Publication: แนวคิดภววิทยาของกิเลสในพุทธปรัชญาเถรวาท
Submitted Date
Received Date
Accepted Date
Issued Date
2014
Copyright Date
Announcement No.
Application No.
Patent No.
Valid Date
Resource Type
Edition
Resource Version
Language
th
File Type
No. of Pages/File Size
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Scopus ID
WOS ID
Pubmed ID
arXiv ID
item.page.harrt.identifier.callno
Other identifier(s)
Journal Title
Volume
Issue
Edition
Start Page
End Page
Access Rights
Access Status
Rights
Rights Holder(s)
Physical Location
Bibliographic Citation
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Title
แนวคิดภววิทยาของกิเลสในพุทธปรัชญาเถรวาท
Alternative Title(s)
Ontological concept of desires in Theravada Buddhist philosophy
Author’s Affiliation
Author's E-mail
Editor(s)
Editor’s Affiliation
Corresponding person(s)
Creator(s)
Compiler
Advisor(s)
Illustrator(s)
Applicant(s)
Inventor(s)
Issuer
Assignee
Other Contributor(s)
Series
Has Part
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการวิจัยเอกสารซึ่งมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาเรื่องจิตในพุทธปรัชญาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาเรื่องกิเลสในพุทธปรัชญาเถรวาท (๓) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดภววิทยาของกิเลสในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงเอกสาร จากการศึกษาพบว่า ขันธ์ ๕ คือ กอง หมวดหมู่ ๕ ประการ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเรียกว่ากระบวนการเกิดขึ้นแห่งชีวิต ขันธ์ ๕ ย่อลงได้เป็น ๒ อย่าง คือ กายกับจิตหรือรูปกับนามชีวิตต้องประกอบด้วยจิตและกาย กายเป็นรูปธรรม จิตเป็นนามธรรม พุทธปรัชญาเถรวาทมองเห็นชีวิตในรูปของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่มาประกอบกันเข้า ตัวตนแท้ ๆ ของสิ่งต่าง ๆ ที่เราเห็นเป็นคน สัตว์ พืช สิ่งของ นั้นไม่มี เมื่อแยกส่วนต่าง ๆ ออกจะไม่เหลือความเป็นคน ฉะนั้น กาย(body) (รูป) และจิต (นาม) (mind) เป็นส่วนประกอบของกันและกัน อุบัติขึ้นด้วยกันเป็นปัจจัยให้กันและกันเกิดขึ้น เรื่องขันธ์ ๕ และจิตทำให้รู้ว่ากระบวนการที่เรียกว่าชีวิตเป็นอย่างไรและให้รู้ว่า กิเลสนั้นเกิดขึ้นมาโดยอาศัยจิตกิเลสเป็นสิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมองความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวกิเลสเกิดขึ้นโดยอาศัยขันธ์ ๕ หรือจิตจึงเกิดขึ้นได้ กิเลสเกิดขึ้นโดยมีปัจจัยทำให้เกิดขึ้น กิเลสจักเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าหากขาดกายและจิต กระบวนการเกิดขึ้นของกิเลสเป็นลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต เมื่อมีกายกับจิตทำให้เกิดแดนรับรู้ เมื่อมีแดนรับรู้คือ อายตนะภายใน อายตนะนอก กิเลสก็เข้ามาตามช่องทางอายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จักเห็นได้ว่าการเกิดขึ้นของกิเลส เป็นลักษณะที่ต้องอาศัยปัจจัยจึงจะเกิดขึ้น และส่งผลทางกาย วาจา ใจ ทำให้เกิดความเศร้าหมอง ในการกระทำความชั่ว ด้วยพฤติกรรมเหล่านี้ ทำให้เห็นความมีอยู่ของกิเลสมากยิ่งขึ้น ปัญหาเรื่องความมีอยู่ของกิเลสในทัศนะของพุทธปรัชญา เห็นว่า กิเลสนั้นมีอยู่เพราะอาศัยจิต หากจิตมีกิเลสที่เป็นสภาวะ ของความโลภ ความโกรธ และความหลง ก็มี ความมีอยู่ของกิเลสในทัศนะพุทธ ปรัชญา จึงมีอยู่แบบอิงอาศัยกันเกิดขึ้น ซึ่งเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างจิตกับกิเลส
Table of contents
Description
Sponsorship
Degree Name
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
บัณฑิตวิทยาลัย
Degree Discipline
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย