Publication:
การศึกษาเปรียบเทียบคำนามในคำภีร์ปทรูปสิทธิและลฆุสิทธานตเกามุที

dc.contributor.authorพระมหาโกมล แก้วดึง
dc.contributor.authorKaeodueng, Phramaha Komonen
dc.date.accessioned2023-12-15T10:07:28Z
dc.date.available2023-12-15T10:07:28Z
dc.date.issued2005
dc.date.issuedBE2548
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาคำนาม (ส. = ปฺราติปทิก) ในคัมภีร์ปทรูปสิทธิและลฆุสิทธานตเกามุที โดยศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบการนำเสนอ วิธีการสร้างคำ และส่วนประกอบของคำนาม มี ลิงค์ วจนะ วิภัตติ (ส. = วิภกฺติ) การันต์ (ส. = การานฺต) และปัจจัย (ส. = ปฺรตฺยย) แล้วนำมาเปรียบเทียบเพื่อช่วยให้ศึกษาไวยากรณ์แบบดั้งเดิมได้ง่ายขึ้น ผลการวิจัยพบว่า 1. คัมภีร์ปทรูปสิทธิแต่งโดยพระพุทธัปปิยเถระ ชาวอินเดียตอนใต้ ราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 ส่วนคัมภีร์ลฆุสิทธานตเกามุลี แต่งโดยวรทราชะ ศิษย์ของภัฎโฏชิทึกษิต ราวพุทธศตวรรษที่ 11 2. แม้ว่า คัมภีร์ปทรูปสิทธิ จะดำเนินตามวิธีของสูตรไวยากรณ์ ตามที่ปรากฏในคัมภีร์ลฆุสิทธานตเกามุที เท่าที่ได้ศึกษาในการสร้างคำนาม ดูเหมือนว่า คัมภีร์ปทรูปสิทธิ ไม่ได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์ลฆุสิทธานตเกามุที มีการใช้ชื่อเรียกเฉพาะทางไวยากรณ์ที่ต่างกันหลายแห่ง วิภัตติสำหรับแจกคำนามในคัมภีร์ปทรูปสิทธิก็ลดน้อยลงกว่าที่มีอยู่เดิม เนื่องจากทวิวจนะในภาษาบาลีไม่มี คำนามที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะในภาษาสันสกฤตทั้งหมดถูกเปลี่ยนเป็นคำนามที่ลงท้ายด้วยสระในภาษาบาลี 3. ค่อนข้างจะแน่นอนว่า คัมภีร์ปทรูปสิทธิ ไม่ได้ดำเนินตามประเพณีทางไวยากรณ์ที่ปาณินินักไวยากรณ์ผู้ยิ่งใหญ่ได้วางไว้อย่างเคร่งครัด แต่จะดำเนินตามคัมภีร์ทางไวยากรณ์สันสกฤตเล่มอื่น ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าต่อไป
dc.description.abstractThe purpose of this thesis is to make a comparative study of the words in the noun-category as appeared in the Padarupasiddhi in Pali and in the Laghusiddhantakaumudi in Sanskrit. The study yields the following main results : 1. The Padarupasiddhi was composed by Buddhappiya, a Buddhist monk belonging to south India in about 9th-10th century whereas the Laghusiddhantakaumudi was composed by Varadaraja, pupil of Bhattoji Diksita, in about 5th century. 2. In spite of the fact that the Padarupasiddhi follows the method of Sanskrit grammatical aphorisms as appeared in the Laghusiddhantakaumudi as far as the noun formation is concerned, it did not seem to have direct influence from the latter. There are some differences in the technical terms used in the aphorisms. The case-endings (vibhakti) in the Padarupasiddhi are reduced to some extent as the dual number does not exist in Pali. In Pali all the nouns ending in consonants in Sanskrit were converted to those ending in vowels. 3. It is quite certain that the Padarupasiddhi did not strictly follow the grammatical tradition laid down by the great grammarian Panini but it follows some other Sanskrit grammatical texts. This needs further investigation.en
dc.identifier.urihttps://harrt.in.th/handle/123456789/2030
dc.language.isoth
dc.subject.isced0232 วรรณคดีและภาษาศาสตร์
dc.subject.oecd6.2 ภาษาและวรรณคดี
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบคำนามในคำภีร์ปทรูปสิทธิและลฆุสิทธานตเกามุที
dc.title.alternativeA comparative study of noun formation in the Padarupasiddhi and the Laghusiddhantakaumudien
dc.typeวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท (Master Thesis)
dspace.entity.typePublication
harrt.itemID77
harrt.researchAreaภาษาศาสตร์ภาษาบาลีและสันสกฤต
harrt.researchGroupบาลีและสันสกฤต
harrt.researchTheme.1หน่วยคำวิทยา (Morphology)
mods.location.urlhttp://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/2854
thesis.degree.departmentศูนย์สันสกฤตศึกษา
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยศิลปากร
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Files