Publication: กรุงศรีอยุธยาในรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 1 - 5 ศึกษาจากเอกสารวรรณคดีและเอกสารสมัยรัตนโกสินทร์
Submitted Date
Received Date
Accepted Date
Issued Date
2019
Copyright Date
Announcement No.
Application No.
Patent No.
Valid Date
Resource Type
Edition
Resource Version
Language
th
File Type
No. of Pages/File Size
ISBN
ISSN
1686-0667
eISSN
DOI
Scopus ID
WOS ID
Pubmed ID
arXiv ID
item.page.harrt.identifier.callno
Other identifier(s)
Journal Title
วารสารไทยคดีศึกษา
Thai Khadi Journal
Thai Khadi Journal
Volume
16
Issue
2
Edition
Start Page
1
End Page
53
Access Rights
Access Status
Rights
Rights Holder(s)
Physical Location
Bibliographic Citation
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Title
กรุงศรีอยุธยาในรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 1 - 5 ศึกษาจากเอกสารวรรณคดีและเอกสารสมัยรัตนโกสินทร์
Alternative Title(s)
Ayutthaya in Rattanakosin Era From the Reign of King Rama I to King Rama V: A Documentary Research on Literature and Official Documents
Author(s)
Author’s Affiliation
Author's E-mail
Editor(s)
Editor’s Affiliation
Corresponding person(s)
Creator(s)
Compiler
Advisor(s)
Illustrator(s)
Applicant(s)
Inventor(s)
Issuer
Assignee
Other Contributor(s)
Series
Has Part
Abstract
พระนครศรีอยุธยามีความสำคัญในฐานะราชธานีเก่ามายาวนานหลาย ร้อยปี แต่หลังจากการเสียกรุง สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่กลับถูกทิ้งให้อยู่ในสภาพรกร้างเป็นระยะเวลาเกือบร้อยปี โดยตลอดรัชกาลที่ 1 - 3 แทบจะมิได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์เลย มีเพียงไม่กี่วัดเท่านั้นที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ เช่น วัดสุวรรณดาราราม วัดศาลาปูน และวัดหน้าพระเมรุ โดยสาเหตุการบูรณปฏิสังขรณ์ล้วนเป็นไปเพื่อสร้างบุญกุศลในทางศาสนาเป็นสำคัญ นอกจากนี้ในสมัยรัชกาลที่ 1 ยังถูกรื้อซากเมืองเพื่อนำอิฐไปใช้สร้างกรุงเทพฯ ราชธานีใหม่อีกด้วย สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของผู้คนสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่มีต่อพระนครศรีอยุธยาในขณะนั้นว่า กรุงศรีอยุธยาเป็นเพียงราชธานีเก่าที่ล่มสลายไปแล้ว ซึ่งอาจเป็นได้ว่าในช่วงสามรัชกาลแรกสมัยรัตนโกสินทร์เป็นช่วงสร้างบ้านแปงเมือง ความสนพระราชหฤทัยหลักของพระมหากษัตริย์จึงมุ่งเน้นไปที่การสร้างกรุงเทพฯ ราชธานีใหม่ให้มีความสวยงามและมั่นคงเป็นสำคัญ ครั้นเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 4 พระนครศรีอยุธยากลับได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขนานใหญ่เป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยผู้ริเริ่มและมีบทบาทสำคัญคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงทำการฟื้นฟูพระนครศรีอยุธยาอย่างจริงจัง โปรดฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ทั้งวัดและพระราชวังต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาหลายแห่ง เช่น วัดชุมพลนิกายาราม วัดเสนาสนาราม พระราชวังจันทรเกษม พระนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นต้น สาเหตุสำคัญอาจเป็นผลมาจากลัทธิล่าอาณานิคมของตะวันตก โดยรัชกาลที่ 4 อาจทรงต้องการใช้พระนครศรีอยุธยาเป็นเครื่องมือแสดงให้ตะวันตกเห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาและความเจริญรุ่งเรืองที่ยาวนานของประเทศสยาม และอาจยังต้องการแสดงถึงเกี่ยวพันระหว่างราชวงศ์สมัยอยุธยากับราชวงศ์จักรีที่ตั้งขึ้นใหม่ เนื่องจากวัดและพระราชวังส่วนใหญ่ที่รัชกาล 4 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ล้วนเกี่ยวข้องกับกษัตริย์ในราชวงศ์ปราสาททอง และตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา พระนครศรีอยุธยาก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์และมีความสำคัญเรื่อยมาในฐานะที่เป็นราชธานีเก่าที่เป็นเครื่องแสดงถึงรากเหง้าความเป็นมาของสยามประเทศ
Ayutthaya was the capital of Siam for over four hundred years before it fell to Burma in 1767 and was left forlorn for several decades. Throughout the reigns of King Rama I and King Rama III, only a few temples in Ayutthaya were restored for merit-making purposes, such as Wat Suwandararam, Wat Salapoon, and Wat Na Phra Meru. Besides, in the reign of King Rama I Ayutthaya was demolished as bricks from the ruined site were brought down to Bangkok, where they were incorporated into the new capital. Obviously, the kings in early Rattanakosin period were engaged in the establishment of a new capital and the Thai nobles perceived it a ruined city. It was not until the reign of King Rama IV that Ayutthaya restoration was undertaken, beginning with Wat Chumphonnikayaram, Wat Senasanaram, Chandrakasem Palace, and Narai Palace. The main reason is western colonialism
the king wanted to portray Siam as a country of long history and prosperity through the splendors of Ayutthaya. Also, it was likely that he tried to relate Chakri dynasty to Ayutthaya since most of the temples and palaces restored in his reign belonged to Prasat Thong dynasty in late Ayutthaya. Ayutthaya has been restored several times ever since, and has been regarded as an old capital and the root of Thai civilization.
Ayutthaya was the capital of Siam for over four hundred years before it fell to Burma in 1767 and was left forlorn for several decades. Throughout the reigns of King Rama I and King Rama III, only a few temples in Ayutthaya were restored for merit-making purposes, such as Wat Suwandararam, Wat Salapoon, and Wat Na Phra Meru. Besides, in the reign of King Rama I Ayutthaya was demolished as bricks from the ruined site were brought down to Bangkok, where they were incorporated into the new capital. Obviously, the kings in early Rattanakosin period were engaged in the establishment of a new capital and the Thai nobles perceived it a ruined city. It was not until the reign of King Rama IV that Ayutthaya restoration was undertaken, beginning with Wat Chumphonnikayaram, Wat Senasanaram, Chandrakasem Palace, and Narai Palace. The main reason is western colonialism
the king wanted to portray Siam as a country of long history and prosperity through the splendors of Ayutthaya. Also, it was likely that he tried to relate Chakri dynasty to Ayutthaya since most of the temples and palaces restored in his reign belonged to Prasat Thong dynasty in late Ayutthaya. Ayutthaya has been restored several times ever since, and has been regarded as an old capital and the root of Thai civilization.