Publication:
การอธิบายเรื่องนรกและสวรรค์ของพุทธทาสภิกขุ: การวิเคราะห์เชิงภววิทยา

dc.contributor.authorแม่ชีธรรมอธิษฐาน พรบันดาลชัย
dc.contributor.authorMaeChee Dhammaadhisthana Pornbandalchaien
dc.date.accessioned2023-12-16T06:34:39Z
dc.date.available2023-12-16T06:34:39Z
dc.date.issued2022
dc.date.issuedBE2565
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องนรกและสวรรค์เชิงภววิทยา เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องนรกและสวรรค์ของพุทธทาสภิกขุ เพื่อวิเคราะห์และตรวจสอบแนวคิดเชิงภววิทยาเรื่องนรกและสวรรค์ของพุทธทาสภิกขุเมื่อนําเรื่องนรกสวรรค์มาอธิบายในกรอบของภววิทยาพบว่า นรกสวรรค์มีอยู่จริงในแง่ของสัจนิยมซึ่งเป็นการพูดถึงดินแดนที่มีอยู่ภายนอกและมีอยู่ในแง่ของจิตนิยมคือการใช้จิตเป็นฐานรองรับคําอธิบาย ในการศึกษานี้พบว่า พุทธทาสภิกขุอธิบายความมีอยู่ของนรกสวรรค์ไว้ 2 แบบ คือ 1) ความมีอยู่ในแง่ของจิตนิยมอัตวิสัยซึ่งเป็นเครื่องมือในการรับรู้ทางประสาทสัมผัส กล่าวคือการมีอยู่ของนรกสวรรค์ที่ขึ้นอยู่กับจิต2) ความมีอยู่ในแง่สัจนิยมกล่าวคือ การมีอยู่โดยไม่ขึ้นกับจิตของบุคคลผู้วิจัยได้ตรวจสอบแนวคิดทางภววิทยาและหลักฐานทางคัมภีร์แล้วพบว่า ลักษณะร้อนและเย็นเป็นคุณสมบัติที่อ้างถึงธรรมชาติของนรกและสวรรค์ ดังนั้นมันจึงสื่อเหตุผลเชิงประจักษ์ที่สามารถรับรู้ได้โดยปัจเจกบุคคลอย่างตรงๆ การใช้คําอธิบายดังกล่าวมีความจําเป็นต่อการรับรู้ถึงการมีอยู่ในแง่ของความเป็นประโยชน์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาตน ความเป็นสาเหตุในฐานะการเชื่อมโยงความมีอยู่ของนรกสวรรค์ภายใต้เงื่อนไขของวัตถุกับจิตและการลดทอนนรกสวรรค์ที่อาจมีอยู่จริงในโลกที่เป็นไปได้ให้ปรากฏในโลกจริงภายใต้ข้อพิสูจน์ของบุคคล และการอธิบายนรกสวรรค์ในแง่ดังกล่าวไม่ได้เกินไปจากคัมภีร์พระไตรปิฎกข้ออธิบายของพุทธทาสภิกขุเสนอว่า หากนรกและสวรรค์มีอยู่ควรอธิบายโดยอาศัยแนวคิดจิตนิยมแบบอัตวิสัย เพราะสามารถตรวจสอบได้โดยอาศัยประสบการณ์ของปัจเจกบุคคล ผลจากการพิสูจน์นี้จะทําให้มนุษย์มีการพัฒนาตนเองทางด้านศีลธรรมและมีชีวิตที่ดีงามในปัจจุบันขณะ ถ้าหากมองจากมุมนี้แนวคิดของพุทธทาสภิกขุจึงเป็นเครื่องมือนิยม
dc.description.abstractThis research employed the documentary researchto study the ontological concept of hell and heaven,to study the concept of hell and heaven of Buddhadãsa Bhikkhu, to critically analyze and examine the ontological concept of hell and heaven of Buddhadãsa Bhikkhu. Through the ontological explanation of hell and heaven, it shows that on the one hand, the hell and heaven really exist interms of Realism whereby they depend upon the external existence of land and Idealism whereby they depend on the perceptive explanation of mind on the other hand. In this research, it was found that Buddhadãsa Bhikkhu explained the ontology of hell and heaven through two types: 1) the ontology of subjective idealism where they can be perceived by senses, that is, its existence depends on one’s mind, 2) the ontology of realism, that is, its existence does not depend on one’s mind. The researcher examine the ontological concept and scriptural evidences found that:the aspects of hot and cold belong to the quality referring to the nature of hell and heaven, therefore, they imply the empirical evidences whereby individual can perceive them directly, such explanation becomes necessary to the perception of the existence in terms of certain benefit in order to promote the learning and self-development, the causation regarded as the relation of the existence of hell and heaven under the condition of matter and mind, andthe reduction of hell and heaven that may really exist in the possible world to appear in the actual world could be practically made through the individual proof, and such explanation of hell and heaven does not exceed what was prescribed by Tipiṭaka.However, if there is the existence of hell and heaven, Buddhadãsa Bhikkhu’s explanation proposed that they should be explained by subjective idealism because they can be empirically verified through individual experience. Consequently, it would giverise the moral development to man and thereby living the meaningful life in the mind moment respectively. Viewed from this angle, Buddhadãsa Bhikkhu’s explanation is qualified as the instrumentalism.en
dc.identifier.urihttps://harrt.in.th/handle/123456789/4558
dc.language.isoth
dc.subjectนรก
dc.subjectสวรรค์
dc.subjectพุทธทาสภิกขุ
dc.subjectThe Hell
dc.subjectThe Heaven
dc.subjectBuddhadasa Bhikkhu
dc.subjectOntological Analysis
dc.subject.isced0223 ปรัชญาและจริยธรรม
dc.subject.oecd6.3 ปรัชญา จริยธรรมและศาสนา
dc.titleการอธิบายเรื่องนรกและสวรรค์ของพุทธทาสภิกขุ: การวิเคราะห์เชิงภววิทยา
dc.title.alternativeBuddhadãsa Bhikkhu’s Explanation of The Hell and The Heaven: An Ontological Analysisen
dc.typeบทความวารสาร (Journal Article)
dspace.entity.typePublication
harrt.itemID804
harrt.researchAreaปรัชญาตะวันออก
harrt.researchGroupปรัชญา
harrt.researchTheme.1ปรัชญาศาสนา
harrt.researchTheme.2ปรัชญาพุทธเถรวาท
mods.location.urlhttps://so06.tci-thaijo.org/index.php/jmpr/article/view/259076
oaire.citation.endPage21
oaire.citation.issue2
oaire.citation.startPage1
oaire.citation.titleวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
oaire.citation.titleJournal of MCU Philosophy Reviewen
oaire.citation.volume5
Files