Publication: การออกเสียงพยัญชนะภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนชาวไทย ที่พูดภาษามลายูถิ่นปาตานีเป็นภาษาแม่
Submitted Date
Received Date
Accepted Date
Issued Date
2017
Copyright Date
Announcement No.
Application No.
Patent No.
Valid Date
Resource Type
Edition
Resource Version
Language
th
File Type
No. of Pages/File Size
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Scopus ID
WOS ID
Pubmed ID
arXiv ID
item.page.harrt.identifier.callno
Other identifier(s)
Journal Title
วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Journal of Humanities and Social Sciences
Journal of Humanities and Social Sciences
Volume
13
Issue
1
Edition
Start Page
103
End Page
134
Access Rights
Access Status
Rights
Rights Holder(s)
Physical Location
Bibliographic Citation
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Title
การออกเสียงพยัญชนะภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนชาวไทย ที่พูดภาษามลายูถิ่นปาตานีเป็นภาษาแม่
Alternative Title(s)
Pronunciation of Japanese Consonants by Thai Learners Who Speak Patani Malay bs their Mother Tongue
Author(s)
Author’s Affiliation
Author's E-mail
Editor(s)
Editor’s Affiliation
Corresponding person(s)
Creator(s)
Compiler
Advisor(s)
Illustrator(s)
Applicant(s)
Inventor(s)
Issuer
Assignee
Other Contributor(s)
Series
Has Part
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของเสียงพยัญชนะภาษามลายูถิ่นปาตานีที่มีต่อการออกเสียงพยัญชนะภาษาญี่ปุ่น รวมถึงศึกษาปัญหาการออกเสียงพยัญชนะภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนชาวไทยที่พูดภาษามลายูถิ่นปาตานีเป็นภาษาแม่
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยที่พูดภาษามลายูถิ่นปาตานีเป็นภาษาแม่จำนวน 25 คน จาก 3 สถาบันในจังหวัดปัตตานี ได้แก่ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ โรงเรียนเดชะปัตนยานุกูลและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษา พร้อมทั้งใช้แบบทดสอบการออกเสียงพยัญชนะ ที่มีปรากฏในคำศัพท์ 93 คำ ซึ่งผู้วิจัยเลือกเสียงพยัญชนะภาษาญี่ปุ่นที่มักเป็นปัญหาสำหรับผู้เรียนชาวไทย แบ่งเป็น เสียงพยัญชนะเดี่ยว 9 เสียง ได้แก่ [ʃ] [tʃ] [ts] [ç] [ɸ][g] [z] [ʒ] [] เสียงพยัญชนะควบ 11 เสียง ได้แก่ [kj] [gj] [ʃ] [] [tʃ] [ɲ] [ç] [bj] [pj] [mj] [j]
ผลการวิเคราะห์เสียงพยัญชนะเดี่ยว พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สามารถออกเสียง [ʃ] [g] [z]. ได้สันนิษฐานว่า อาจเกิดจากอิทธิพลเชิงบวกของภาษาแม่ที่ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างสามารถออกเสียงพยัญชนะภาษาญี่ปุ่นได้โดยง่าย อย่างไรก็ตาม แม้จะมีปรากฏเสียง [ʃ] [g] [z] ในระบบเสียงภาษาแม่ แต่ก็ยังพบว่ามีกลุ่มตัวอย่างที่ไม่สามารถออกเสียงดังกล่าวได้ สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากอิทธิพลเสียงภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาที่สองของกลุ่มตัวอย่าง ทำให้ไม่สามารถออกเสียงได้หรือออกเสียงผิดเพี้ยนไป
ส่วนเสียงพยัญชนะเดี่ยวที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่สามารถ ออกเสียงได้ คือ [tʃ] [ts] [ç] [ɸ] [] [ʒ] สันนิษฐานว่า อาจเกิดจากเสียงดังกล่าวไม่มีปรากฏในระบบเสียงภาษาแม่ ทำให้กลุ่มตัวอย่างออกเสียงใกล้เคียงซึ่งปรากฏในภาษาแม่แทน เช่น [s] แทน [ts], [h] แทน [ç], [f] แทน [ɸ] เป็นต้น
ผลการวิเคราะห์เสียงพยัญชนะควบ พบว่า แม้ในระบบเสียงภาษามลายูถิ่นปาตานีจะไม่ปรากฏเสียงพยัญชนะควบเหมือนภาษาญี่ปุ่น แต่เสียงควบบางเสียงกลุ่มตัวอย่างสามารถออกเสียงได้ดี ได้แก่ [kj] [gj] [ʃ][bj] [pj] [mj] สันนิษฐานว่า การออกเสียงดังกล่าวน่าจะได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับพร้อมทั้งเสียงตัวอักษรตัวแรกของพยางค์มีปรากฏในภาษามลายูถิ่นปาตานี ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างสามารถออกเสียงควบเหล่านี้ได้ ในขณะเดียวกัน พบว่ามีเสียงพยัญชนะควบที่ปรากฏในระบบเสียงภาษามลายูถิ่นปาตานี แต่กลุ่มตัวอย่างออกเสียงได้น้อย ได้แก่ เสียง [ɲ] ซึ่งคาดว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับอิทธิพลภาษาแม่ แต่อาจเกิดจากตัวผู้สอนซึ่งไม่ได้อธิบายเกี่ยวกับวิธีการออกเสียงพยัญชนะควบอย่างละเอียดให้ผู้เรียนทราบ
ส่วนเสียงพยัญชนะควบภาษาญี่ปุ่นที่กลุ่มตัวอย่างไม่สามารถออกเสียงได้หรือออกเสียงได้น้อย ผู้วิจัยสันนิษฐานว่า อาจเกิดจากเสียงของตัวอักษรแรกในพยางค์ไม่ปรากฏในระบบเสียงภาษามลายูถิ่นปาตานี ส่งผลให้ผู้เรียนออกเสียงได้ยากและออกเสียงใกล้เคียง ซึ่งปรากฏในภาษาแม่แทน ได้แก่ [ʒ] [tʃ] [ç] [j] และจากผลดังกล่าว พบว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับผลการทดสอบการออกเสียงพยัญชนะเดี่ยว กล่าวคือ ถ้าเสียงพยัญชนะเดี่ยวที่กลุ่มตัวอย่างออกเสียงไม่ได้ปรากฏเป็นเสียงแรกในพยางค์ของเสียงพยัญชนะควบก็จะส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างออกเสียงพยัญชนะควบนั้นไม่ได้ด้วย
นอกจากนี้ ยังพบว่า เสียงภาษาที่สอง (ในงานวิจัยชิ้นนี้ คือ ภาษาไทย) และวิธีการสอนของผู้สอนก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สามารถส่งผลต่อการออกเสียงพยัญชนะภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนได้ด้วยเช่นกัน