 2023-12-16T14:38:55Z | |
dc.date.available | 2023-12-16T14:38:55Z | |
dc.date.issuedBE | 2564 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะของภาษาที่ใช้ตั้งชื่อมัสยิดในกรุงเทพมหานครได้แก่ ที่มาของภาษา ความหมาย และเพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนจากการสื่อสารทางวัฒนธรรมของชื่อมัสยิดในกรุงเทพมหานคร ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ชื่อมัสยิดในกรุงเทพมหานคร ทั้งมัสยิดที่จดทะเบียนจัดตั้งมัสยิดและมัสยิดที่ไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งมัสยิด จำนวน 183 ชื่อ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลตามระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์การวิจัย ผลการวิจัยด้านลักษณะของภาษาที่ใช้ตั้งชื่อมัสยิดพบว่ามีที่มาของภาษาที่ใช้ตั้งชื่อ 4 ลักษณะ ได้แก่ ชื่ออาหรับ 166 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 90.71 ชื่อไทย 11 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 6.01 ชื่อไทยประสมอาหรับ 3 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 1.64 ชื่อมลายู-ชวา 2 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 1.09 และชื่อไทยประสมอูรดู 1 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 0.55 ตามลำดับ ส่วนความหมายของชื่อมัสยิดพบว่ามีความหมาย 11 ลักษณะ ได้แก่ ความหมายเกี่ยวกับคุณลักษณะของศาสนาอิสลาม 38 ชื่อคิดเป็นร้อยละ 20.76 ความรัก ความสามัคคี การรวมตัวกันเพื่ออิสลาม 23 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 12.11สถานที่ สิ่งปลูกสร้าง 21 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 11.46 คุณธรรม ความดี 21 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 11.46 การชี้นำทางศาสนา 21 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 11.46 ความศรัทธา การสำรวมตนต่อพระเจ้า 18 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 9.83 ความสันติ ความสุข 11 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 6 สวรรค์ 11 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 6 ความภักดีต่อพระเจ้า 9 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 4.92 พระนามและคุณลักษณะของพระเจ้า 7 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 3.82 และชื่อบุคคล 4 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 2.18 ตามลำดับ ผลการวิจัยด้านภาพสะท้อนการสื่อสารทางวัฒนธรรมจากชื่อมัสยิด พบว่าชื่อมัสยิดสะท้อนการสื่อสารทางวัฒนธรรม 6 ประการ ได้แก่ ภาพสะท้อนการสร้างความเชื่อมั่นในเอกภาพของพระเจ้า ภาพสะท้อนการธำรงสังคมมุสลิม ภาพสะท้อนการประกันการตอบแทนในสวรรค์ ภาพสะท้อนการนิยามอัตลักษณ์ทางศาสนา ภาพสะท้อนการปลูกฝังจริยธรรมอิสลาม และภาพสะท้อนการบันทึกประวัติศาสตร์ชุมชน ผลการวิจัยแสดงถึงอัตลักษณ์และระบบความคิดของชาวไทยมุสลิมอันเป็นสิ่งสำคัญในการเสริมสร้างความสันติในสังคมพหุวัฒนธรรม ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร | |
dc.description.abstract | The aims of this research are to analyze language usage in naming mosques in Bangkok, including language origin and meaning; and also to study reflections from the interpretation of cultures in those mosque names. The research data involved 183 mosque names in Bangkok, compiled from both registered and unregistered mosques. Qualitative research methods were employed in this research and; the data were analyzed according to the research objectives. The results show that language usage to name mosques in Bangkok can be divided into four types, including 166 Arabic names (90.71%); 11 Thai names (6.01%); 3 Thai mixed with Arabic names (1.64%); 2 Malay-Java names (1.09%); and 1 Thai mixed with Urdu name (0.55%) respectively. In terms of the meanings of mosque names, there are 11 categories including 38 names on meaning characteristics from the religion of Islam (20.76%); 23 names on the meaning of love, harmony and unity within Islam (12.11%); 21 names on the meaning of places and buildings (11.46%); 21 names on the meaning of morality and goodness (11.46%); 21 names on the meaning of guidance (also called “Hidayah”) (11.46%); 18 names on the meaning of faith, piety and fear of Allah (also known as “Taqwa”) (6.00%); 11 names on the meaning of heaven (6.00%); 9 names on meaning of loyalty to Allah (4.92%); 7 names on the meaning of appellation and characteristics of Allah (3.82%); and 4 famous people names (2.18%), respectively. There are 6 groups of the reflections about interpretation of cultures from mosques’ names in Bangkok, including building faith in the unity of Allah (also known as “Tawhid”); persisting in Islamic society; conducting insurance (also known as “Takaful”) and reciprocity in heaven; defining Islamic identity; cultivating Islamic morality; and recording community history. The results also indicate that, according to the Royal Policy for Education of His Majesty King Maha Vajiralongkorn Bodindradebayavarangkun (King Rama X), the identity and thinking system of Thai-Muslim people are most important to strengthen peace in this multicultural society. | en |
dc.identifier.uri | https://harrt.in.th/handle/123456789/8659 | |
dc.language.iso | th | |
dc.subject | ชื่อมัสยิด | |
dc.subject | ภาษาและวัฒนธรรมไทย | |
dc.subject | การสื่อสารทางวัฒนธรรม | |
dc.subject | Mosque Names | |
dc.subject | Thai Language And Culture | |
dc.subject | Interpretation Of Culture | |
dc.subject.contentCoverage | THA - ไทย | |
dc.subject.isced | 0232 วรรณคดีและภาษาศาสตร์ | |
dc.subject.oecd | 6.2 ภาษาและวรรณคดี | |
dc.title | ชื่อมัสยิดในกรุงเทพมหานคร: ภาษาและการสื่อสารทางวัฒนธรรม | |
dc.title.alternative | The Names of Mosques in Bangkok: Language and Interpretation of Cultures | en |
dc.type | บทความวารสาร (Journal Article) | |
dspace.entity.type | Publication | |
harrt.itemID | 187 | |
harrt.researchArea | ภาษาศาสตร์ทฤษฎี (Theoretical Linguistics) | |
harrt.researchGroup | ภาษาศาสตร์ | |
harrt.researchTheme.1 | วัจนปฏิบัติศาสตร์/ปริจเฉทวิเคราะห์/วาทกรรมวิเคราะห์ (Pragmatics/Discourse Analysis) | |
harrt.researchTheme.2 | อรรถศาสตร์ (Semantics) | |
mods.location.url | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/joling/article/view/244210 | |
oaire.citation.endPage | 100 | |
oaire.citation.issue | 1 | |
oaire.citation.startPage | 82 | |
oaire.citation.title | ภาษาและภาษาศาสตร์ | |
oaire.citation.title | Language and Linguistics | en |
oaire.citation.volume | 39 |