Publication: การสังเคราะห์บทเรียนในเชิงหลักคิดและหลักปฏิบัติ : กรณีศึกษาเพื่อการขยายผลพัฒนากิจการพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
Submitted Date
Received Date
Accepted Date
Issued Date
2020
Copyright Date
Announcement No.
Application No.
Patent No.
Valid Date
Resource Type
Edition
Resource Version
Language
th
File Type
No. of Pages/File Size
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Scopus ID
WOS ID
Pubmed ID
arXiv ID
item.page.harrt.identifier.callno
Other identifier(s)
Journal Title
Volume
Issue
Edition
Start Page
End Page
Access Rights
Access Status
Rights
Rights Holder(s)
Physical Location
Bibliographic Citation
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Title
การสังเคราะห์บทเรียนในเชิงหลักคิดและหลักปฏิบัติ : กรณีศึกษาเพื่อการขยายผลพัฒนากิจการพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
Alternative Title(s)
Author’s Affiliation
Author's E-mail
Editor(s)
Editor’s Affiliation
Corresponding person(s)
Creator(s)
Compiler
Advisor(s)
Illustrator(s)
Applicant(s)
Inventor(s)
Issuer
Assignee
Other Contributor(s)
Series
Has Part
Abstract
งานวิจัยนี้ มุ่งศึกษาวิเคราะห์เชิงสำรวจเกี่ยวกับองค์กรทางพระพุทธศาสนาในประเทศ ที่มี บทบาทสำคัญในการเผยแผ่แนวคิดทางพระพุทธศาสนาในบริบทสังคมร่วมสมัย เพื่อนำหลักคิด อัตลักษณ์องค์กร แนวทางการบริหารและประสบการณ์ขององค์กรเหล่านั้นมาสังเคราะห์เป็นแนวทาง เพื่อพัฒนากิจการพระพุทธศาสนาในประเทศต่อไป โดยการวิจัยแบ่งออกเป็น ๓ ด้าน ประกอบด้วย ศาสนประเพณี ศาสนธรรม และศาสนสมบัติ ในเชิงภาพรวม กรณีศึกษาเหล่านี้ แสดงให้เห็นการ พยายามสืบทอด รักษา และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ วิถีปฏิบัติ และการบริหารจัดการที่เป็นอัตลักษณ์ ซึ่งสอดคล้องกับพระธรรมวินัย และการปรับตัวสู่สังคมสมัยใหม่ ดังนี้ (๑) ด้านศาสนประเพณี แบ่งออกเป็น ๒ กรณี คือ (๑) ศาสนประเพณีที่ผูกพันกับวัด อันเป็น ประเพณีที่มีความเป็นผูกพันกับวัดและชุมชนรอบข้าง ได้รับการสืบสานรักษาต่อมาโดยคณะสงฆ์และ ฆราวาส รวมไปถึงการสร้างประเพณีอื่น ๆ ขึ้นมา เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทสังคม (๒) ศาสนประเพณีที่พัฒนาขึ้นใหม่โดยองค์กรที่ไม่ใช่วัด มีลักษณะเป็นประเพณี พิธีกรรมที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ให้ สอดคล้องกับความเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนโดยฆราวาส และสอดคล้องกับวิถีชีวิตสังคมเมืองยุคใหม่ (๒) ด้านศาสนธรรม กลุ่มตัวอย่างประกอบไปด้วยวัดและองค์กรเผยแผ่ที่ไม่ใช่วัด ผล การศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นวัดมีแนวทางการสืบทอด รักษาคำสอน และแนวปฏิบัติจากพระ อาจารย์ผู้ก่อตั้งองค์กร มีสถานที่ปฏิบัติเป็นพุทธสถานที่เป็นที่ตั้งแน่นอน และพระภิกษุสงฆ์มีบทบาท นำโดดเด่นในองค์กร ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช่วัด มีแนวคำสอนที่ชัดเจน อยู่บนรากฐานแนวคิดทาง พระพุทธศาสนา แต่การเผยแพร่ การบริหารจัดการ บรรดาศิษย์ฆราวาสที่มีความรู้มีบทบาทสูงใน องค์กร อย่างไรก็ตาม ทั้ง ๒ กรณี มีการสร้างเครือข่าย/สาขาตามแนวทางของตนออกไปอย่าง กว้างขวาง (๓) ด้านศาสนสมบัติ จากการศึกษาพบว่า การบริหารทรัพย์สินมี ๓ แนวทางหลัก ตามความ สอดคล้องกับบริบทของแต่ละวัด คือ การบริหารตามแนวทางพระวินัยให้สังฆะมีบทบาทในการบริหาร ทรัพย์สิน ประการถัดมา คือ การบริหารเพื่อความเป็นระเบียบตามแนวคิดการบริหารร่วมสมัย โดย ความร่วมมือระหว่างพระสงฆ์และฆราวาส สะท้อนภาพความร่วมมือระหว่างวัดกับชุมชน สุดท้าย เป็น การบริหารทรัพย์สินโดยหน่วยงานราชการวางรากฐานให้กับวัด มีการจัดการที่เป็นระบบ พระสงฆ์มี บทบาทน้อย แต่มีความโปร่งใสสูง