Publication:
คณาธิปไตยหรือประชาธิปไตยในอาเซียน: มุมมองของ Alexis de Tocqueville

dc.contributor.authorสมบัติ จันทรวงศ์
dc.date.accessioned2023-12-16T06:40:52Z
dc.date.available2023-12-16T06:40:52Z
dc.date.issued2014
dc.date.issuedBE2557
dc.description.abstractระหว่างการเดินทางไปเยือนสหรัฐอเมริกาในช่วงต้นทศวรรษที่ค.ศ.1830 ต็อกเกอวิลล์เห็นว่าความเท่าเทียมกันของสภาวะเงื่อนไขต่างๆนำไปสู่ความคิดเกี่ยวกับอธิปไตยของประชาชนในสหรัฐอเมริกาแต่ถ้าเขาได้เดินทางมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต็อกเกอวิลล์คงจะกล่าวว่าหลักการที่แพร่หลายกว้างขวางและมีอิทธิพลอย่างที่สุดในรัฐอาเซียนคือ“หลักการเรื่องความไม่เสมอภาค”ก่อนกลางศตวรรษที่ 19 ความไม่เท่าเทียมกันด้านสังคมและการเมืองทำหน้าที่เป็นเสมือนหลักการเบื้องต้นของหมู่รัฐเกษตรกรรมในเอเชียอาคเนย์มาโดยตลอดและความไม่เท่าเทียมกันนี้โดยพื้นฐานแล้วเป็นสิ่งที่ผู้คนได้มาโดยกำเนิดแต่ต่อมาเมื่อจักรวรรดินิยมตะวันตกและลัทธิล่าอาณานิคมมาถึงเอเชียอาคเนย์มิติใหม่แห่งความไม่เสมอภาคก็ถูกเพิ่มเข้ามาสมทบกับความไม่เท่าเทียมกันที่มีอยู่เดิมเส้นทางไปสู่ระบบทุนนิยมที่เกิดจากการตกเป็นประเทศอาณานิคมได้นำไปสู่การก่อตัวของชนชั้นใหม่ๆอีกด้วยนั่นคือชนชั้นกลางที่เป็นผู้ประกอบการและชนชั้นที่เป็นข้าราชการที่ได้รับการศึกษาสูงหรือการศึกษาแผนใหม่ด้วยการสิ้นสุดของจักรวรรดินิยมตะวันตกชนชั้นนำที่เป็นชาวพื้นเมืองซึ่งเดิมถ้าเป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของฝ่ายบริหารอาณานิคมอยู่แล้วก็เข้ายึดกลไกทางการเมืองและทางการบริหารที่ถูกทิ้งไว้โดยผู้ปกครองอาณานิคมและกลายเป็นอภิสิทธิชนแบบใหม่ในประเทศของตนแต่เมื่อปราศจากสภาวะของสังคมประชาธิปไตย (ปราศจากความเท่าเทียมกันของสภาวะเงื่อนไขต่างๆ) สถาบันทางการเมืองและพิธีกรรมต่างๆแห่งประชาธิปไตยรูปแบบใหม่จึงเป็นเพียงแค่เครื่องมือเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ชนชั้นผู้ปกครองกลุ่มใหม่เท่านั้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อันเป็นพื้นที่ที่เงื่อนไขของความไม่เท่าเทียมกันได้ปกคลุมไปทั่วมวลชนผู้ยากไร้ซึ่งตกอยู่ภายใต้แอกของเศรษฐกิจทุนนิยมในที่สุดแล้วก็ต้องพึ่งพิงอำนาจของรัฐเพื่ออนาคตที่ดีขึ้นของตนอย่างโดยสิ้นเชิงเพราะฉะนั้นแม้ว่าจะมีสิทธิ์ในการเลือกตั้งมวลประชาของเอเชียก็ยังคงไม่มีอิสรภาพที่แท้จริงอยู่ดีกรณีของประเทศฟิลิปปินส์สิงคโปร์และไทยถือเป็นกรณีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่าการใช้กระบวนการประชาธิปไตยแบบเป็นทางการในสังคมที่เงื่อนไขแห่งความไม่เท่าเทียมกันคือกฎทั่วไปมีโอกาสที่จะนำสังคมนั้นไปสู่รัฐ“เผด็จการทุนนิยมเบ็ดเสร็จ”หรือที่เลวกว่านั้นก็คือรัฐที่ถูกครอบงำโดยความคิดของลัทธิเสียงข้างมากนิยมหรือทรราชโดยเสียงข้างมาก
dc.description.abstractDuring his visit to the U.S. in 1830’s, Tocqueville noted that it was the equality of conditions which made it possible for the idea of popular sovereignty to actualize in America. But if he had ever journeyed to Southeast Asia he would most likely have said that the most pervasive and the most influential principle in these states is that of inequality. Prior to the middle of the 19th century, the social and political inequality which existed and served as a moving principle of Asian agrarian states was basically that associated with birth. But with the coming of Western imperialism and colonialism, new dimensions were added to this inequality. The inroad of capital-ism by way of colonization had led to the formation of new social classes – the small entrepreneurial middle class and the new educated bureaucratic elites. With the end of colonialism, the indigenous elites took over the political and bureaucratic machinery left behind by their colonial masters and became the new oligarchy of their own land. Without a democratic social state – without equality of condition – the new political institution and the democratic processes merely served to legitimize the power of the new ruling class. In this part of the world where inequality of conditions prevails, the poor masses, being helplessly thrown under the yoke of the capitalist economy eventually come to depend entirely on the state authority for the improvement of their lot. Despite the right to vote, they remain unfree. The cases of the Philippines, Singapore and Thailand serve to illustrate that the introduction of formal democratic processes into a society in which the inequality of conditions is the rule may turn that society into a “capitalist totalitarian” state, or even worse, a state dominated by the idea of “electoral majoritarianism” or the tyranny of the majority.en
dc.identifier.urihttps://harrt.in.th/handle/123456789/4953
dc.language.isoth
dc.subject.isced0223 ปรัชญาและจริยธรรม
dc.subject.oecd6.3 ปรัชญา จริยธรรมและศาสนา
dc.titleคณาธิปไตยหรือประชาธิปไตยในอาเซียน: มุมมองของ Alexis de Tocqueville
dc.title.alternativeOligarchy or Democracy in ASEAN: An Alexis de Tocqueville’s Perspectiveen
dc.typeบทความวารสาร (Journal Article)
dspace.entity.typePublication
harrt.itemID1368
harrt.researchAreaปรัชญาตะวันตก
harrt.researchGroupปรัชญา
harrt.researchTheme.1ปรัชญาสังคมการเมือง
mods.location.urlhttp://www.asiajournal.ru.ac.th/pdfjs/web/viewer.html?file=http://www.asiajournal.ru.ac.th/journals/1512637314_a2.pdf
oaire.citation.endPage63
oaire.citation.issue1
oaire.citation.startPage23
oaire.citation.titleเอเชียพิจาร
oaire.citation.volume1
Files