Publication: การพัฒนารูปแบบการบริการสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวประเทศไทย
Submitted Date
Received Date
Accepted Date
Issued Date
2019
Copyright Date
Announcement No.
Application No.
Patent No.
Valid Date
Resource Type
Edition
Resource Version
Language
th
File Type
No. of Pages/File Size
ISBN
ISSN
2730-4086
eISSN
DOI
Scopus ID
WOS ID
Pubmed ID
arXiv ID
item.page.harrt.identifier.callno
Other identifier(s)
Journal Title
วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ
Volume
63
Issue
1
Edition
Start Page
109
End Page
132
Access Rights
Access Status
Rights
Copyright (c) 2019 วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ
Rights Holder(s)
Physical Location
Bibliographic Citation
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Title
การพัฒนารูปแบบการบริการสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวประเทศไทย
Alternative Title(s)
Author’s Affiliation
Author's E-mail
Editor(s)
Editor’s Affiliation
Corresponding person(s)
Creator(s)
Compiler
Advisor(s)
Illustrator(s)
Applicant(s)
Inventor(s)
Issuer
Assignee
Other Contributor(s)
Series
Has Part
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการบริการสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวประเทศไทย (2) ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีของการบริการสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวประเทศไทยและต่างประเทศ (3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการบริการสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวประเทศไทย และ (4) พัฒนารูปแบบการบริการสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวประเทศไทย ซึ่งการวิจัยเป็นแบบผสมผสานซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวจำนวน 396 คน คัดเลือกแบบง่ายจากจังหวัดที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวมากที่สุดและสร้างรายได้สูงทางการท่องเที่ยวตั้งแต่ปี 2554-2558 จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี กาญจนบุรี ภูเก็ต เชียงใหม่ และนครราชสีมา ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานจำนวน 18 คน จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช จำนวน 6 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการบริการสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวประเทศไทยเป็นการบริการสารสนเทศพื้นฐานแบบเผชิญหน้า ได้แก่ บริการตอบคำถาม บอกเส้นทาง ให้แผนที่ สืบค้นข้อมูลออนไลน์ และการบริการสารสนเทศพิเศษได้แก่ บริการข้อมูลท่องเที่ยวเชิงธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ ข้อมูลเฉพาะด้าน และบริการนำส่งเอกสาร มีการบูรณาการความรู้และใช้ทรัพยากรร่วมกันกับหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ เอกชน และท้องถิ่น (2) แนวปฏิบัติที่ดีของการบริการสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวประเทศไทยและต่างประเทศ มี 2 ด้านได้แก่ การบริหารจัดการบุคลากรและด้านการบริการสารสนเทศ (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริการสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวประเทศไทย ได้แก่ การคัดสรรสารสนเทศที่ให้บริการเฉพาะกลุ่ม โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ งบประมาณที่ใช้จ้างบุคลากร ภาวะผู้นำของผู้บริหาร และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย และ (4) รูปแบบการบริการสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับประเทศไทยคือ โมเดล SI-IS ประกอบด้วย SI ได้แก่ Sharing (S) การใช้ทรัพยากรร่วมกันและการบูรณาการความรู้ของบุคลากรขององค์กรท่องเที่ยวและชุมชนในท้องถิ่น และ Information (I) สารสนเทศเฉพาะกลุ่มซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการบริการสารสนเทศด้านการท่องเที่ยว Information Systems (IS) ระบบสารสนเทศด้านการท่องเที่ยว ประกอบด้วย ระบบการท่องเที่ยวอัจฉริยะ การเชื่อมโยงบริการสารสนเทศแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ และมาตรฐานข้อมูลท่องเที่ยวทั่วไทย