Publication: การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Submitted Date
Received Date
Accepted Date
Issued Date
2020
Copyright Date
Announcement No.
Application No.
Patent No.
Valid Date
Resource Type
Edition
Resource Version
Language
th
File Type
No. of Pages/File Size
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Scopus ID
WOS ID
Pubmed ID
arXiv ID
item.page.harrt.identifier.callno
Other identifier(s)
Journal Title
วารสารวิจัยรำไพพรรณี
Rajabhat Rambhai Barni Research Journal
Rajabhat Rambhai Barni Research Journal
Volume
14
Issue
3
Edition
Start Page
175
End Page
185
Access Rights
Access Status
Rights
Rights Holder(s)
Physical Location
Bibliographic Citation
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Title
การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Alternative Title(s)
The Curriculum Evaluation on Bachelor of Arts Program in Japanese, Faculty of Humanities and Social Sciences, Burapha University
Author(s)
Author’s Affiliation
Author's E-mail
Editor(s)
Editor’s Affiliation
Corresponding person(s)
Creator(s)
Compiler
Advisor(s)
Illustrator(s)
Applicant(s)
Inventor(s)
Issuer
Assignee
Other Contributor(s)
Series
Has Part
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น พ.ศ.2559 และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP) ของสตัฟเฟิลบีม ใน 4 ด้านคือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ ได้แก่ บัณฑิต นักศึกษาปัจจุบัน ผู้ใช้บัณฑิต อาจารย์ จำนวน 84 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลในปี พ.ศ. 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความพึงพอใจออนไลน์สำหรับผู้ใช้บัณฑิต (α = .96) และแบบประเมินสำหรับอาจารย์ บัณฑิต นิสิตปัจจุบัน (α = .98) ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านบริบท วัตถุประสงค์ โครงสร้าง เนื้อหาวิชาของหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก แต่มีข้อเสนอแนะว่าควรปรับปรุงเนื้อหาบางรายวิชา ควรรวบรายวิชาที่มีเนื้อหาทับซ้อนกัน และควรเพิ่มรายวิชาฝึกงาน/วิชาที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ 2) ด้านปัจจัยนำเข้า คุณสมบัติผู้เรียนและกระบวนการคัดเลือกมีความเหมาะสม อาจารย์ผู้สอนมีคุณสมบัติเหมาะสมอยู่ในระดับมาก รวมถึงสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ วัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกมีความเหมาะสมเพียงพอ 3) ด้านกระบวนการ กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่า การจัดการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผลมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 4) ด้านผลผลิต ผู้ใช้บัณฑิตมีความคิดเห็นว่า งานที่บัณฑิตปฏิบัติอยู่ตรงกับสาขาวิชาที่สำเร็จการการศึกษาคิดเป็นร้อยละ100 และมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานและคุณลักษณะของบัณฑิตโดยรวมอยู่ในระดับมาก แต่ก็มีข้อเสนอแนะว่า ควรมีโครงการความร่วมมือกับหน่วยงานเอกชนในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และทักษะให้กับผู้เรียนก่อนเข้าทำงานจริง แนวทางในการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรที่จำเป็นครั้งต่อไปพบว่า ควรปรับลดรายวิชาที่มีเนื้อหาทับซ้อนกันและให้มีความทันสมัย ปรับเพิ่มรายวิชาที่มุ่งเน้นการฝึกงานหรือการบูรณาการข้ามศาสตร์ และการจัดการเรียนการสอนที่กระตุ้นนิสิตให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น เป็นต้น