Publication: การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องอิทัปปัจจยตาในฐานะที่เป็นกฎของธรรมชาติ
Submitted Date
Received Date
Accepted Date
Issued Date
2015
Copyright Date
Announcement No.
Application No.
Patent No.
Valid Date
Resource Type
Edition
Resource Version
Language
th
File Type
No. of Pages/File Size
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Scopus ID
WOS ID
Pubmed ID
arXiv ID
item.page.harrt.identifier.callno
Other identifier(s)
Journal Title
Volume
Issue
Edition
Start Page
End Page
Access Rights
Access Status
Rights
Rights Holder(s)
Physical Location
Bibliographic Citation
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Title
การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องอิทัปปัจจยตาในฐานะที่เป็นกฎของธรรมชาติ
Alternative Title(s)
An analytical study of the Idappaccayata concept as a law of nature
Author’s Affiliation
Author's E-mail
Editor(s)
Editor’s Affiliation
Corresponding person(s)
Creator(s)
Compiler
Advisor(s)
Illustrator(s)
Applicant(s)
Inventor(s)
Issuer
Assignee
Other Contributor(s)
Series
Has Part
Abstract
การวิจัยเรื่อง“การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องอิทัปปัจจยตาในฐานะที่เป็นกฎของ ธรรมชาติ” มีวัตถุประสงค์คือ (๑) เพื่อศึกษาแนวความคิดเรื่องอิทัปปัจจยตาในพุทธปรัชญาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาแนวความคิดเรื่องกฎของธรรมชาติในพุทธปรัชญาเถรวาท (๓) เพื่อวิเคราะห์ แนวความคิดเรื่องอิทัปปัจจยตาในฐานะที่เป็นกฎของธรรมชาติโดยอาศัยการศึกษาและวิเคราะห์ทาง เอกสาร (Documentary Research) ขั้นปฐมภูมิและขั้นทุติยภูมิเป็นหลัก ผลการวิจัยพบว่า หลักอิทัปปัจจยตาในฐานะที่เป็นกฎของธรรมชาติมีส่วนเกี่ยวข้องกับ กฎไตรลักษณ์ หลักปฏิจจสมุปบาท กฎแห่งกรรม และนิยาม ๕ ตามทรรศนะของพุทธปรัชญา ถือว่า เป็นพื้นฐานสําคัญในการค้นหาหลักแห่งความจริงคือ “สัจธรรมในความเป็นกฎแห่งธรรมชาติ” เพราะฉะนั้น การกําเนิดของสรรพสิ่งทั้งหลาย พุทธปรัชญาจึงไม่เชื่อว่าสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นโดยอํานาจ ของพระเจ้าเป็นผู้บันดาล หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ ดลบันดาลให้เป็นไปตามคําสวดอ้อนวอน แต่ใน ความเป็นจริง ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นมาจากองค์ประกอบต่างๆรวมตัวเข้าหากันแล้วปรากฏออกมาเป็น ทั้งรูปธรรมและนามธรรม สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จึงมีอยู่ในลักษณะของการดําเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป และสืบเนื่องต่อกันเป็นกระแสอย่างไม่ขาดสาย ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงตามเหตุปัจจัย อย่างมีระบบ ระเบียบ แบบแผน มีกฎเกณฑ์และทิศทางที่ แน่นอนตายตัว โดยมีหลักสําคัญคือ “สรรพสิ่งล้วนแต่เป็นเหตุปัจจัยอิงอาศัยกันและกันในฐานะที่สิ่งหนึ่งเป็นสาเหตุและอีกสิ่งหนึ่งเป็นผล” ดังประโยคที่เป็นหัวใจสําคัญทางพุทธปรัชญาว่า “เมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี, เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึง เกิดขึ้น, เมื่อสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้ก็ไม่มี, เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับตามไปด้วย” ในยุคปัจจุบัน สังคมโลกกําลังให้ความสําคัญเกี่ยวกับเศรษฐกิจ และการเมืองมาก จนเกินไป จนกระทั่งได้กลายเป็นกระแสโลกาภิวัตน์และกระแสทางด้านวัตถุนิยม จนมองข้ามความสําคัญของกฎศีลธรรม ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ก็ย่อมเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น อิทัปปัจจยตากับหลักศีลธรรม จึงเป็นกฎที่ว่าด้วยการประพฤติตนอยู่ในสังคม ให้มีขนมธรรมเนียม จารีตประเพณีที่ดีงาม ตามสิ่งที่เป็นทั้งจริยธรรมและคุณธรรม เพื่อเป็นแก่นสารของกฎเกณฑ์ กฎหมาย ระเบียบ วินัย ที่สอนให้มวลมนุษย์มีความรับผิดชอบชั่วดีอยู่ในสังคมนั้นๆ โดยยึดถือ หลักการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ด้วยการยึดถือความยุติธรรม มีความเมตตาต่อกัน และกัน ที่จะก่อให้เกิดการดําเนินชีวิตอยู่รวมกันได้อย่างมีความสุข ปัญหาต่างๆในการดําเนินชีวิตอยู่ ในสังคมปัจจุบันก็จะหมดสิ้นไป ด้วยเหตุนี้สรรพสิ่งจึงมีกระบวนการดําเนินไปตามเหตุปัจจัยภายใต้อํานาจของ หลักอิทัปปัจจยตาในฐานะที่เป็นกฎแห่งธรรมชาติโดยแบ่งออกเป็น ๒ นัยยะ คือ ๑. เป็นกฎสากลทั่วไป สามารถนําเอาไปประยุกต์ใช้เห็นถึงสภาวะแห่งความจริงทั้งปวง เช่น ชีวิต โลก จักรวาล เป็นต้น ๒. เป็นกฎจําเพาะเจาะจงในสิ่งใดสิ่ งหนึ่งเท่านั้น เมื่อนําเอากฏอิทัปปัจจยตาไปอธิบายถึง กระบวนการต่างๆก็จะทําให้เห็นความจริงได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น ความเปลี่ยนแปลงของ ร่างกาย – จิตใจ เหตุแห่งความทุกข์และหนทางแห่งการดับทุกข์ปล่อยวางจากความยึดติดถือมั่นด้วย ประการทั้งปวง เป็นต้น ดังนั้น ตามทรรศนะของพุทธปรัชญา จึงถือว่า สรรพสิ่งทั้งหลายมีสอดคล้องกัน ไม่ว่าสิ่ง ดังกล่าวนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม กฎอิทัปปัจยตา จึงเป็นเรื่องของความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างเหตุและ ผลที่มีอยู่ในกฎของธรรมชาติกฎของจักรวาล และถือว่าเป็นกฎใหญ่ที่มีความสําคัญต่อสรรพสิ่งทั้งปวง
The thesis entitled “The Study of the Idappaccayatā Concept as a Law of Nature” has three objectives, they are, (1) to study of the concept of Idappaccayatā in Theravada Buddhist Philosophy, (2) to study the law of nature in Theravada Buddhist Philosophy and (3) to analyze the concept of Idappaccayatā as a law of nature. Its methodology is a documentary research. The result of the study is found that the Idappaccayatā as the law of nature has been related to 3 Characteristics, Paticcasamuppāda, law of Kamma, and 5 Niyama. According to Buddhist philosophy, it was regarded as important basis for searching after truth, “the truth as being law of nature”. All things originate not because of the power of God to which we asking for help, in fact, come into exist due to the combination of various factors in name and form. These things appear as the continuous process which change continuously according to its own system, order, model, criteria and direction on the fundamental principle “All things are interdependent – as cause and effect” as the wordings hold as heart of Buddhist Philosophy “When this exists, That comes to be, With the Arising of this, That Arises, When this does not exist, That does not come to be, With the Cessation of this, That Ceases”. In the present, global world has more emphasis on economics and politics, looking over to the moral values, consequently various forms of problems arise. The research suggest the people to follow up the rules of Idappaccayatā, applied them into practice in daily life in order that they will take responsibility in their actions, holding the principle of justice, spreading loving-kindness and compassion to each other. By this way, people can lead a happy living. All things under the rule of Idappaccayatā, in the respect of Application, can be divided into 2 categories 1. as general rule, it can be applied to all conditions such as life, world and cosmos etc. 2. as particular rule, it can be applied into the process in life, to see the changing process of body-mind, cause and cessation of suffering, leading us to let it go all the clinging.
The thesis entitled “The Study of the Idappaccayatā Concept as a Law of Nature” has three objectives, they are, (1) to study of the concept of Idappaccayatā in Theravada Buddhist Philosophy, (2) to study the law of nature in Theravada Buddhist Philosophy and (3) to analyze the concept of Idappaccayatā as a law of nature. Its methodology is a documentary research. The result of the study is found that the Idappaccayatā as the law of nature has been related to 3 Characteristics, Paticcasamuppāda, law of Kamma, and 5 Niyama. According to Buddhist philosophy, it was regarded as important basis for searching after truth, “the truth as being law of nature”. All things originate not because of the power of God to which we asking for help, in fact, come into exist due to the combination of various factors in name and form. These things appear as the continuous process which change continuously according to its own system, order, model, criteria and direction on the fundamental principle “All things are interdependent – as cause and effect” as the wordings hold as heart of Buddhist Philosophy “When this exists, That comes to be, With the Arising of this, That Arises, When this does not exist, That does not come to be, With the Cessation of this, That Ceases”. In the present, global world has more emphasis on economics and politics, looking over to the moral values, consequently various forms of problems arise. The research suggest the people to follow up the rules of Idappaccayatā, applied them into practice in daily life in order that they will take responsibility in their actions, holding the principle of justice, spreading loving-kindness and compassion to each other. By this way, people can lead a happy living. All things under the rule of Idappaccayatā, in the respect of Application, can be divided into 2 categories 1. as general rule, it can be applied to all conditions such as life, world and cosmos etc. 2. as particular rule, it can be applied into the process in life, to see the changing process of body-mind, cause and cessation of suffering, leading us to let it go all the clinging.
Table of contents
Description
Sponsorship
Degree Name
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
บัณฑิตวิทยาลัย
Degree Discipline
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย