วัฒนธรรมสเปนและลาตินอเมริกา
Permanent URI for this collection
Browse
Recent Submissions
ซังเลย์: ชาวจีนโพ้นทะเลในฟิลิปปินส์ยุคอาณานิคมสเปน (คริสต์ศตวรรษที่ 16-17)
บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาบทบาทของพวกซังเลย์ ชาวจีนโพ้นทะเลซึ่งเดินทางไปค้าขายและพeนักอยู่ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ยุคอาณานิคมสเปนระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 และมุ่งศึกษาความสามารถในการปรับตัวของระบอบอาณานิคมสเปนในฟิลิปปินส์ในฐานะส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ เพื่อให้สอดรับกับสภาวะทางสังคมที่มีลักษณะแตกต่างจากทวีปอเมริกาของสเปน อนึ่ง บทความชิ้นนี้มุ่งสะท้อนให้เห็นการปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมอันเป็นผลมาจากการปะทะสังสรรค์ข้ามชาติระหว่างผู้มีอำนาจชาวสเปนกับพวกซังเลย์เช่น การจำกัดพื้นที่อยู่อาศัย การจัดตั้งตำแหน่งข้าราชการเฉพาะกิจ และการกำหนดนโยบายด้านภาษีอาณานิคม
ภาษาสเปนและสภาวะอาณานิคมคู่ขนานในฟิลิปปินส์(ค.ศ. 1898-1946)
บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาบทบาทของภาษาสเปนในฐานะองค์ประกอบทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ที่มีลักษณะโดดเด่นของพวกอิลุสตราโด ชนชั้นปัญญาชนที่กำเนิดขึ้นในฟิลิปปินส์ภายหลังการปฏิรูปการศึกษาอาณานิคมโพ้นทะเลของจักรวรรดิสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตลอดยุคการปกครองของสหรัฐอเมริกา (1898-1946) พวกอิลุสตราโดซึ่งยังยึดมั่นในรากเหง้าและอัตลักษณ์ความเป็นฮิสแปนิกพยายามใช้ภาษาสเปนเป็นเครื่องมือทางการเมืองวัฒนธรรมเพื่อต่อรองอำนาจกับผู้ปกครองอเมริกันและธำรงสถานะความเป็นอภิสิทธิ์ของตน ในมิติทางวัฒนธรรม ฟิลิปปินส์จึงถูกครอบงำโดยกรอบอาณานิคมทั้งแบบสเปนและแบบอเมริกันในห้วงเวลาเดียวกัน อนึ่ง บทความชิ้นนี้มุ่งวิเคราะห์ลักษณะความเป็นอาณานิคมคู่ขนานของฟิลิปปินส์ในยุคอเมริกัน และศึกษาความต่อเนื่องของสภาวะอาณานิคมสเปนผ่านพลวัตทางการเมืองวัฒนธรรมของชนชั้นนำฟิลิปปินส์ซึ่งโอบวิถีความเป็นสเปนในอดีต และหาคำตอบว่าเหตุใดปัญญาชนที่เรียกร้องความเป็นชาตินิยมฟิลิปปินส์จึงเลือกที่จะคงอัตลักษณ์ฮิสแปนิกแทนการสมาทานความเป็นอเมริกัน ปัจจัยใดที่ส่งผลให้เกิดความนิยมในการใช้ภาษาสเปน และการตอบโต้ลัทธิจักรวรรดินิยมอเมริกันกระท าผ่านรูปแบบใดบ้าง
La representación cinematográfica del siglo XXI sobre la opresión de los indígenas latinoamericanos
ขบวนการโปรปากานดา และการสร้างชาติฟิลิปปินส์ผ่านวรรณกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 19
บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาขบวนการชาตินิยมฟิลิปปินส์ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผ่านผลงานวรรณกรรมซึ่งผลิตโดยขบวนการโปรปากานดา มุ่งเน้นไปที่ชีวิตและผลงานของนักโปรปากานดิสตาผู้ยิ่งใหญ่จำนวนสามคนซึ่งมีชาติกำเนิด ภูมิลำเนาและเอตทัคคะในการแสดงออกซึ่งแนวคิดของตนเองในรูปแบบและช่องทางที่แตกต่างกัน นั่นคือกราชาโน โลเปซ ฮาเอนา, มาร์เซโล เดล ปิลาร์ และโฮเซ่ ริซัล อนึ่ง บทความชิ้นนี้มุ่งค้นหาค าตอบเกี่ยวกับต้นกำเนิดของขบวนการโปรปากานดาซึ่งเป็นกลุ่มปัญญาชนชาวฟิลิปปินส์ซึ่งได้รับการศึกษาในประเทศสเปนและเรียกร้องการปฏิรูปมาตุภูมิของตนผ่านวรรณกรรมภาษาสเปนและภาษาพื้นถิ่น บทความมุ่งวิเคราะห์กลวิธีซึ่งนักชาตินิยมฟิลิปปินส์เผยแพร่อุดมการณ์ความเป็นชาติในแบบฉบับของตน และประเด็นทางสังคมที่ถูกนำามาใช้สื่อสารกับเพื่อนร่วมชาติและต่อรองกับสเปน