Publication: คำเรียกขานในภาษาจีนแต้จิ๋วที่ใช้โดยคนไทยเชื้อสายจีนในเยาวราช
dc.contributor.author | สุดา หัสสภาณุ | |
dc.contributor.author | Suda Hassaphanu | en |
dc.date.accessioned | 2023-12-16T14:45:43Z | |
dc.date.available | 2023-12-16T14:45:43Z | |
dc.date.issued | 2002 | |
dc.date.issuedBE | 2545 | |
dc.description.abstract | วิเคราะห์รูปแบบของคำเรียกขานในภาษาจีนแต้จิ๋ว ที่ใช้โดยคนไทยเชื้อสายจีนในเยาวราช และศึกษาอิทธิพลของความสัมพันธ์แบบต่างๆ ระหว่างผู้พูดผู้ฟังที่มีต่อการใช้คำเรียกขาน รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบของคำเรียกขานกับอายุของผู้พูด ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยวิธีการสังเกต การสนทนาของคนไทยเชื้อสายจีนในเยาวราช ผู้วิจัยพบว่าคำเรียกขานในภาษาจีนแต้จิ๋วประกอบด้วยส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ ส่วนแรกที่อาจปรากฏหรือไม่ปรากฏก็ได้ ได้แก่ คำนำหน้า คือ /?a:/ อีกส่วนเป็นส่วนที่ต้องมีเสมอ ได้แก่ สรรพนาม คำเรียกญาติ อาชีพ/ตำแหน่ง หรือ ชื่อ รูปแบบคำเรียกขานที่พบมี 13 รูปแบบ เป็นรูปแบบที่ไม่มี /?a:/ ปรากฏเป็นส่วนประกอบนำหน้า 7 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบเดี่ยวดังที่กล่าวแล้ว 4 รูปแบบ และรูปแบบผสม 3 รูปแบบคือ สรรพนาม+ชื่อ คำเรียกญาติ+ชื่อ และ อาชีพ/ตำแหน่ง+ชื่อ ที่เหลือเป็นรูปแบบผสมที่มี /?a:/ ปรากฏเป็นส่วนประกอบนำหน้าอีก 6 รูปแบบ ทั้งนี้ไม่พบ /?a:/ ปรากฏนำหน้า อาชีพ/ตำแหน่ง+ชื่อ จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง 3 แบบ ได้แก่ ความสัมพันธ์แบบสมดุล แบบไม่สมดุล และแบบเป็นกลางพบว่า คำเรียกญาติ ใช้เป็นคำเรียกขานมากที่สุดในความสัมพันธ์แบบไม่สมดุล (ระหว่างญาติผู้ใหญ่กับญาติผู้น้อย) และในความสัมพันธ์แบบเป็นกลาง (ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ) สำหรับในความสัมพันธ์แบบสมดุล (ระหว่างเพื่อนกับเพื่อน) ชื่อ เป็นคำเรียกขานที่ใช้มากที่สุด รองลงมาคือ คำเรียกญาติ ผู้วิจัยสรุปว่าการใช้คำเรียกขานดังกล่าว มีความเคารพและความสนิทสนมเป็นปัจจัยกำหนด กล่าวคือ หากผู้พูดรู้สึกสนิทสนมกับผู้ฟังมากจะใช้ ชื่อ เป็นคำเรียกขาน แต่ถ้าผู้พูดรู้สึกเคารพผู้ฟังมากจะใช้ คำเรียกญาติ เป็นคำเรียกขาน จากการศึกษาการใช้คำเรียกขานตามอายุของผู้พูดทำให้เห็นว่า แนวโน้มการใช้รูปแบบคำเรียกขานที่มีคำนำหน้า /?a:/ เป็นส่วนประกอบมีจำนวนลดลงในผู้พูดอายุน้อย แสดงว่าผู้พูดอายุน้อยให้ความสำคัญกับการใช้ คำนำหน้า ลดน้อยลง สำหรับเรื่องอิทธิพลของภาษาไทยที่มีต่อภาษาจีนแต้จิ๋ว ผู้วิจัยพบว่าการใช้คำเรียกขานในผู้พูดอายุน้อย ได้รับอิทธิพลจากภาษาไทยมากกว่าการใช้คำเรียกขานในผู้พูดอายุมาก ซึ่งแสดงออกโดยการรับรูปแบบคำเรียกขานไทยเข้ามาใช้ เช่น สรรพนาม และ สรรพนาม+ชื่อ | |
dc.description.abstract | To analyse the forms of address in Teochiu used by Sino-Thais in Yaowarat and study the influence of the relationship between the speaker and the addressee and the age of the speaker on the use of the address terms. The data were collected by observing conversations among Sino-Thais in Yaowarat. I found that an address term in Teochiu consists of two parts. The first part is the particle /?a:/, which is optional. The other part is pronominal, kinship term, occupation/title or name, which is obligatory. The analysis shows that there are 13 forms of address in Teochiu; seven of them do not have the particle /?a:/ : pronominal, kinship term, occupation/title, name, pronominal+name, kinship term+name and occupation/title+name. The rest are forms that contain the pratical /?a:/. However, the form occupation+name is not found to coccur with /?a:/ Concerning the use of address terms according to the relationship between the speaker and the addressee, I concentrated on the reciprocal, non-reciprocal and neutral relationships and found that the kinship term is used most in non-reciprocal relationship (between elder relatives and younger relatives) and in neutral relationship (between the seller and the customer). In reciprocal relationship (between friends), the name is used most, the second is the kinship term. I conclude that respect and intimacy are factors that control the choice of address terms. If the speaker feels respect to the addressee, he/she will use a kinship term. If he/she feels intimate with the addressee, he/she will use a name. Regarding the use of address terms according to the age of the speaker, I found that the forms of address containing the partical /?a:/ tend to decrease because they occur less frequently in the younger group's speech than the older group's. As for the influence of Thai on Teochiu, I found that the address terms used by the younger speaker are affected by Thai more than those used by the older speaker. The influence can be seen in the adoption of Thai forms of address, such as the pronoun /khun/ and /khun/+name | en |
dc.identifier.uri | https://harrt.in.th/handle/123456789/9167 | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.publisher.place | กรุงเทพมหานคร | |
dc.subject | Address Terms | |
dc.subject | Kinship Terms | |
dc.subject | Pronominals | |
dc.subject | Teochiu | |
dc.subject.contentCoverage | NAN - แต้จิ๋ว | |
dc.subject.isced | 0232 วรรณคดีและภาษาศาสตร์ | |
dc.subject.oecd | 6.2 ภาษาและวรรณคดี | |
dc.title | คำเรียกขานในภาษาจีนแต้จิ๋วที่ใช้โดยคนไทยเชื้อสายจีนในเยาวราช | |
dc.title.alternative | Address terms in Teochiu used by Sino-Thais in Yaowarat | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท (Master Thesis) | |
dspace.entity.type | Publication | |
harrt.itemID | 611 | |
harrt.researchArea | ภาษาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Linguistics) | |
harrt.researchGroup | ภาษาศาสตร์ | |
harrt.researchTheme.1 | ภาษาศาสตร์สังคม (Sociolinguistics) | |
harrt.researchTheme.2 | วัจนปฏิบัติศาสตร์/ปริจเฉทวิเคราะห์/วาทกรรมวิเคราะห์ (Pragmatics/Discourse analysis) | |
mods.location.url | https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=107662 | |
thesis.degree.department | คณะอักษรศาสตร์ | |
thesis.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |