Publication:
วิเคราะห์แนวคิดเรื่องสันติภาพของ ติซ นัท ฮันห์

dc.contributor.authorพระนราศักดิ์ วรธมฺโม (ธรรมศรีใจ)
dc.date.accessioned2023-12-16T06:45:20Z
dc.date.available2023-12-16T06:45:20Z
dc.date.issued2017
dc.date.issuedBE2560
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ เรื่อง “วิเคราะห์แนวคิดเรื่องสันติภาพของ ติซ นัท ฮันห์” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องสันติภาพ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องสันติภาพของท่าน ติซ นัท ฮันห์ 3) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดและวิธีการสร้างสันติภาพของท่าน ติซ นัท ฮันห์ ผลการวิจัยพบว่า สันติภาพ คือ ความสงบ ราบคาบ ได้แก่ภาวะแห่งสันติสุขคือการที่มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบ ปรองดอง สามัคคี มีความรัก ความเมตตา ช่วยเหลือกันอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขระหว่าง คน สัตว์ ระบบนิเวศและทุกสรรพสิ่งโดยปราศจากทุกความขัดแย้ง ความรุนแรงซึ่งอันจะนำมาถึงความสูญเสียทางทรัพย์สินและชีวิต สันติภาพในเชิงทวิภาวะประกอบด้วย สันติภาพภายใน หมายถึงสภาวะที่จิตหลุดพ้นจากการครอบงำของสิ่งต่างๆ อันเป็นสภาพจิตที่ไร้ความขัดแย้งความรุนแรงทุกชนิด ซึ่งพุทธศาสนาเรียกภาวะนี้ว่า “นิพพาน” สันติภาพภายนอก หมายถึงสภาวะที่ บุคคล สังคม และโลก ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันมีความรักความสามัคคี มีเสรีภาพ และเคารพในสิทธิมนุษยชน แนวคิดเรื่องสันติภาพของ ติช นัท ฮันห์ พบว่า การกระทำกับปัญญาต้องก้าวไปพร้อมกัน วิธีการการทำงานเพื่อสันติภาพคือการเน้นปฏิบัติการในเชิงรุกปลุกจิตสำนึกของคนในสังคมโลกให้เห็นภัยความรุนแรงของสงคราม ท่านได้เข้าพบผู้นำทางศาสนาและการเมืองในที่ต่างๆ หลายท่านเพื่อขอแรงสนับสนุนการทำงานเพื่อสันติภาพ และเห็นถึงความสำคัญของสันติภาพ ท่านตระหนักว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการในการทำงานเพื่อสันติภาพ คือ การสร้างสันติภาพขึ้นภายในตนเองก่อนแล้วแปลเปลี่ยนเป็นสันติภาพภายนอกให้เกิดขึ้นกับผู้คน แนวคิดวิธีการสร้างสันติภาพ ติช นัท ฮันห์ ได้สร้างชุมชนสังฆะหมู่บ้านพลัมเพื่อให้เป็นชุมชนแห่งสันติภาพในหลายประเทศ ที่เน้นการเจริญสติในชีวิตประจำวันโดยไม่มีเส้นแบ่งทางศาสนาเป็นสถานปฏิบัติธรรมนานาชาติ ฝึกเจริญสติ สมาธิและปัญญา เพื่อตระหนักถึงการดำรงอยู่อย่างแท้จริงของตัวเราว่าต้องมีความเมตตาและความช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างผู้คนกับสรรพสิ่งรอบข้าง โดยการนำ “สติ” สู่ “สันติ”ให้เกิดขึ้นภายในจิตใจ และอุทิศตัวซึ่งมีแรงขับเคลื่อนจากภายใน คือ เมตตา กรุณาและหว่านความรักลงไปในจิตใจของผู้คน เพื่อสร้างความสุขศานติและความสมานฉันท์ให้กลับคืนมาสู่ สังคมโลกอย่างยั่งยืน
dc.description.abstractThesis on an Thich Nhat Hanh’s Concept of Peace Analysis of the peace has three objectives as follow. 1) to study the concept of peace 2) to study the concept of peace of Thich Nath Hanh. 3) to analyze the concept and method of peace designed by Thich Nath Hanh. The study is found that peace is peacefulness, the state of calmness by which human beings can live together peacefully and Harmoniously with love and compassion, Helping each other live together peacefully among human beings, animals and ecology without conflict and violence which causing to loss of property and life. Peace can be divided into two, i.e., internal peace, which means the state of mind that is free from the dominance of defilement, this is a mental state that is not have a conflict which is called nirvana. External peace refers to the state in which individuals, societies, and the world, have no conflict, but have love, unity, liberty, and respect in human rights. For the concept of Thich Nhat Hanh’s peace, it was found that action and intelligence must go together. The process for peace is to focus on doing the right thing, raise awareness of the people in the word to see the threat of violence and war. He meets religious and political leaders in various places to support his work for peace and see the importance of peace. He realizes that it needs to be a change in working for peace. It is necessary to create peace within oneself then expecting from the outers. For the method of peace building, Thich Nhat Hanh has created a community of Sangha “Plum village” which is a community of peace in many countries, that emphasis on bring mindfulness in everyday life without the divine line and found international meditation and wisdom center for realization of the true existence of one selves. There must be compassion and loving-kindness among people and things around us by keeping peace in heart with dedication, having inner motives with benevolent and fill the minds of the people, with peace, happiness and reconciliation, for the world peace forever.en
dc.identifier.urihttps://harrt.in.th/handle/123456789/5264
dc.language.isoth
dc.subjectนิกายเซน
dc.subjectติช นัท ฮันห์
dc.subjectการภาวนาพระนามพระอวโลกิเตศวร
dc.subjectวิถีเซน
dc.subjectติช นัท ฮันห์
dc.subjectการเจริญสติ
dc.subjectชุมชนคณะสวดมนต์วัดหมื่นปีวนาราม
dc.subject.isced0223 ปรัชญาและจริยธรรม
dc.subject.oecd6.3 ปรัชญา จริยธรรมและศาสนา
dc.titleวิเคราะห์แนวคิดเรื่องสันติภาพของ ติซ นัท ฮันห์
dc.title.alternativeAn analysis on Thich Nhat Hanh's concept of peaceen
dc.typeวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท (Master Thesis)
dspace.entity.typePublication
harrt.itemID78
harrt.researchAreaปรัชญาตะวันออก
harrt.researchGroupปรัชญา
harrt.researchTheme.1ปรัชญาสังคมการเมือง
harrt.researchTheme.2ปรัชญาพุทธมหายาน
mods.location.urlhttp://oldweb.mcu.ac.th/userfiles/file/วิทยานิพนธ์/ปริญญาโท/ปรัชญา/2560/MCU60020307.pdf
thesis.degree.departmentบัณฑิตวิทยาลัย
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameพุทธศาสตรมหาบัณฑิต
Files