Publication: การศึกษาหน่วยสร้างกรรมวาจกในภาษาญี่ปุ่นในแนวไวยากรณ์หน้าที่นิยมแบบลักษณ์ภาษา
Submitted Date
Received Date
Accepted Date
Issued Date
2017
Copyright Date
Announcement No.
Application No.
Patent No.
Valid Date
Resource Type
Edition
Resource Version
Language
th
File Type
No. of Pages/File Size
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Scopus ID
WOS ID
Pubmed ID
arXiv ID
item.page.harrt.identifier.callno
Other identifier(s)
Journal Title
วารสารครุพิบูล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Journal of Faculty of Education Pibulsongkram Rajabhat University
Journal of Faculty of Education Pibulsongkram Rajabhat University
Volume
4
Issue
2
Edition
Start Page
75
End Page
92
Access Rights
Access Status
Rights
Rights Holder(s)
Physical Location
Bibliographic Citation
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Title
การศึกษาหน่วยสร้างกรรมวาจกในภาษาญี่ปุ่นในแนวไวยากรณ์หน้าที่นิยมแบบลักษณ์ภาษา
Alternative Title(s)
A Study of Japanese Passive Construction in the Framework of Functional-Typological Grammar
Author(s)
Author’s Affiliation
Author's E-mail
Editor(s)
Editor’s Affiliation
Corresponding person(s)
Creator(s)
Compiler
Advisor(s)
Illustrator(s)
Applicant(s)
Inventor(s)
Issuer
Assignee
Other Contributor(s)
Series
Has Part
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หน้าที่และวากยสัมพันธ์ของหน่วยสร้างกรรมวาจกในภาษาญี่ปุ่นใน กรอบแนวคิดของไวยากรณ์หน้าที่นิยมแบบลักษณ์ภาษา โดยกีฟอน (Giv?n, 2001) ได้กำหนดคุณสมบัติของกรรมวาจกต้นแบบ ได้แก่ 1) การสลับใช้กับโครงสร้างกรรตุวาจก 2) การลดบทบาทผู้กระทำในกรรตุวาจก 3) การเลื่อนระดับผู้ที่ไม่ใช่ผู้กระทำในกรรตุวาจกเป็นประธาน และ 4) การกำกับกริยาหลักด้วยตัวบ่ง กรรมวาจก ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยเป็นหน่วยสร้างประโยค จำนวน 32,347 ประโยค จากงานเขียนภาษาญี่ปุ่นที่มีเนื้อหาเป็นเชิงวิชาการและไม่เป็นเชิงวิชาการ 10 ตัวบท โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบตามสะดวก ผลการวิจัยพบว่า
1. หน่วยสร้างกรรมวาจกมีหน้าที่เชิงวัจนปฏิบัติศาสตร์คือการลดบทบาทผู้กระทำ กรรมวาจกในภาษาญี่ปุ่นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 88.54) ลดบทบาทโดยไม่ปรากฏผู้กระทำ นอกนั้นผู้กระทำจะปรากฏเป็น กรรมอ้อมที่กำกับด้วยตัวบ่งการกผู้กระทำ -ni หรือตัวบ่งการกอื่น
2. ในงานเขียนภาษาญี่ปุ่นปรากฏใช้หน่วยสร้างกรรมวาจกในอัตราร้อยละ 8.63 จำแนกตามคุณสมบัติการเป็นกรรมวาจกต้นแบบและการปรากฏใช้ทั่วไปได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ กรรมวาจกต้นแบบ (ร้อยละ 91.34) และกรรมวาจกที่ลดความเป็นต้นแบบ (ร้อยละ 8.66)
3. หน่วยสร้างกรรมวาจกในภาษาญี่ปุ่นแบ่งตามโครงสร้างและวากยสัมพันธ์เป็น 5 ชนิด กล่าวคือ หน่วยสร้างกรรมวาจกต้นแบบ 1 ชนิด คือ กรรมวาจกเลื่อนกรรม -(r)are และหน่วยสร้างกรรมวาจกที่ลดความเป็นต้นแบบ 4 ชนิด ได้แก่ กรรมวาจกเลื่อนกรรม -temora(w) กรรมวาจกเลื่อนกรรมผู้รับโดยอ้อม -(r)are กรรมวาจกเลื่อนกรรมกริยาแปลงเป็นสภาวการณ์ -tea(r) และกรรมวาจกไม่เลื่อนประธานไร้ตัวตน
4. เมื่อพิจารณาแต่ละบริบทพบว่า ในงานเขียนที่มีเนื้อหาเป็นเชิงวิชาการปรากฏใช้หน่วยสร้าง กรรมวาจกต้นแบบ ร้อยละ 94.98 และที่ลดความเป็นต้นแบบ ร้อยละ 5.02 ขณะที่ในงานเขียนที่มีเนื้อหา ไม่เป็นเชิงวิชาการปรากฏใช้หน่วยสร้างกรรมวาจกต้นแบบ ร้อยละ 84.38 และที่ลดความเป็นต้นแบบ ร้อยละ 15.62