Publication: ปเหฬีในคำว่า “อกตัญญู” ที่ควรรู้
Submitted Date
Received Date
Accepted Date
Issued Date
2018
Copyright Date
Announcement No.
Application No.
Patent No.
Valid Date
Resource Type
Edition
Resource Version
Language
th
File Type
No. of Pages/File Size
ISBN
ISSN
2651-0820
eISSN
DOI
Scopus ID
WOS ID
Pubmed ID
arXiv ID
item.page.harrt.identifier.callno
Other identifier(s)
Journal Title
วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์
Volume
4
Issue
2
Edition
Start Page
271
End Page
283
Access Rights
Access Status
Rights
Rights Holder(s)
Physical Location
Bibliographic Citation
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Title
ปเหฬีในคำว่า “อกตัญญู” ที่ควรรู้
Alternative Title(s)
Author(s)
Author’s Affiliation
Author's E-mail
Editor(s)
Editor’s Affiliation
Corresponding person(s)
Creator(s)
Compiler
Advisor(s)
Illustrator(s)
Applicant(s)
Inventor(s)
Issuer
Assignee
Other Contributor(s)
Series
Has Part
Abstract
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความหมายอีกด้านหนึ่งของคำว่า “อกตัญญู” อันเป็นคำในภาษาบาลีที่บรรพชิตผู้เป็นศาสนทายาทและพุทธศาสนิกชนคนทั่วไปควรรู้ เพราะบางคำไม่ได้มีประเด็นในแง่ลบหรือบวกอย่างเดียว แต่สามารถนำปรับให้เข้ากับคุณสมบัติของจิตเพื่อให้รู้ความเป็นจริงและฝึกฝนจิตให้พัฒนาสูงขึ้นจนรู้แจ้งสัจธรรมได้ ภาษาถือเป็นเครื่องมือการสื่อสารที่คนจะต้องเรียนรู้ ซึ่งประเด็นสำคัญคือต้องตระหนักว่าภาษานั้นเป็นเพียงเครื่องมือสื่อให้เข้าใจถึงความจริงและความประสงค์ที่ผู้ใช้ต้องการสื่อสารเท่านั้น โดยเฉพาะภาษาบาลีอันเป็นภาษารักษาพระพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ประกาศคำสอนที่เป็นแนวทางในการปฏิบัติให้เข้าถึงความจริงอันเป็นผลลัพธ์ คือ มรรค ผล และพระนิพพาน ดังนั้น ผู้จะอนุรักษ์สืบทอดคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้องนั้น ต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักภาษาบาลีอย่างแตกฉาน เพราะคำศัพท์ภาษาบาลีมีความหลากหลายทั้งด้านความหมายและคำศัพท์ที่ใช้ จำเป็นต้องมีกลุ่มคัมภีร์ที่เป็นเครื่องมือในการศึกษาบาลีพระไตรปิฎกอย่างกลุ่มคัมภีร์สัททาวิเสสที่จะช่วยในการกำหนดความหมายของคำศัพท์ในเนื้อความนั้น ๆ ได้อย่างถูกต้อง บทบาลีพระไตรปิฎกที่นำมาเป็นกรณีตัวอย่างคือ คำว่า อกตญฺญู ซึ่งเป็นคำปเหฬี มีความหมายที่คนทั่วไปรู้ว่า “คนไม่รู้บุญคุณคนที่ทำให้ก่อน” แต่มีความหมายอีกอย่างที่ซ่อนอยู่คือ “ผู้รู้พระนิพพาน” ซึ่งความหมายเป็นคนละด้าน ผู้ชำนาญบาลีต้องดูที่บริบทของคำว่าอยู่ในลักษณะใด เมื่อเข้าใจดังนี้ย่อมนำไปสู่ความสนใจของพุทธศาสนิกชนและประชาชนทั่วไปในการศึกษาค้นคว้าภาษาบาลีในระดับสูงขึ้นไปและถือเป็นการพัฒนาจิตไปในตัวด้วย