Publication: ปัจจัยที่มีผลต่อความอยากเรียนของผู้เรียนวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
dc.contributor.author | กนก รุ่งกีรติกุล | |
dc.contributor.author | ชฎาภรณ์ จันทร์ประเสริฐ | |
dc.contributor.author | รุ่งฤดี เลียวกิตติกุล | |
dc.contributor.author | วันชัย สีลพัทธ์กุล | |
dc.contributor.author | หทัยวรรณ เจียมกีรติกานนท์ | |
dc.date.accessioned | 2023-12-15T10:23:43Z | |
dc.date.available | 2023-12-15T10:23:43Z | |
dc.date.issued | 2018 | |
dc.date.issuedBE | 2561 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อความอยากเรียนของนักศึกษากลุ่มเคยเรียนแผนกศิลป์ภาษาญี่ปุ่นในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกับนักศึกษากลุ่มที่ไม่เคยเรียนในแผนกศิลป์ภาษาญี่ปุ่น ทั้งปัจจัยทางบวกได้แก่ ปัจจัยที่ทำให้อยากเรียนภาษาญี่ปุ่นมากขึ้น หรือรักษาระดับความอยากเรียนเอาไว้ได้ และปัจจัยทางลบได้แก่ ปัจจัยที่มีผลให้ความอยากเรียนลดต่ำลง 2) ศึกษาเปรียบเทียบช่วงเวลาและสาเหตุที่ทำให้รู้สึกว่าความอยากเรียนลดต่ำลงของทั้งของผู้ที่เคยเรียนและไม่เคยเรียน 3) ศึกษาเปรียบเทียบวิธีสร้างแรงจูงใจขึ้นมาใหม่ของผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1-5 คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่เรียนภาษาญี่ปุ่นในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2559 รวมทั้งสิ้น 284 คน โดยแบ่งเป็น กลุ่มเคยเรียนในแผนกศิลป์ภาษาญี่ปุ่น (J1) 153 คน และกลุ่มไม่เคยเรียนในแผนกศิลป์ภาษาญี่ปุ่น (J2) 131 คน ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) เรื่องระดับความอยากเรียนของทั้ง 2 กลุ่มพบว่า จำนวนของผู้ที่อยากเรียนเพิ่มขึ้น เท่าเดิม หรือท้อถอยนั้นมีจำนวนพอๆ กันทั้งหมด อาจสรุปได้ว่า ประสบการณ์ในการเรียนนั้นไม่มีผลต่อความอยากเรียนจนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนปัจจัยที่ทำให้กลุ่ม J1 มีความต้องการเรียนภาษาญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น คือ มีบุคคลที่ประสบความสำเร็จ บุคคลที่ตนเองนับถือ หรือชื่นชอบ รวมถึงการมีคู่แข่ง ส่วนกลุ่ม J2 จะให้ความสำคัญกับปัจจัยภายในจิตใจของตนเองอย่างเช่น ความรู้สึกภูมิใจ ความสนุกในการเรียน หรือความไม่พอใจในความสามารถของตัวเองเป็นตัวกระตุ้น ให้รู้สึกอยากเรียนภาษาญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น ส่วนปัจจัยที่ส่งผลให้ความรู้สึกต้องการเรียน ลดน้อยลงระหว่างกลุ่ม J1 และกลุ่ม J2 คล้ายคลึงกัน คือ ปัจจัยที่ส่งผลทำให้รู้สึกท้อถอยในการเรียนมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านศักยภาพในการเรียน ในเรื่องความไม่มั่นใจในความสามารถของตนเอง ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกท้อถอยน้อยที่สุด คือ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการเรียน เรื่องปัญหากับเพื่อนในชั้นเรียน 2) กลุ่มนักศึกษา J1 จะรู้สึกท้อถอยในช่วงแรกมากกว่ากลุ่มนักศึกษา J2 สาเหตุเกิดจากการเปรียบเทียบกับ การเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของตนเอง 3) นักศึกษาทั้งสองกลุ่มมีวิธีรับมือ เมื่อรู้สึกท้อถอย หรืออยากเรียนลดน้อยลงคล้ายๆ กัน คือ พยายามคิดถึงแรงบันดาลใจตอนเริ่มเรียนของตนเอง สำหรับกลุ่มนักศึกษาที่ไม่มีประสบการณ์ในการเรียน ภาษาญี่ปุ่นมาก่อน จะมีแนวโน้มใช้วิธีรับมือด้วยการออกห่างจากภาษาญี่ปุ่นสักพัก โดยหันไปทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกอย่างอื่นมากกว่า | |
dc.identifier.uri | https://harrt.in.th/handle/123456789/2924 | |
dc.language.iso | th | |
dc.subject | ความอยากเรียนภาษาญี่ปุ่น | |
dc.subject | ความรู้สึกท้อถอยในการเรียน | |
dc.subject.isced | 0231 การเรียนภาษา | |
dc.subject.oecd | 6.2 ภาษาและวรรณคดี | |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อความอยากเรียนของผู้เรียนวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร | |
dc.title.alternative | Factors in motivation to learn Japanese language of students taking Japanese course at the Faculty of Arts Silpakorn University | en |
dc.type | บทความวารสาร (Journal Article) | |
dspace.entity.type | Publication | |
harrt.itemID | 126 | |
harrt.researchArea | การสอนภาษาญี่ปุ่น | |
harrt.researchGroup | ภาษาญี่ปุ่น | |
harrt.researchTheme.1 | การเรียนการสอนภาษา (Language Teaching) | |
harrt.researchTheme.2 | ความรู้สึกของผู้เรียน (ทัศนคติ แรงจูงใจ กลวิธีการเรียนรู้ ฯลฯ) | |
mods.location.url | https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/121263/92543 | |
oaire.citation.endPage | 87 | |
oaire.citation.issue | 2 | |
oaire.citation.startPage | 63 | |
oaire.citation.title | วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร | |
oaire.citation.title | Silpakorn University Journal | en |
oaire.citation.volume | 38 |