Publication: อาชีพสำหรับนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นและความพร้อมในการเข้าสู่อาชีพ
Submitted Date
Received Date
Accepted Date
Issued Date
2018
Copyright Date
Announcement No.
Application No.
Patent No.
Valid Date
Resource Type
Edition
Resource Version
Language
th
File Type
No. of Pages/File Size
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Scopus ID
WOS ID
Pubmed ID
arXiv ID
item.page.harrt.identifier.callno
Other identifier(s)
Journal Title
วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา
JSN Journal
JSN Journal
Volume
8
Issue
1
Edition
Start Page
219
End Page
233
Access Rights
Access Status
Rights
Rights Holder(s)
Physical Location
Bibliographic Citation
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Title
อาชีพสำหรับนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นและความพร้อมในการเข้าสู่อาชีพ
Alternative Title(s)
Careers for Japanese Majors and Career Readiness:
Author’s Affiliation
Author's E-mail
Editor(s)
Editor’s Affiliation
Corresponding person(s)
Creator(s)
Compiler
Advisor(s)
Illustrator(s)
Applicant(s)
Inventor(s)
Issuer
Assignee
Other Contributor(s)
Series
Has Part
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวโน้มอาชีพของนักศึกษาเอกวิชาภาษาญี่ปุ่น และ2) เพื่อศึกษาความพร้อมในการเข้าสู่อาชีพของผู้ที่เรียนภาษาญี่ปุ่น วิธีวิจัยสำหรับการศึกษาสภาพปัจจุบันเป็นการวิจัยค้นคว้าจากเอกสาร และการศึกษาความพร้อมในการเข้าสู่อาชีพของนักศึกษาใช้การวิจัยเชิงสำรวจผ่านการทำกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ 2 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรม“อนาคตของฉันวันข้างหน้า” 2) กิจกรรม “ประวัติส่วนตัวเพื่อการวางแผนเส้นทางอาชีพ” กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี วิชาเอกสาขาภาษาญี่ปุ่นชั้นปีที่ 1 และ 2 จำนวน 74 คนในมหาวิทยาลัยของรัฐ วิเคราะห์และประมวลผลการศึกษาโดยใช้ข้อมูลจากเอกสาร การสังเกต สอบถามความเห็น และสรุปผลเชิงพรรณนาโวหาร ผลการศึกษาพบว่ามีความต้องการผู้รู้ภาษาญี่ปุ่นในประเทศญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้นจากภาวะสังคมสูงวัยและนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นที่เปิดรับแรงงานต่างชาติ อาชีพที่ผู้รู้ภาษาญี่ปุ่นชาวต่างชาติทำ 3 ลำดับแรกคือ นักแปลและล่าม พนักงานขายและการตลาด และ ผู้ประสานงานต่างประเทศ และทักษะที่จำเป็น 3 ลำดับแรกสำหรับนักศึกษาสายศิลป์ คือ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการใช้ภาษาญี่ปุ่นและความร่วมมือ สำหรับความพร้อมในการเข้าสู่อาชีพนั้น ในกิจกรรม “อนาคตของฉันวันข้างหน้า” กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 55 ต้องการทำงานเพื่อให้สามารถมีโอกาสไปทำงานอดิเรกหรือสิ่งที่ชอบ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการวางแผนปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมชัดเจนเพื่อไปสู่ความสำเร็จในจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ สำหรับกิจกรรม “ประวัติส่วนตัวเพื่อการวางแผนเส้นทางอาชีพ” พบว่า นักศึกษาเข้าใจความต้องการของตนเองแต่ยังไม่สามารถวิเคราะห์จุดแข็งของตนเองที่เชื่อมโยงสู่เส้นทางอาชีพและยังไม่มีแผนพัฒนาตนเองว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อไปสู่เส้นทางอาชีพที่ต้องการ กล่าวคือ ความต้องการของตลาดแรงงานกับความคาดหวังของนักศึกษาผู้รู้ภาษาญี่ปุนไม่ตรงกัน ดังนั้นในการผลิตบัณฑิต ผู้สอนจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้นักศึกษารู้จักตนเองมากยิ่งขึ้นและพัฒนากระบวนการทางความคิด (mindset) ของผู้เรียนผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลพูดคุยกับผู้อื่น และมีการวางแผนปฏิบัติเชิงรุกที่สอดคล้องกับเป้าหมาย เพื่อให้การศึกษาสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานได้อย่างแท้จริง