Publication: ระบบหน่วยเสียงในภาษาถิ่นโคราช
dc.contributor.author | ชลิดา รินทร์พรหม | |
dc.contributor.author | Rinprom, Chalida | en |
dc.date.accessioned | 2023-12-16T14:45:58Z | |
dc.date.available | 2023-12-16T14:45:58Z | |
dc.date.issued | 1977 | |
dc.date.issuedBE | 2520 | |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาระบบหน่วยเสียงชนิดต่าง ๆ ในภาษาถิ่นโคราช ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ ส่วนใหญ่ได้จากภาษาที่ผู้วิจัยใช้เอง จากการศึกษาหน่วยเสียงในภาษาถิ่นโคราชทั้ง 3 ชนิด คือหน่วยเสียงพยัญชนะ หน่วยเสียงสระ และหน่วยเสียงวรรณยุกต์ สรุปได้ดังนี้ หน่วยเสียงพยัญชนะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือหน่วยเสียงพยัญชนะเดี่ยว ซึ่งมี 20 หน่วย และหน่วยเสียงพยัญชนะประสม ซึ่งมี 6 หน่วย หน่วยเสียงสระแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือหน่วยเสียงสระเดี่ยว ซึ่งมี 18 หน่วย และหน่วยเสียงสระประสม ซึ่งมี 3 หน่วย หน่วยเสียงวรรณยุกต์มี 4 หน่วย พร้อมกันนี้ได้อธิบายลักษณะและหน้าที่ของหน่วยเสียงแต่ละหน่วยโดยละเอียดและได้กล่าวถึงการประกอบหน่วยเสียงชนิดต่าง ๆ เข้าเป็นพยางค์ ซึ่งปรากฏเป็นลักษณะโครงสร้างของพยางค์แบบต่าง ๆ รวม 23 แบบ โดยอาจจะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 7 ประเภท คือ CV, CVG, CVS, CVN, CVV, CVVS และ CVVN ผู้วิจัยได้เปรียบเทียบหน่วยเสียงในภาษาถิ่นโคราช ที่เป็นปฏิภาคกันกับหน่วยเสียงในภาษากรุงเทพฯ ไว้ด้วย นอกจากนี้ ยังได้รวบรวมคำพยางค์เดียวซึ่งได้ใช้เป็นข้อมูล จำนวน 3,320 คำมาแสดงไว้ในตารางคำ พร้อมทั้งอธิบายความหมายของคำที่มีใช้เฉพาะในภาษาโคราช และคำที่ใช้แตกต่างไปจากภาษากรุงเทพฯ และท้ายที่สุด ได้เสนอแนะให้ผู้ที่สนใจเรื่องภาษาถิ่น เปรียบเทียบระบบหน่วยเสียงในภาษาถิ่นโคราชกับภาษาถิ่นอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภาษาอีสานถิ่นใดถิ่นหนึ่ง เพื่อหาหน่วยเสียงที่เป็นปฏิภาคกัน และศึกษาเรื่องความหมายของคำในภาษาถิ่นอื่นๆในทำนองเดียวกันกับที่ได้ศึกษาในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ | |
dc.description.abstract | The purpose of this thesis is to study the phonemic system of the Khorat dialect. The author, being a native speaker, serves as her own informant. The study of the three kinds of phonemes of the Khorat dialect i.e., consonants, vowels and tones, may be concluded as follows: the consonants are divided into 2 groups: 20 single consonant phonemes and 6 clusters, the vowels are also divided into 2 groups: 18 single vowel phonemes and 3 diphthongs, and there are 4 tonal phonemes. The nature and the distributions of each phoneme as well as the combinations of the phonemes into different types of syllables are described in detail, resulting in 23 different patterns of 7 types of syllabic structures: CV, CVG, CVS, CVN, CVV, CVVS, and CVVN. The author also presents the phoneme correspondence between the Khorat dialect and the Bangkok dialect. In addition, 3,320 monosyllabic words are collected in 21 tables, some of which occur only in the Khorat dialect, other occur both in the Bangkok as well as in the Khorat dialect. The meaning of the two groups are described. Finally, the author has given suggestions to those who are interested in pursuing further research on Thai dialects to compare the phonemic systems of the Khorat dialect and of any other dialect, especially the north-eastern, to establish their correspondence; and to make a semantic study of words in other Thai dialects as presented in this thesis. | en |
dc.identifier.uri | https://harrt.in.th/handle/123456789/9185 | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher.place | กรุงเทพมหานคร | |
dc.subject.contentCoverage | THA - ไทย | |
dc.subject.isced | 0232 วรรณคดีและภาษาศาสตร์ | |
dc.subject.oecd | 6.2 ภาษาและวรรณคดี | |
dc.title | ระบบหน่วยเสียงในภาษาถิ่นโคราช | |
dc.title.alternative | The phonemic system of the Khorat dialect | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท (Master Thesis) | |
dspace.entity.type | Publication | |
harrt.itemID | 838 | |
harrt.researchArea | ภาษาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Linguistics) | |
harrt.researchGroup | ภาษาศาสตร์ | |
harrt.researchTheme.1 | วิทยาภาษาถิ่น (Dialectology) | |
harrt.researchTheme.2 | สัทศาสตร์/สัทวิทยา (Phonetics/Phonology) | |
thesis.degree.department | คณะอักษรศาสตร์ | |
thesis.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |