Publication:
ภาษาไทย การสังเคราะห์ความแตกต่างทางแนวคิดในเรื่องความจริงสูงสุดทางศาสนาระหว่างคริสต์และพุทธให้เป็นหนึ่งเดียว: บทสนทนาระหว่าง “โพธิจิต” กับ “พระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์” ของพระผู้เป็นเจ้า

dc.contributor.authorนิพนธ์ ศศิภานุเดช
dc.contributor.authorNipon Sasipanudejen
dc.date.accessioned2023-12-16T06:40:20Z
dc.date.available2023-12-16T06:40:20Z
dc.date.issued2021
dc.date.issuedBE2564
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีเป้าประสงค์ 3 ประการ ประการแรก คือ เพื่อที่จะสร้างบทสนทนาในรูปแบบบทละครขนาดสั้นในส่วนแรก และส่วนที่เหลือทั้งหมดของบทความจะเป็นอรรถาธิบายถึงบทสนทนาดังกล่าวผ่านข้อเขียนทางปรัชญา ทั้งนี้ ก็เพื่อท้าทายรูปแบบการเขียนงานวิจัยแบบจารีต และเราสามารถใช้ตรรกะอันเรียบง่ายจากบทละครแสดงข้อธรรมจาก พระคัมภีร์ ได้อันจะเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งที่ทำให้ภราดาทั้งหลายสามารถตอบข้อโต้แย้งของผู้เรียนในดินแดนพุทธได้เช่นกัน ประการต่อมา คือ ผู้เขียนจะสังเคราะห์ความไม่ลงรอยกันระหว่างพุทธปรัชญากับคริสต์วิทยาให้เป็นหนึ่งเดียวซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่ท้าทายที่สุดในบทความชิ้นนี้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางของคำว่า “คาทอลิก” อันมีรากศัพท์ละตินมาจากคำว่า “catholicus” ซึ่งแปลว่า “เป็นสากล” (universal) หรือ “ทำให้เป็นหนึ่งเดียว” (universalize) ที่มีนัยว่า ภายใต้ความแตกต่างหลากหลายทางอุดมการณ์นี้ เราชาวคาทอลิกจะหลอมรวมมันให้หนึ่งเดียวภายใต้ร่มเงาของพระคริสต์ ประการสุดท้าย ผู้เขียนจะเทียบเคียงศักยภาวะแห่ง “โพธิจิต” (菩提心) หรือ “พุทธจิต” (佛性) ในมหายานปรัชญากับคริสต์ปรัชญาผ่านแนวคิดว่าด้วย “พระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์” (the Holy Spirit) ของพระผู้เป็นเจ้าที่ปรากฏผ่าน “เจตจำนงเสรี” (free will) ของมนุษย์ และกลายเป็น “เสรีภาพ” ของมนุษย์เอง ศาสนิกชนของทั้งสองศาสนาต่างบรรลุได้ก็เป็นเพราะว่า “โพธิจิต” และ “พระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์” ที่พระยาห์เวห์ประทานมาให้ล้วนเป็นความรู้ก่อนประสบการณ์ของเรา (a priori knowledge) นั่นเอง ผู้เขียนยังจะแสดงให้เห็นด้วยว่า “พระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์” ของพระผู้เป็นเจ้าที่ปรากฏผ่าน “เจตจำนงเสรี” ของมนุษย์เป็นประโยชน์ต่อการสอน พระคริสตธรรมคัมภีร์ ในแนวใหม่ซึ่งมักจะถูกละเลยไปในสังคมไทย เพราะเหล่าภราดาทั้งหลายต่างหมกมุ่นอยู่กับเรื่องเล่าเชิงปกรณัมใน พระคัมภีร์ มากกว่าข้อคิดของอรรถกถาจารย์ในยุคกลาง 3 ท่าน ได้แก่ นักบุญออกัสติน (Saint Augustine 354-430) นักบุญโทมัส อไควนัส (Saint Thomas Aquinas ประมาณ 1225-7 ถึง 1274) และจอห์น ดันส์ สโคตุส (John Duns Scotus ประมาณ 1265-68 ถึง 1308) ทั้งนี้ ก็เพื่อชี้ให้เห็นว่า คริสต์ศาสนาไม่ใช่ศาสนาที่จะเข้าถึงผ่านศรัทธาอย่างง่าย ๆ เท่านั้น แต่คือการประจักษ์และหยั่งรู้ในเหตุผลนิยมของตัวเราเองซึ่งเป็นหนึ่งเดียวกับเสรีภาพที่พระผู้เป็นเจ้าประทานมาให้
dc.description.abstractThis research has three primary aims: (1) to construct a short dialogue in dramatic form in the first part, and the rest of the entire article is to elaborate the ideas represented through the dramatized conversation in order to defy the traditional composition on philosophy. We are able to utilize a simple form of dialogism in drama to demonstrate scriptural meanings in the Holy Bible, as well as in sutras, as a means to respond to the refutations by Thai learners. (2) to syncretize doctrinally the disparity between Buddhism and Christianity, which shall be considered as the most challenging part of the article. This part, above all, intends to serve the absolute purpose of “catholicus” as a concept of “World Religion” by virtue of “unifying or“universalizing” diverse forms of religious ideology under the Grace of the Christ. (3) to make an analogous contrast between “Bodhisattva mind” (菩提心) or “Buddha-nature (佛性) in Mahayana Buddhism, and “the Holy Spirit” of God, represented in the form of “free will as a “liberty” of human beings. Both “Bodhisattva mind” and “the Holy Spirit” endowed by God are innate nature, and become a priori knowledge of human beings. Moreover, I will demonstrate that “the Holy Spirit” by God represented in man’s freewill is useful for evangelical mission in a new way neglected by Thai ministers who are always preoccupied by the mythological narratives in the Holy Bible, rather than the philosophical exegeses by the three medieval scholars: Saint Augustine (354-430), Saint Thomas Aquinas (c.1225/7 -1274), and John Duns Scotus (c.265/68 -1308). These exegeses incorporated in my article testify that Christianity is not simply a religion accessible by Sola Fide or “Faith Alone,” but also a full realization of one’s own rationalism as a priori, justified by liberty bestowed by God.en
dc.identifier.urihttps://harrt.in.th/handle/123456789/4930
dc.language.isoth
dc.subjectพุทธปรัชญาและคริสต์วิทยา
dc.subjectโพธิจิต
dc.subjectพระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์
dc.subjectIdeo-Syncretism
dc.subjectChristianity And Buddhism
dc.subjectBodhisattva
dc.subjectMind Holy Spirit
dc.subjectSaint Augustine
dc.subjectSaint Thomas Aquinas
dc.subjectJohn Duns Scotus
dc.subject.isced0223 ปรัชญาและจริยธรรม
dc.subject.oecd6.3 ปรัชญา จริยธรรมและศาสนา
dc.titleภาษาไทย การสังเคราะห์ความแตกต่างทางแนวคิดในเรื่องความจริงสูงสุดทางศาสนาระหว่างคริสต์และพุทธให้เป็นหนึ่งเดียว: บทสนทนาระหว่าง “โพธิจิต” กับ “พระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์” ของพระผู้เป็นเจ้า
dc.title.alternativeIdeo-syncretism of Absolute Truth in Christianity and Buddhism: A Dialogue between “Bodhisattva Mind” and the “Holy Spirit” by Goden
dc.typeบทความวารสาร (Journal Article)
dspace.entity.typePublication
harrt.itemID699
harrt.researchAreaปรัชญา - อื่นๆ
harrt.researchGroupปรัชญา
harrt.researchTheme.1ปรัชญาศาสนา
harrt.researchTheme.2ปรัชญาเปรียบเทียบ
mods.location.urlhttps://so04.tci-thaijo.org/index.php/parst/article/view/254722
oaire.citation.endPage130
oaire.citation.issue1
oaire.citation.startPage78
oaire.citation.titleสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย
oaire.citation.titleThe Journal of the Philosophy and Religion Society of Thailanden
oaire.citation.volume16
Files