Publication:
ศึกษาเชิงวิเคราะห์หลักสัมมาอาชีวะในพุทธปรัชญาเถรวาท

dc.contributor.authorพระมหาทนงศักดิ์ ธีรสกฺโก (ตาดี)
dc.contributor.authorPHRAMAHATANONGSAK TEERASAKKO (TADEE)en
dc.date.accessioned2023-12-16T06:46:31Z
dc.date.available2023-12-16T06:46:31Z
dc.date.issued2019
dc.date.issuedBE2562
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักสัมมาอาชีวะในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับสัมมาอาชีวะในพระพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์หลักปฏิบัติสัมมาอาชีวะตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพเน้นวิเคราะห์จากเอกสาร แล้วนำมาเรียบเรียงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า : 1) หลักสัมมาอาชีวะในพระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจของชีวิตและต้องไม่ขัดแย้งกับกฎหมายหรือเป็นอันตรายต่อเองและคนอื่นๆ ถือเป็นระบบเศรษฐกิจที่เน้นให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความรู้สึกเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวภายใต้การปฏิบัติที่อยู่บนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชน 2) หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับสัมมาอาชีวะนั้นมีทั้งที่เป็นไปเพื่อสนับสนุนและขัดแย้งในด้านเจตนา ผลลัพธ์และวิธีการ สำหรับหลักธรรมที่สนับสนุนนั้น ได้แก่ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ปัจจเวกขณ์ 4 สัมมาทิฏฐิ และสังคหวัตถุ 4 ส่วนหลักธรรมที่ขัดแย้งนั้น ได้แก่ มิจฉาวณิชชา 5 อบายมุข 6 และนิวรณ์ 5 3) วิเคราะห์หลักปฏิบัติสัมมาอาชีวะตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทแล้วทราบว่า เป็นแนวคิดในด้านการตอบสนองร่างกาย มีหลักธรรมมาเกี่ยวข้องเพื่อเป็นตัวอย่างของพฤติกรรมเชิงบวกและชี้ให้เห็นพฤติกรรมเชิงลบ และเป็นแนวคิดที่เน้นวิธีการและผลลัพธ์ที่เป็นไปเพื่อสันติสุขเชิงสังคมซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ในแง่ของการมีอาชีพสุจริตและมีคุณค่าต่อการพัฒนาจิตใจให้มีความสงบเย็น
dc.description.abstractThe objectives of this thesis were as followsen
dc.description.abstract1) to study right livelihood in Theravada Buddhist philosophy, 2) to study the principles related to right livelihood in Theravada Buddhist philosophy, and 3) to analyze the practice of right livelihood according to Theravada Buddhist philosophy. This qualitative research focused on documentary analysis with descriptive presentation. The results of research were found that: 1) Right livelihood in Theravada Buddhist philosophy was economical activity without conflict with the law or harm to oneself and others. Right livelihood was economical system focusing on stakeholders with unified connection under practices that were based on human rights principles. 2) The principles relating to right livelihood had acted both to support and conflict in mater of intention, results and methods. The supporting principles were Ditthadhammikattthaprayod, 4 Paccavekkhanas, Sammaditthi and 4 Sangahavatthus. As for the conflicting principles, they were 5 Micchavanijjas, 6 Apayamukhas and 5 Nivaranas. 3) Analyzing right livelihood according to Theravada Buddhist philosophy, right livelihood was known as a concept of physical response. It involved the principles being examples of positive behaviors, pointed out negative behaviors and it was the concept that emphasized methods and outcomes for social peace which brought about benefits in terms of having a honest career and being valuable for development of calm mind.en
dc.identifier.urihttps://harrt.in.th/handle/123456789/5345
dc.language.isoth
dc.subjectRight Livelihood
dc.subjectBuddhist Philosophy
dc.subjectTheravada
dc.subject.isced0223 ปรัชญาและจริยธรรม
dc.subject.oecd6.3 ปรัชญา จริยธรรมและศาสนา
dc.titleศึกษาเชิงวิเคราะห์หลักสัมมาอาชีวะในพุทธปรัชญาเถรวาท
dc.title.alternativeAn Analytical Study of Right Livelihood in Theravada Buddhist Philosophyen
dc.typeวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท (Master Thesis)
dspace.entity.typePublication
harrt.itemID462
harrt.researchAreaพุทธศาสนศึกษา
harrt.researchGroupปรัชญา
harrt.researchTheme.1พุทธศาสนศึกษา
mods.location.urlhttp://opac.mbu.ac.th/Record/35372
thesis.degree.departmentบัณฑิตวิทยาลัย
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Files