ประวัติศาสตร์อเมริกาเหนือ
Permanent URI for this collection
Browse
Recent Submissions
อ่านความเป็นพลเมืองในรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา : บริบทเชิงนิติประวัติศาสตร์ และภาคปฏิบัติการทางการเมือง
รัฐธรรมนูญคือชุดของกฎกติกา (ทั้งเป็นและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร) ซึ่งจัดวางความสัมพันธ์ทางอำนาจในสังคมการเมือง ในกรณีของสหรัฐอเมริกา รัฐธรรมนูญมิได้เป็นเพียงเอกสารทางกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเป็นเสมือนเวทีซึ่งพลเมืองพยายามเข้าไปมีส่วนปฏิสัมพันธ์ในการกำหนดคุณค่าและสร้างความหมาย บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวคิดเรื่องพลเมืองในประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ซึ่งพบว่าความเป็นพลเมืองเปลี่ยนแปลงและก่อรูปขึ้นโดยประสบการณ์ภาคปฏิบัติทางการเมืองตั้งแต่ยุคอาณานิคมอเมริกา จนกระทั่งยุคขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมือง โดยข้อสรุปของบทความนี้ชี้ให้เห็นว่าความเป็นพลเมืองระดับชาติ เริ่มต้นในวงจำกัดด้วยการให้ความสำคัญกับศาสนาและการถือครองทรัพย์สิน และค่อยๆก่อตัวไปสู่ประชากรที่กว้างขวางขึ้นซึ่งคำนึงถึงเรื่องสิทธิและเสรีภาพของพลเมือง ในแง่นี้ประวัติศาสตร์อันยาวนานของความเป็นพลเมืองจึงปรากฏรูปแบบ 2 ประการ ประการแรกกลุ่มของพลเมืองต่อสู้เพื่อได้รับสิทธิพลเมือง ซึ่งรับรองและยอมรับสถานภาพโดยรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐ ประการที่สอง สำหรับประชาชนผู้ที่ได้รับการรับรองด้วยสิทธิพลเมืองแล้ว ยังต้องแสวงหาสิทธิเลือกตั้งเพิ่มขึ้นเพื่อบรรลุสถานภาพพลเมืองเต็มขั้น ดังนั้นแนวคิดพลเมืองในรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐจึงสะท้อนภาพการต่อรองระหว่างอำนาจต่างๆในสังคมการเมือง
ลำดับชีวประวัติและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่สมัย ประธานาธิบดีลินดอน บี จอห์นสัน ถึงประธานาธิบดี บารัก โอบามา (คนที่ 36 – 44)
ประธานาธิบดีคนที่ 36 ลินดอน บี จอห์นสัน ดำรงตำแหน่งสืบต่อจากเคนเนดี้ ที่ถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่งไปจนครบวาระของเคนเนดี้และเขาได้รับเลือกตั้งของเขาเองต่อมาอีก 4 ปี เขาเป็นผู้ริเริ่มที่จะยุติสงครามเวียดนามเป็นคนแรก โดยที่ประธานาธิบดีริชาร์ต นิกสัน จะเป็นผู้สานต่อจากเขาอีกทีหนึ่ง นักบินอวกาศคนแรกขอสหรัฐอเมริกาที่ไปลงดวงจันทร์ก็เกิดขึ้นในสมัยของเขาในปี ค.ศ.1969 ในสมัยประธานาธิบดีคนที่ 37 ริชาร์ต นิกสัน นั้น เขาได้เดินทางไปเปิดสัมพันธไมตรีกับประธานเหมาเจ๋อตุงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ.1972 และมีสัมพันธไมตรีอันดีกับสหภาพโซเวียต ของนายเบรสเนฟ เท่ากับเป็นการยุติสงครามเย็น เริ่มแรกเขาเข้าไปพัวพันกับคดีอื้อฉาววอเตอร์เกต ที่เข้าไปดักฟังความลับของพรรคเดโมแครท ทำให้เขาต้องถูกบีบให้ลาออกจาก ตำแหน่งในวาระที่ 2 ของเขา ประธานาธิบดี เจอรัล ฟอร์ด ได้ประกาศกฎหมายนิรโทษกรรมเขาในรัฐสภา ทำให้เขารอดพ้นจากการถูกนำตัวขึ้น ศาลอาญาไต่สวน (Impeachment)ประธานาธิบดี คนที่ 38 เจอรัลด์อาร์ ฟอร์ต ดำรงตำแหน่งต่อจากนิกสันที่ต้องลาออกจากตำแหน่งก่อนจะครบวาระ ฟอร์ตพยายามรักษาสันติภาพของโลก หลังจากการยุติสงครามในกัมพูชาและเวียดนามของปี ค.ศ.1975 ไปแล้ว เขาเป็นประธานาธิบดีที่มีอายุยืนยาวที่สุด คือ ถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ.2006 ด้วยอายุ 93 ปี นายจิมมี คาร์เตอร์ ได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 39 ต่อมา โดยที่เขาเพียงแต่เป็นตัวแทนของพรรคเดโมแครทคนแรกที่มาจากการเป็นผู้ว่าราชการรัฐจอร์เจียมาก่อนเท่านั้น ไม่ใช่มาจากตำแหน่งวุฒิสมาชิกเหมือนคนอื่นๆ ในสมัยของเขาได้ทำให้สงครามในตะวันออกกลางระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ยุติลง ทำให้คาร์เตอร์แห่งสหรัฐอเมริกา และนายเบนนาเฮม เบกินได้รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ร่วมกันในปี ค.ศ.2002 ในสมัยของเขา นักศึกษาหัวรุนแรงอิหร่านได้จับเจ้าหน้าที่อเมริกันจำนวน 55 คน ในสถานทูตสหรัฐประจำกรุงเตหะราน เป็นตัวประกันถึง 444 วัน และได้ปล่อยออกมาในวันที่ประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม ค.ศ.1981 ส่วนประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน คนที่ 40 นั้น เป็นผู้ที่ทำให้สหรัฐอเมริกากลับมามีความเชื่อมั่นใหม่อีกครั้งหนึ่ง การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในวาระที่ 2 ของเขา เป็นศักราชของการคืนดีต่อกันกับสหภาพโซเวียตของนายกอร์บาชอฟ เป็นการสิ้นสุดสงครามเย็นลงโดยสิ้นเชิง ประธานาธิบดีคนที่ 41 ยอร์ชบุช เป็นสมัยที่จักรวรรดิคอมมิวนิสต์รัสเซียล่มสลายในปี ค.ศ.1991 กำแพงเบอร์ลินที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่ ค.ศ.1961 ซึ่งมีความสูง 14 ไมล์ ยาว105 ไมล์ ได้ถูกทุบทิ้งลงในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ.1989 ได้เกิดสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิรัก จากการที่ซัดดัม ฮุสเซน บุกเข้ายึดครองคูเวต เกิดปฏิบัติการพายุทะเลทรายอยู่ 42 วัน กับอีก 100 ชั่วโมง ทำให้ซัดดัมต้องยอมจำนนต่อสหรัฐอเมริกา แต่บุชก็ไม่สามารถแก้ไขเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐอเมริกาได้ ทำให้เขาต้องแพ้การเลือกตั้งประธานาธิบดีแก่นายบิลล์ คลินตัน คนที่ 42 ของสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่าคลินตันจะมีเรื่องอื้อฉาวกับนักศึกษาสาวฝึกงานในทำเนียบขาว แต่เขาก็ยังเป็นที่นิยมชมชอบอย่างมากในพรรคเดโมแครท ทำให้เขาได้เป็นตัวแทนของพรรคชิงตำแหน่งประธานาธิบดีวาระที่ 2 เป็นผลสำเร็จ ส่วนประธานาธิบดีคนที่ 43 นายยอร์ช ดับเบิลยูบุช บุตรชายของประธานาธิบดีคนที่ 41 ยอร์ช บุช ในสมัยของเขาได้เกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายของพวกอัลกออิดะห์ ขึ้นในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001 ทำให้สหรัฐอเมริกาดำเนินปฏิบัติการเสรีภาพอันยั่งยืนยงโต้ตอบ โดยการบุกเข้าโจมตีอัฟกานิสถาน ต่อต้านรัฐบาลของตาลีบันใน ค.ศ.2001 และเปิดยุทธการเสรีภาพของสหรัฐอเมริกา โค่นล้ม ประธานาธิบดีฮุสเซน ลงจากอำนาจในปี ค.ศ.2003 เมื่อยอร์ช ดับเบิลยูบุช ครบวาระที่ 2 ในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี นายบารักโอบามา ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 44 เขาเป็นชาวแอฟริกันอเมริกันคนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งนี้ โอบามาได้ดำรงตำแหน่งอยู่ 2 วาระ โดยจะสิ้นสุดลงในปี ค.ศ.2017 (วันที่ 20 มกราคม) ในเดือนมีนาคม ค.ศ.2016 โอบามาได้เดินทางไปเยือนคิวบา ยุติความบาดหมางต่อกันอย่างยาวนานถึง 50 ปีลง เปิดการคว่ำบาตรคิวบาและเปิดสถานทูตต่อกัน อนึ่งในวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ.2015 ได้มีการก่อการร้ายในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และในวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ.2016 มีการก่อการร้ายในกรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม ในทั้งสองเหตุการณ์มีผู้คนบาดเจ็บและล้มตายจำนวนมาก โดยทั่วโลกต่างพากันประณามการก่อการร้ายดังกล่าว
การเปลี่ยนแปลงในมลรัฐภาคใต้ของอเมริกา (พ.ศ. 2420-2456) : ภาคใต้ใหม่
"ภาคใต้ใหม่" เป็นคำเรียกมลรัฐภาคใต้ที่มีเศษฐกิจหลากหลายและมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองและสังคม "ภาคใต้ใหม่" เริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1877 เมื่อโครงการฟื้นฟูบูรณะภาคใต้หลังสงครามกลางเมืองของสภาคองเกรสยุติลง จนถึง ค.ศ. 1913 เมื่อวูดโรว์ วิลสันซึ่งเป็นชาวใต้ได้รับเลือกเป็นประธานธิบดี ผู้นำในการเปลี่ยนแปลงของ "ภาคใต้ใหม่" เป็นผู้นำกลุ่มใหม่ที่รู้จักกันในนามของ "Redeemers" พวกเข้าสามารถยึดอำนาจในการปกครองภาคใต้คืนจากพวก "Carpetbaggers" และ "Scalawags" ที่มีบทบาทมากในช่วงการฟื้นฟูบูรณะภาคใต้ ส่วนใหญ่ของผู้นำใหม่เหล่านี้ไม่ได้มาจากครอบครัวที่เป็นเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่หรือเป็นเจ้าของทาส พวกเขาส่วนใหญ่เป็นคนเมือง และสนับสนุนการขยายตัวของอุตสาหกรรมและการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ส่วนด้านเกษตรกรรม มีการส่งเสริมให้ปลูกพืชเศรษฐกิจหลากหลายชนิดเพื่อการส่งออก มีการใช้ระบบการแบ่งปันผลผลิตและระบบการแบ่งที่ดินให้เช่า ส่วนด้านการเมืองนั้น "Redeemers" และผู้นำผิวชาวอนุรักษ์นิยมจำต้องยอมรับบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมมาตราที่ 14 และ 15 ซึ่งให้สิทธิแก่คนผิวดำในการออกเสียงเลือกตั้ง พวกเขาจึงพยายามกีดกันการใช้สิทธิของคนผิวดำโดยการออกกฎหมายตาม "แผนการมิสซิสซิปปี้" ซึ่งรวมถึงกฎเกณฑ์เรื่องบรรพบุรุษ การทดสอบความรู้หนังสือ เป็นต้น เพื่อทำให้คนผิวดำไม่มีคุณสมบัติครบที่จะใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ด้านสังคมนั้น มีการใช้ระบบ "การแบ่งแยกแต่เท่าเทียม" ทำให้มีการแบ่งแยกคนผิดชาวกับคนผิวดำทั้งการคมนาคมขนส่ง โรงภาพยนตร์ ภัตตาคาร โรงเรียน และโบสถ์ เป็นต้น กล่าวได้ว่า "ภาคใต้ใหม่" เป็นพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในหลายด้าน แต่ปัญหาเรื้อรัง คือ ความขัดแย้งเรื่องเชื้อชาติและสีผิวยังคงดำเนินต่อไป