Publication: ความสำคัญของคัมภีร์อรรถกถาเถรวาทต่อการศึกษาพระไตรปิฎก
Submitted Date
Received Date
Accepted Date
Issued Date
2019
Copyright Date
Announcement No.
Application No.
Patent No.
Valid Date
Resource Type
Edition
Resource Version
Language
th
File Type
No. of Pages/File Size
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Scopus ID
WOS ID
Pubmed ID
arXiv ID
item.page.harrt.identifier.callno
Other identifier(s)
Journal Title
Volume
Issue
Edition
Start Page
End Page
Access Rights
Access Status
Rights
Rights Holder(s)
Physical Location
Bibliographic Citation
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Title
ความสำคัญของคัมภีร์อรรถกถาเถรวาทต่อการศึกษาพระไตรปิฎก
Alternative Title(s)
The Significance of Therava Significance of Therava Significance of Theravada Aṭṭhakathã in Studying the Tipi hakathã in Studying the Tipiṭaka
Author’s Affiliation
Author's E-mail
Editor(s)
Editor’s Affiliation
Corresponding person(s)
Creator(s)
Compiler
Advisor(s)
Illustrator(s)
Applicant(s)
Inventor(s)
Issuer
Assignee
Other Contributor(s)
Series
Has Part
Abstract
ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “ความสำคัญของคัมภีร์อรรถกถาเถรวาทต่อการศึกษาพระไตรปิฎก” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาวิเคราะห์กำเนิดและพัฒนาการของคัมภีร์อรรถกถาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักการและวิธีการอธิบายพระพุทธพจน์ของคัมภีร์อรรถกถาเถรวาท และ ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสำคัญของคัมภีร์อรรถกถาเถรวาทต่อการศึกษาพระไตรปิฎก ผลการวิจัยพบว่า อรรถกถาถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ยุคพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นพระอรรถกถาจารย์พระองค์แรก เพราะทรงเป็นพระศาสดาผู้ประกาศพระศาสนาของพระองค์และทรงอธิบายพระธรรมวินัยด้วยพระองค์เอง อรรถกถาที่ทรงแสดงด้วยพระองค์เองนี้เรียกว่า ปกิณกเทศนา เป็นคำอธิบายขยายความข้อปฏิบัติ หลักธรรม และเรื่องราวประกอบเนื้อความในพระไตรปิฎก ซึ่งในครั้งปฐมสังคายนา พระสังคีติกาจารย์ผู้ร้อยกรองพระธรรมวินัยไม่ได้สงเคราะห์ปกิณกเทศนานี้เข้าในพระไตรปิฎก เพราะถือว่าเป็นคำอธิบายปลีกย่อย แต่ท่านได้สังคายนาปกิณกเทศนานี้ต่างหาก โดยเรียกว่า มหาอรรถกถา โดยผนวกสาวกภาษิตเข้าไว้ด้วย เพื่อให้มหาอรรถกถาเป็นคำอธิบายพระไตรปิฎกอย่างบริบูรณ์ เพียบพร้อมด้วยพุทธภาษิตและสาวกภาษิต ต่อมาในยุคอภินวอรรถกถา พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายมีพระพุทธโฆสาจารย์เป็นต้นได้ปริวรรตและเรียบเรียงคัมภีร์อรรถกถาภาษาสิงหลเป็นภาษามคธ โดยใช้โบราณอรรถกถามีมหาอรรถกถาเป็นต้น เรียกชื่อว่า อภินวอรรถกถาซึ่งใช้ศึกษากันมาจนถึงปัจจุบัน โดยภาพรวม อรรถกถามีพัฒนาการเริ่มจากการทรงจำด้วยมุขปาฐะสู่การจารลงในใบลาน พิมพ์เป็นรูปเล่มหนังสือ จนกระทั่งบันทึกเป็นไฟล์อิเล็คทรอนิกส์ในปัจจุบัน อรรถกถาจำแนกได้ ๔ ประเภท คือ ๑) พุทธสังวัณณิตอรรถกถา อรรถกถาที่พระพุทธเจ้าทรงอธิบายด้วยพระองค์เอง ๒) อนุพุทธสังวัณณิตอรรถกถา อรรถกถาที่พระอนุพุทธสาวกอธิบายไว้ ๓) โบราณอรรถกถา คือพุทธสังวัณณิตอรรถกถาและอนุพุทธสังวัณณิตที่พระมหินทเถระนำไปสู่ลังกา และต่อมาพระเถระชาวสิงหลได้แปลเป็นภาษาสิงหล ๔) อภินวอรรถกถา หรืออรรถกถาใหม่ที่พระอรรถกถาจารย์มีพระพุทธโฆสาจารย์เป็นต้นปริวรรตและเรียบเรียงจากโบราณอรรถกถาภาษาสิงหลกลับเป็นภาษามคธ จากการศึกษาวิเคราะห์หลักการและวิธีการอธิบายพระพุทธพจน์ของอรรถกถาในด้านพยัญชนะ อรรถะและปกิณกะ และการใช้อรรถกถาศึกษาพระไตรปิฎกในด้านต่างๆ ได้แก่ การแปลหรืออธิบายความพระพุทธพจน์ การอธิบายข้อปฏิบัติและหลักธรรม การจัดหมวดหมู่คำสอนของพระพุทธเจ้า และการสืบค้นประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาอันเกี่ยวกับบุคคล สถานที่ และเหตุการณ์ต่างๆ พบว่า อรรถกถามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาพระไตรปิฎก เพราะเป็นคัมภีร์ที่ช่วยอธิบายรูปศัพทและความหมาย ขยายความหลักธรรมวินัย และเลาเรื่องราวประกอบ เพื่อให้เข้าใจเนื้อความในพระไตรปิฎกได้กว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้น
This dissertation entitled ‘The Significance of Theravada Aṭṭhakathã in Studying the Tipiṭaka’ has three objectives: 1) to study the origin and development of Theravada Aṭṭhakathã, 2) to study the principles and approaches used by Theravada Aṭṭhakathã in explaining the Lord Buddha’s words, and 3) to study the significance of Theravada Aṭṭhakathã in Studying the Tipiṭaka. The results are as follows: Aṭṭhakathã or Commentaries were originated by Lord Buddha as the first commentator. Because Lord Buddha explained his Dhamma himself. Upon revision of the Tipiṭaka, the exegesis was done to revise the other category of the Lord Buddha’s words together with the disciples’ proverbs as to the so-called Mahã-Aṭṭhakathã. In the Abhinava-Aṭṭhakathã era in Lanka, Buddhaghosa and other commentators transliterated the Sinhala Purãṇa-Aṭṭhakathã to Pali Abhinava-Aṭṭhakathã used until now. The Commentaries are categorized into four types: 1) Buddhasaṁvaṇṇita Aṭṭhakathã, 2) Anubuddhasaṁwaṇṇita Aṭṭhakathã, 3) Purãṇa-Aṭṭhakathã, and 4) Abhinava-Aṭṭhakathã. In this research, the researcher proposed the ways by which the commentators describe Lord Buddha’s words in Tipiṭaka, and the use of commentary as a guide to study the Lord Buddha’s words in various aspects such as translating or interpreting the Pãli texts, explaining the Dhamma principles, classifying the Pãli texts, and searching the history of Buddhism comcerningindividuals, places or events. Apparently, Aṭṭhakathãis significant to study the Tipiṭaka. Because it explains the vocabulary forms and meanings, the Dhamma and Discipline, and the stories to enhance the better understanding of the Lord Buddha’s words in Tipiṭaka.
This dissertation entitled ‘The Significance of Theravada Aṭṭhakathã in Studying the Tipiṭaka’ has three objectives: 1) to study the origin and development of Theravada Aṭṭhakathã, 2) to study the principles and approaches used by Theravada Aṭṭhakathã in explaining the Lord Buddha’s words, and 3) to study the significance of Theravada Aṭṭhakathã in Studying the Tipiṭaka. The results are as follows: Aṭṭhakathã or Commentaries were originated by Lord Buddha as the first commentator. Because Lord Buddha explained his Dhamma himself. Upon revision of the Tipiṭaka, the exegesis was done to revise the other category of the Lord Buddha’s words together with the disciples’ proverbs as to the so-called Mahã-Aṭṭhakathã. In the Abhinava-Aṭṭhakathã era in Lanka, Buddhaghosa and other commentators transliterated the Sinhala Purãṇa-Aṭṭhakathã to Pali Abhinava-Aṭṭhakathã used until now. The Commentaries are categorized into four types: 1) Buddhasaṁvaṇṇita Aṭṭhakathã, 2) Anubuddhasaṁwaṇṇita Aṭṭhakathã, 3) Purãṇa-Aṭṭhakathã, and 4) Abhinava-Aṭṭhakathã. In this research, the researcher proposed the ways by which the commentators describe Lord Buddha’s words in Tipiṭaka, and the use of commentary as a guide to study the Lord Buddha’s words in various aspects such as translating or interpreting the Pãli texts, explaining the Dhamma principles, classifying the Pãli texts, and searching the history of Buddhism comcerningindividuals, places or events. Apparently, Aṭṭhakathãis significant to study the Tipiṭaka. Because it explains the vocabulary forms and meanings, the Dhamma and Discipline, and the stories to enhance the better understanding of the Lord Buddha’s words in Tipiṭaka.
Table of contents
Description
Sponsorship
Degree Name
พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Department
คณะพุทธศาสตร์
Degree Discipline
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย