Browse
Recent Submissions
“ความเป็นอัตชีวประวัติ” ใน Les Années ของอานนี แอร์โนซ์
บทความนี้มุ่งศึกษา “ความเป็นอัตชีวประวัติ” ในผลงานเรื่อง Les Années ซึ่งเน้นบริบททางประวัติศาสตร์มากกว่าเรื่องราวชีวิตส่วนบุคคลของนักเขียนสตรีชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อว่าอานนี แอร์โนซ์ (Annie Ernaux) การศึกษานี้ใช้ทฤษฎีอัตชีวประวัติและศาสตร์เรื่องเล่า รวมทั้งวรรณกรรมเรื่องอื่นๆ ที่ตีพิมพ์ทั้งก่อนและหลัง Les Années และชีวประวัติของแอร์โนซ์ ผลการศึกษาพบว่า Les Années ประกอบไปด้วยลักษณะทางอัตชีวประวัติ 3 ประการได้แก่ 1) ตัวละครผู้หญิงผู้เล่าเรื่องและผู้แต่งที่ดูว่าเป็นคนละคนกันในตอนแรกกลับมีอัตลักษณ์บุคคลที่เหมือนกัน 2) รูปถ่ายตัวละครที่ถูกบรรยายและใช้เป็นองค์ประกอบหลักของชีวิตส่วนตัวจะตรงกับรูปถ่ายแอร์โนซ์ และ 3) หนังสือที่ตัวละครต้องการจะเขียนคล้ายกับ Les Années ของแอร์โนซ์ หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่าละครเป็นผู้แต่ง Les Années
“ความรัก” ในบทละครเรื่องแฟดเดรอะ (Phèdre)ของราซีน (Racine)
บทละครเรื่องแฟดเดรอะ (Phèdre) เป็นบทละครแนวโศกนาฏกรรมของราซีน (Racine) ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในศตวรรษที่ 17 ซึ่งเป็นยุคที่วรรณกรรมแนวคลาสสิคมีอิทธิพลสูงสุดต่อการสร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรมไม่เพียงแต่บทละครเรื่องแฟดเดรอะจะโดดเด่นทางลักษณะการประพันธ์ที่สอดคล้องกับกฎการประพันธ์บทละครแนวโศกนาฏกรรมอย่างเข้มงวด หากแต่ยังดึงให้ผู้อ่านเข้าร่วมกับอารมณ์ของตัวละครได้เป็นอย่างดี ราซีนได้นำเสนอแก่นเรื่อง “ความรัก” ระหว่างตัวละครเอกออกสู่สายตาผู้อ่านเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1677 ซึ่งทำให้ตระหนักดีว่า “ความรัก” ระหว่างตัวละครเอกเป็นความรักที่เป็นไปไม่ได้ เป็นความรักผิดบาป เป็นความรักที่ทรมานและกัดกินความบริสุทธิ์ในใจ เป็นความรักที่ไม่มีทางออก ความตายจึงเป็นหนทางเดียวที่ทำให้ตัวละครเอกหลุดพ้นจากบ่วงพันธนาการนี้ไปได้ ราซีนใช้กลวิธีในการสร้างบทละครแนวโศกนาฏกรรมเรื่องนี้โดยการให้แฟดเดรอะหลงรักฮิปโปลิท (Hippolyte) ซึ่งเป็นลูกเลี้ยงของตนเอง ความรักฉันท์ชู้สาวของคนในครอบครัวเดียวกันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้และยอมรับไม่ได้ของสังคม ในขณะเดียวกันฮิปโปลิทก็มีอะลีซีย์ (Aricie) เป็นคู่รักอยู่ก่อนแล้ว ความรักที่เกิดขึ้นระหว่างตัวละคร 3 ตัวละครนี้จึงเปรียบเสมือนกับ “รักสามเส้า” ที่ไม่มีผู้ใดสมหวังทางด้านความรักเลยแม้แต่น้อย
Études de l'espace dans les contes de fées de Madame d'Aulnoy : de l'enfermement à l'émancipation.
Dans les contes de fées de Mme d’Aulnoy, l’espace est étroitement lié à la sexualité. L’Éros constitue un mobile capital qui pousse un personnage à en enfermer un autre. La prison affecte la sexualité du prisonnier. L’évasion de la prison relève de la question de la vie et de la mort. Une tentative ratée est punie : le châtiment va de la déshumanisation au trépas. Le Thanatos constitue le seul moyen qui permet l’émancipation. S’évader du clos et se retrouver dans l’ouvert permettent une libération sexuelle, et aussi une maturité pleinement développée. Néanmoins, certains désirs sexuels tendent plutôt à s’épanouir dans l’espace fermé. Les personnages de Mme d’Aulnoy sont ainsi complexes et contradictoires, ayant des aspirations le plus souvent opposées. Ni le clos ni l’ouvert ne les comblent : enfermés, ils cherchent la liberté dans l’espace ouvert ; libres, ils aspirent à la protection dans l’espace fermé. Une telle complexité et une telle contradiction sont en fin de compte le reflet de tous les temps, ce qui souligne l’universalité de l’œuvre de notre conteuse.
La Redéfinition des femmes dans l’optique des minorités : romans féminins français et britanniques au XIXe siècle
Cet article cherche à examiner l’image des femmes dans les œuvres littéraires françaises et britanniques au XIXe siècle. Nous commençons par scruter le contexte dans lequel cette image est conçue avant d’analyser ses représentations littéraires par les écrivains hommes pour montrer en quoi le contexte social et la création littéraire peuvent s’influencer dans leur création de l’image oppressive et irréalisable des femmes. Enfin, dans l’optique des minorités sociales, nous allons analyser en quoi les écrivaines au moyen de la littérature déjouent cette image oppressive pour en concevoir une autre etproposent une nouvelle définition des femmes.; This article aims to examine the image of women in certain 19thcentury French and British literary works. The context in which this image is conceived will be scrutinized before we move on to analyzethe literary representations of women by male writers in order todemonstrate how social context and literary works influence eachother in their creation of the oppressive and unachievable image of women. The final part of the article will analyze, through the lens of social minorities, how female writers undermine this oppressive imageby means of literature to create another one and propose a newdefinition of women.
การเขียนแนวมินิมอลลิสม์ในนวนิยายไตรภาคของอโกตา คริสตอฟ (Agota Kristof) เรื่อง บันทึกลับ (Le Grand Cahier) เรื่อง หลักฐาน (La Preuve) และเรื่อง เรื่องเท็จลําดับที่สาม (Le Troisième Mensonge)
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการเขียนแนวมินิมอลลิสม์ในนวนิยายไตรภาคของ อโกตา คริสตอฟ และจุดมุ่งหมายที่ใช้การเขียนดังกล่าว บทความวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาเอกสารต่างๆ ทั้งที่เป็นภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ และไทย นำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงวิจารณ์และประมวลผลเพื่อสรุปเป็นผลการวิจัย มินิมอลลิสม์เป็นกระแสวรรณกรรมที่แพร่หลายเข้าสู่ยุโรปในช่วงทศวรรษ 1980 กระแสวรรณกรรมนี้ไม่ได้เป็นของสำนักวรรณกรรม ไม่ได้มาจากแถลงการณ์ของกลุ่มนักเขียนและไม่มีหลักปฏิบัติที่ชัดเจน หลักการที่สำคัญของมินิมอลลิสม์คือ การลดทอนองค์ประกอบในการสร้างงานศิลปะ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเพิ่มพูนผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ ดั่งคติที่ว่า “น้อยคือมาก” (Less is more) เมื่อผู้วิจัยวิเคราะห์นวนิยายไตรภาคเกี่ยวกับฝาแฝดของอโกตา คริสตอฟโดยใช้หลักเกณฑ์ของจอห์น บาร์ธ (John Barth) และของฟีค ชอตส์ (Fieke Schoots) ก็พบว่านวนิยายชุดนี้มีองค์ประกอบของการเขียนแนวมินิมอลลิสม์ที่ครบถ้วน คริสตอฟใช้การเขียนแนวทางนี้เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างลูกเล่นในการเล่าเรื่อง ทำให้เรื่องเล่าไม่ชัดเจน สามารถตีความได้หลากหลาย คุณค่าที่ตรงกันข้ามสามารถมาอยู่ร่วมกัน และลื่นไหลระหว่างกันจนไม่อาจแยกแยะได้เด็ดขาด นอกจากนี้ คริสตอฟ ยังใช้เทคนิคที่ทำให้เรื่องเล่าขาดเสถียรภาพ ทำให้เรื่องเล่าขัดแย้งกันเอง และจากสภาวะที่คลุมเครือและไม่มั่นคงนี้เอง ผู้ประพันธ์จะบิดผันก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่ปรากฏให้เห็น ความจริงที่โหดร้ายกลายเป็นสิ่งที่พอจะยอมรับได้ การเล่าเรื่องแบบไม่แสดงอารมณ์ความรู้สึก กลับกลายเป็นเรื่องเล่าสะเทือนอารมณ์ โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวกับสงคราม นอกจากนี้ยังสร้างพลวัตในตัวละครที่ทำให้เกิดพลังกับตัวละครที่มีอยู่อย่างจำกัด ตัวละครซึ่งเป็นชนชั้นล่างของสังคมสามารถเบียดแทรกขึ้นมาทัดเทียมชนชั้นปกครอง รวมถึงประชาชนที่ถูกกดขี่ข่มเหงจากผู้มีอำนาจรัฐยังสามารถตอบโต้ หรือวิพากษ์วิจารณ์การกระทำเหล่านั้นได้