Publication:
คำเรียกขานในภาษาเขมรเหนือ : การวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์เชิงสังคม กรณีศึกษา ตำบลกระสัง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

dc.contributor.authorสุริยา สอดส่องกฤษ
dc.contributor.authorSuriya Sodsongkriten
dc.date.accessioned2023-12-16T14:46:31Z
dc.date.available2023-12-16T14:46:31Z
dc.date.issued1988
dc.date.issuedBE2541
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาคำเรียกขานในภาษาเขมรเหนือโดยใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์เชิงสังคมของ Susan Ervin-Tripp ที่กล่าวถึงกฎการเลือก (Alternation Rules)ว่า ภาษามีการใช้ที่แปรไปตามความแตกต่างกันทางสังคม ดำเนินการศึกษาโดยการสังเกตการใช้ภาษาเขมรเหนือ และการมีส่วนร่วมในสถานการณ์การใช้ภาษาเขมรเหนือ ของชาวเขมรเหนือในพื้นที่กรณีศึกษา คือ ตำบลกระสัง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ แล้นำข้อมูลการใช้คำเรียกขานมาสร้างแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลนำมาศึกษาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการใช้คำเรียกขานโดยวิธีทางสถิติ ในการศึกษาครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์ทางสถิติสองวิธี คือ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Coefficient of Correlation) และการหาค่าสัมประสิทธิ์แห่งการกำหนด (Coefficient of Determination) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้คำเรียกขานในภาษาเขมรเหนือ คือ เพศ อายุ และความสัมพันธ์ของคู่สนทนา โดยที่เพศเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ผู้พูดพิจารณาเป็นอันดับแรกในการเลือกใช้ค้าเรียกขาน เพราะจากการเปรียบเทียบการใช้คำเรียกขานของ เพศชาย และ เพศหญิงพบว่า คำบางคำ จะแบ่งแยกตามเพศอย่างชัดเจน นั่นหมายความว่า คำเรียกขานที่ใช้ระหว่างเพศชายกับ เพศหญิง มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เมื่อเปรียบเทียบการใช้คำเรียกขาน ในเรื่องของความแตกต่างของอายุ ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มอายุน้อยกว่า กลุ่มอายุเท่ากัน และกลุ่มอายุมากกว่า พบว่าคำเรียกขานสามารถใช้กระจายได้ในทุกๆกลุ่ม แต่อย่างไรก็ตามคำเรียนขานบางคำยังคงจำกัดใช้ในบางช่วงอายุ ปัจจัยสุดท้ายคือความสัมพันธ์ของคู่สนทนา แม้ว่าจะมีข้อจำกัดบ้างเล็กน้อย แต่การใช้ คำเรียกขานเมื่อเปรียบเทียบการใช้ในความสัมพันธ์ต่างๆ กันแล้ว พบว่า สามารถใช้กระจายในทุกๆความสัมพันธ์ได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้การใช้คำเรียกขาน ยังถูกควบคุมด้วยปัจจัยที่สำคัญ คือ อำนาจ (Power) และ ความเป็นปึกแผ่น (Solidarlity) ในการศึกษาเพื่อสํารวจความนิยมของการใช้คำเรียกขาน พบว่า คำเรียกตนเองนิยมใช้คำ สรรพนามสุภาพมากที่สุด ส่วนคำสรรพนามไม่สุภาพ คำนามและคำบ่งชี้นิยมเลือกใช้รองลงมาตามลำดับ คำเรียกผู้ที่พูดด้วย นิยมใช้คำนามมากที่สุด และนิยมใช้คำสรรพนามสุภาพ คำสรรพนามไม่สุภาพ และคำบ่งชี้ รองลงมาตามลำดับ
dc.description.abstractThis thesis focus on the sociolinguistic pattern of address terms in Northern Khmer at Tambol Krasang, Amphoe Krasang, Burirum Province. The sociolinguistic rule used in this study is Susan Ervin-Tripp's Alternation Rule (1972) which explans that language usage varies according to social differences. The data was collected using questionnaires developed based on observation and participation.Data was then analyzed using statistical methods. The statistical used were the coefficient of correlation and the coefficient of determination. The results of this study reveals that the use of address terms is conditioned by sex, age, and relationship of participants. Sex of the participant is the most important factor. As for the condition of opposite sex,some address terms can not be used for males and females equally.As for the different age groups(younger,equal and older), some address terms can not be used across the al and older), some three age groups. However,some groups of address terms can not be used with other age groups. The last facter concerns the relationship of the participants.It was found that relationship address terms can be used distributively,more so than sex facter and age facter address .The use of address terms is also governed by two important factor; that is, power and solidarity. In this study, it was found that the most frequently used self-address terms are,in descending order of frequecy, polite pronouns, impolite pronouns, nouns and demonstratives. The most frequently used address terms are, in descending order of frequency, nouns, polite pronouns, impolite pronouns and demonstrative.en
dc.identifier.urihttps://harrt.in.th/handle/123456789/9202
dc.language.isoth
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.publisher.placeนครปฐม
dc.subjectคำเรียกขาน
dc.subjectเขมรเหนือ
dc.subjectการวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์เชิงสังคม
dc.subjectคำสรรพนาม
dc.subject.contentCoverageKXM - เขมรถิ่นไทย
dc.subject.isced0232 วรรณคดีและภาษาศาสตร์
dc.subject.oecd6.2 ภาษาและวรรณคดี
dc.titleคำเรียกขานในภาษาเขมรเหนือ : การวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์เชิงสังคม กรณีศึกษา ตำบลกระสัง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
dc.title.alternativeAddressing terms in northern Khmer : a sociolinguistics analysis : a case study at Tambol Krasang Ampoe Krasang Burirum province.en
dc.typeวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท (Master Thesis)
dspace.entity.typePublication
harrt.itemID610
harrt.researchAreaภาษาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Linguistics)
harrt.researchGroupภาษาศาสตร์
harrt.researchTheme.1ภาษาศาสตร์สังคม (Sociolinguistics)
mods.location.urlhttps://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=264993
thesis.degree.departmentสถาบันวิจัยภาษาเเละวัฒนธรรมเอเชีย
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Files