Browse
Recent Submissions
หลักคำสอนเรื่องโยนิโสมนสิการในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเอ็ดเวิร์ด เดอโบโน : การศึกษาเปรียบเทียบ
การประยุกต์ใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลวังตาล อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
The objectives of this thesis paper were as follows: 1) to study the principles of Dasabidharajadhamma, 2) to apply the principles of Dasabidharaja dhamma in duty performance of members of Tambol Wang Tan Administrative Organization in Kabinburi district of Prachinburi province, and 3) to study suggestions and problems in applying the principles of Dasabidharajadhamma in duty performance of members of Tambol Wang Tan Administrative Organization. The research was qualitative and its data were collected from members, officials and personnel of Tambol Wang Tan Administrative Organization. The results of research were found as follows: 1. People living in the area indicated that the application of the principles of Dasabidharaja dhamma in duty Kabinburi district of Prachinburi province was at a moderate level in general performance of members of Tambol Wang Tan Administrative Organization in. 2. The problems found in the study were that
การศึกษาวิเคราะห์จินตามยปัญญาในพุทธปรัชญาเถรวาท
The objectives of this thesis were as follows. : 1) To study the wisdom in Theravada of Buddhist philosophy. 2) To study by Wisdom resulting from refrection in Theravada Buddhist philosophy. 3) To analysis study Wisdom resulting from refrection in Theravada Buddhist philosophy to use in their daily and solve their problems. This thesis was a qualitative research (Documentary Research) by analyzing data from the primary documents such as the tripitaka. And the secondary documents, including books and research papers related. The results of research were found as follow:- 1) Cintamaya panna or wisdom resulting from reflection had to principle,reflectin to prevent desire and the reflection to eradicate ignorance 2) Cintamaya panna could be devided in to 2 part, thinking principle and Dhamma principle .in the study,the thinking principle should come firtst and then follow by Dhamma in order to understand the real state of condition factor 3) Cintamaya panna could be concluded in 3 principle, the principle of reality,the principle of wisdom and principle of plactice,this three principle wear relate and necessary to and another.all the time
ศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่ปรากฏในบทเพลงร่วมสมัย
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบทเพลงร่วมสมัย 9 บทเพลงดังต่อไปนี้ คือ น้อมนมัสการ ให้โลกได้เห็น (น้ำใจคนไทย) เรื่องธรรมดา เรามีความพลัดพรากเป็นธรรมดาตราบลมหายใจสุดท้าย ดั่งดอกไม้บาน กราบพระชำระใจ ปล่อย เปรต (สัมภเวสี) 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่ปรากฏในบทเพลงร่วมสมัย 3) เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่ปรากฏในบทเพลงร่วมสมัย รูปแบบงานวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร (Documentary Qualitative Research) ที่มุ่งศึกษาค้นคว้าจากข้อมูลชั้นปฐมภูมิ ชั้นทุติยภูมิ เอกสาร งานวิชาการรวมถึงสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านพุทธปรัชญาเถรวาทและผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านบทเพลงร่วมสมัย จำนวน 8 รูป/คน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์และสรุปผล ผลการวิจัยพบว่า : 1. บทเพลงร่วมสมัยทั้ง 9 บทเพลง จัดเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เป็นการผสมผสานกันระหว่างคำร้องและทำนอง ในส่วนของคำร้อง มีการสะท้อนและบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ตั้งแต่เรื่องพื้นฐานทั่วไปจนถึงเรื่องที่เป็นนามธรรมมีความละเอียดลึกซึ้งได้ เมื่อผสานเข้ากับทำนอง ทำให้สามารถโน้มน้าวอารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟังได้ จึงเป็นสื่อที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ เพราะเข้าถึงผู้คนได้ง่าย ฟังได้บ่อย ให้ความเพลิดเพลิน ทำให้ง่ายต่อการจดจำ ในปัจจุบันมีการนำบทเพลงขึ้นระบบออนไลน์ ทำให้บทเพลงร่วมสมัยสามารถเข้าถึงผู้คนได้เป็นวงกว้างทั่วโลก 2. หลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่ปรากฏในบทเพลงร่วมสมัย คือ 1) อนุสสติ 10 ได้แก่พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ มรณัสสติ กายคตานุสสติ อานาปาณสติ อุปสมานุสติ 2) โลกธรรม 8 ได้แก่ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ และ 3) กรรม 12 ได้แก่ ชนกกรรม อุปัตถมภกกรรม อุปปีฬิกกรรม อุปฆาตกรรม ครุกรรม พหุลกรรม อาสันนกรรม กตัตตากรรม ทิฏฐิธรรมเวทนียกรรม อุปปัชชเวทนียกรรม อปราปริยเวทนียกรรม อโหสิกรรม ซึ่งเป็นหลักธรรมมีคุณค่า ส่งเสริมคุณธรรม พัฒนาจิตใจ ทำให้ผู้ศึกษาและปฏิบัติสามารถปล่อยว่าง คลายจากความเครียดและความทุกข์ สอนให้ไม่ประมาทและให้แนวทางการดำเนินชีวิตที่ดีงาม โดยที่คำร้องของบทเพลงร่วมสมัยมีการนำพระสูตรจากพระไตรปิฎกมาใส่ในเนื้อเพลงโดยตรง มีทั้งเป็นภาษาบาลีและแปลเป็นภาษาไทย รวมถึงมีการถ่ายทอดเป็นภาษาเฉพาะตัวของนักแต่งเพลง 3. จากการวิเคราะห์หลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่ปรากฏในบทเพลงร่วมสมัยพบว่า บทเพลงร่วมสมัยมีการสะท้อนความเชื่อและค่านิยมจากคำร้อง ส่วนท่วงทำนองของดนตรีนั้นมีอิทธิพลต่อความรู้สึก สามารถโน้มน้าวความรู้สึกของผู้ฟังได้ ทำให้ฟังได้บ่อย ง่ายต่อการจดจำ ประกอบกับหลักพุทธปรัชญาเถรวาท มีคุณค่า ปลูกฝังคุณธรรม พัฒนาจิตใจและให้แนวทางการดำเนินชีวิตที่ดีงาม ซึ่งหลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่ปรากฏในบทเพลงร่วมสมัยในงานวิจัยนี้ มีปรากฏคุณค่าดังต่อไปนี้ คือ 1) สะท้อนความเชื่อและค่านิยมในหลักพุทธปรัชญาเถรวาทของคนในสังคม ตั้งแต่วิถีชีวิต ความเชื่อเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอนส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นและวิธีการปฏิบัติ 2) ส่งเสริมการเรียนรู้ ทำให้ผู้ที่ได้ฟังได้เรียนรู้หลักพุทธปรัชญา เถรวาทตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงหลักธรรมที่มีความลึกซึ้ง รวมไปถึงสอนวิธีการปฏิบัติ ส่วนผู้ฟังจะสามารถเรียนรู้ได้มากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการแต่งเพลงของผู้ประพันธ์ ความสามารถในการขับร้อง ความสามารถในการเล่นดนตรี การเรียบเรียงเสียงประสาน การบันทึกเสียงและประสบการณ์ชีวิตของผู้ฟังในขณะนั้น 3) ปลูกฝังคุณธรรม ทำให้ผู้ที่ได้ฟังมีแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ดีงาม เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข 4) โน้มน้าวความรู้สึก ทำให้ผู้ฟังรู้สึกสงบ ผ่อนคลายและปล่อยวาง มีจิตตั้งมั่น มั่นคงไม่หวั่นไหว กระทั่งทำให้เกิดความรู้สึกเกรงกลัวต่อบาปและกล้าหาญในการทำความดี
กระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาท
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากระบวนการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษากระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาท วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า: 1. กระบวนการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท หมายถึง วิธีการที่ทำให้พระพุทธสาวิกาบรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ซึ่งกระบวนการบรรลุธรรมนั้นประกอบไปด้วย ลักษณะของการบรรลุธรรม คือลักษณะอาการที่จิตหลุดพ้นจากอาสวกิเลส มี 2 ลักษณะ คือ เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ เหตุแห่งการบรรลุธรรมมี 5 ประการคือ 1)การฟังธรรม 2)การแสดงธรรม 3)การสาธยายธรรม 4)การพิจารณาธรรม 5)การภาวนา หลักธรรมที่นำไปสู่การบรรลุธรรม เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม 37 ได้ แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และมรรคมีองค์ 8 องค์ประกอบและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการบรรลุธรรมนั้นประกอบด้วยบุคคลผู้ที่จะบรรลุธรรมจะต้องไม่เป็นอภัพบุคคล 6 ประเภท เป็นผู้มีสติปัญญาสามารถแนะนำได้ หลักธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการบรรลุธรรม คือ หลักสังโยชน์ หลักอริยสัจ 4 และหลักอายตนะ 12 วิธีปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรม มี 3 วิธี คือวิปัสสนาที่มีสมถะนำหน้า สมถะที่มีวิปัสสนานำหน้า และ สมถะที่มีวิปัสสนาควบคู่กันไป ระดับของการบรรลุธรรมแบ่งออกเป็นระดับมรรค ได้ 4 ระดับ คือ 1) โสดาปัตติมรรค 2) สกทาคามีมรรค 3) อนาคามิมรรค 4) อรหัตตมรรค ระดับผลแบ่ง ได้ 4 ระดับ คือ 1) โสดาปัตติผล 2) สกทาคามีผล 3) อนาคามิผล 4) อรหัตตผล ประเภทของพระอรหันต์ 4 ประเภทคือ 1)สุกขวิปัสสโก 2)เตวิชโช 3)ฉฬภิญโญ 4)ปฏิสัมภิทัปปัตโต และผลของการบรรลุธรรม คือคุณวิเศษที่บรรลุ มี วิชชา 3 อภิญญา 6 2. กระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาทนี้ได้นำเรื่องราวชีวประวัติของพระพุทธสาวิกาแต่ละท่านมาศึกษาเป็นรายบุคคลมีจำนวน 8 ท่านคือ พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี พระภัททากัจจานาเถรี พระรูปนันทาเถรี พระกีสาโคตมีเถรี พระปฏาจาราเถรี พระอุบลวรรณาเถรี พระเขมาเถรี และพระอัฑฒกาสีเถรี ทำให้ทราบว่ากระบวนการบรรลุธรรมของแต่ละท่านแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจริต สถานะภาพ บุญบารมีที่สร้างสมมา และเรื่องราวชีวิตของแต่ละท่านที่แตกต่างกัน 3. วิเคราะห์กระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาท ได้นำกระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาทั้ง 8 ท่านมาศึกษาวิเคราะห์เป็นรายบุคคล พบว่า ถึงแม้ว่ากระบวนการบรรลุธรรมของพระพุทธสาวิกาแต่ละท่านจะแตกต่างกันก็ตาม แต่กระบวนการบรรลุธรรมของทุกท่านก็เป็นไปตามกระบวนการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท มีความเหมือนและแตกต่างกันในบางประเด็นคือ ลักษณะของการบรรลุธรรม และ ระดับของการบรรลุธรรม มีความเหมือนกัน คือ บรรลุเจโตวิมุตติ กับ ปัญญาวิมุตติ และ ความเป็นพระอรหัตตผลประเภท ปฏิสัมภิทัปปัตโต ส่วนที่แตกต่างกันคือ เหตุแห่งการบรรลุธรรม หลักธรรมที่นำไปสู่การบรรลุธรรม หลักธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการบรรลุธรรม วิธีปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรม และผลของการบรรลุธรรม ประโยชน์และคุณค่าของกระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาท นอกจากความรู้จากการศึกษาถึงกระบวนการบรรลุธรรมที่ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปปฏิบัติและแนะนำแก่ผู้สนใจเพื่อการดับทุกข์พ้นทุกข์แล้ว ยังสามารถนำคุณค่าด้านคุณธรรมที่เป็นแบบอย่างไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขได้ เช่น ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความซื่อสัตย์ ความมีสติมีปฏิภาณ และความเสมอภาค