Publication: ความสัมพันธ์ระหว่างการรู้คิดและการรู้จักถ้อยคำที่ไม่เป็นรูปธรรมในกลุ่มเด็กไทยอายุ 3-5 ปี
Submitted Date
Received Date
Accepted Date
Issued Date
2012
Copyright Date
Announcement No.
Application No.
Patent No.
Valid Date
Resource Type
Edition
Resource Version
Language
th
File Type
No. of Pages/File Size
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Scopus ID
WOS ID
Pubmed ID
arXiv ID
item.page.harrt.identifier.callno
Other identifier(s)
Journal Title
Volume
Issue
Edition
Start Page
End Page
Access Rights
Access Status
Rights
Rights Holder(s)
Physical Location
Bibliographic Citation
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Title
ความสัมพันธ์ระหว่างการรู้คิดและการรู้จักถ้อยคำที่ไม่เป็นรูปธรรมในกลุ่มเด็กไทยอายุ 3-5 ปี
Alternative Title(s)
The relation between cognition and recognition of non-concrete wording exhibited among Thai children aged 3-5
Author(s)
Author’s Affiliation
Author's E-mail
Editor(s)
Editor’s Affiliation
Corresponding person(s)
Creator(s)
Compiler
Advisor(s)
Illustrator(s)
Applicant(s)
Inventor(s)
Issuer
Assignee
Other Contributor(s)
Series
Has Part
Abstract
งานวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการรู้คิดและการรู้จักถ้อยคำที่ไม่เป็นรูปธรรมในกลุ่มเด็กไทยอายุ 3-5 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ภาษาแสดงการรู้คิดและการรู้จักถ้อยคำที่ไม่เป็นรูปธรรมในกลุ่มเด็กไทยอายุ 3-5 ปี และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรู้คิดและการรู้จักของเด็กไทยวัย 3-5 ปี ตลอดจนเพื่อเปรียบเทียบผลการใช้ภาษาแสดงการรู้คิดและการรู้จักถ้อยคำที่ไม่เป็นรูปธรรมในกลุ่มเด็กไทยวัย 3-5 ปี ระหว่างนิทานสำหรับเด็กที่มีภาพประกอบและนิทานสำหรับเด็กที่ไม่มีภาพประกอบ
กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กไทยอายุ 3-5 ปี จำนวน 30 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงปีที่ 3 ของโรงเรียนอนุบาลวงศ์สวัสดิ์วิทยา อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยนิทานสำหรับเด็กที่มีภาพประกอบและไม่มีภาพประกอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองโดยสอดแทรก ได้แก่ ถ้อยคำที่ไม่เป็นรูปธรรมลงในเนื้อเรื่อง นิทานแต่ละเรื่องปรากฏถ้อยคำที่ไม่เป็นรูปธรรมใน 4 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นเรื่องเวลา เรื่องที่ตั้งและระยะทาง เรื่องความรู้สึก และเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ทั้งนี้ยังได้สร้างกรอบคำถามเพื่อพิจารณาการใช้ภาษาแสดงการรู้คิดและการรู้จักถ้อยคำ
ที่ไม่เป็นรูปธรรมกับกลุ่มตัวอย่าง โดยในแต่ละกรอบจะมีคำถามลักษณะเดียวกัน ได้แก่ คำถามว่า “คืออะไร” “ทำไม” และ “อย่างไร”
สำหรับการให้คะแนนผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีต่างที่น่าเชื่อถือมาสร้างเป็นเกณฑ์การให้คะแนน ซึ่งคะแนนจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ คะแนนการใช้ภาษาแสดงการรู้คิดและคะแนนการใช้ภาษาแสดงการรู้จักถ้อยคำที่ไม่เป็นรูปธรรม หลังจากนั้นนำผลที่ได้ไปคำนวณโดยใช้โปรแกรม SPSS เมื่อพิจารณาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างการรู้คิดและการรู้จักถ้อยคำที่ไม่เป็นรูปธรรมโดยรวมพบว่ามีค่าเท่ากับ 937 โดยมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 อันหมายความว่า ถ้าคะแนนการใช้ภาษาแสดงการรู้จักถ้อยคำที่ไม่เป็นรูปธรรมมีค่าในระดับสูง คะแนนการใช้ภาษาแสดงการรู้คิดถ้อยคำที่ไม่เป็นรูปธรรมจะสูงตามไปด้วย นอกจากนี้คะแนนการใช้ภาษาแสดงการรู้คิดและการ
รู้จักถ้อยคำที่ไม่เป็นรูปธรรมมาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มอายุ คือ อายุ 3 ปี 4 ปี และ 5 ปี โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวหรือแบบมี 1 ตัวประกอบ (One way ANOVA) ปรากฏว่า กลุ่มตัวอย่างอายุ 3 ปี ใช้ภาษาแสดงการรู้คิดและการรู้จักถ้อยคำที่ไม่เป็น รูปธรรมได้น้อยกว่ากลุ่มตัวอย่างอายุ 4 ปี และ 5 ปี และเมื่อพิจารณาผลการใช้นิทานสำหรับเด็กที่มีภาพประกอบ และนิทานสำหรับเด็กที่ไม่มีภาพประกอบมาหาค่าที (t-test) แบบ Independent samples พบว่า ผลการใช้นิทานสำหรับเด็กที่มีภาพประกอบและนิทานสำหรับเด็กที่ไม่มีภาพประกอบในการใช้ภาษาแสดงการรู้คิดและการรู้จักถ้อยคำที่ไม่เป็นรูปธรรมไม่แตกต่างกัน
The purpose of this research is to study the cognition of Thai children aged between 3-5 years old and to study the relation between cognition and recognition among Thai children aged 3-5. Moreover, the comparison in the language used between cognition and recognition of non-concrete wording in storytelling and non- picture storytelling was conducted. The subjects were 30 children, aged between 3-5 years old, from Anubanwongsawatwitthaya School, Ang Thong province. This research was divided into two parts, consisting of recognition questions and cognition questions. The subjects were asked to listen to the non-concrete story and to answer each question with the correct words that agree with the concept answers. Test results were calculated by SPSS program for Windows to find Pearson Product Moment Correlation, ANOVA, and t-test (independent sample). The results are as follows: the correlation between cognition and recognition is.937, with .01 two-tailed significant level. Using result of picture storytelling and non-picture storytelling is not different.
The purpose of this research is to study the cognition of Thai children aged between 3-5 years old and to study the relation between cognition and recognition among Thai children aged 3-5. Moreover, the comparison in the language used between cognition and recognition of non-concrete wording in storytelling and non- picture storytelling was conducted. The subjects were 30 children, aged between 3-5 years old, from Anubanwongsawatwitthaya School, Ang Thong province. This research was divided into two parts, consisting of recognition questions and cognition questions. The subjects were asked to listen to the non-concrete story and to answer each question with the correct words that agree with the concept answers. Test results were calculated by SPSS program for Windows to find Pearson Product Moment Correlation, ANOVA, and t-test (independent sample). The results are as follows: the correlation between cognition and recognition is.937, with .01 two-tailed significant level. Using result of picture storytelling and non-picture storytelling is not different.
Table of contents
Description
Sponsorship
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะศิลปศาสตร์
Degree Discipline
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์