ประวัติศาสตร์ตะวันออกกลาง
Permanent URI for this collection
Browse
Recent Submissions
อารยธรรมอิสลามกับความขัดแย้งในตะวันออกกลางในทัศนะของ แซมมวล ฮันทิงตัน และเอ็ดเวิร์ด ซาอิต
การปะทะกันระหว่างอารยธรรม เป็นความคิดของแซมมวล ฮันทิงตันที่ทำนายถึงการเมืองระหว่างประเทศหลังสงครามเย็น ว่าอารยธรรมที่มีความแตกต่างกันจะเป็นปัจจัยสำคัญในความขัดแย้งในโลก หลังจากความขัดแย้งจากอุดมการณ์ทางการเมืองสิ้นสุดลง แนวความคิดนี้ ถูกนำไปอธิบายสงครามต่อต้านการก่อการร้าย และบทบาททางการเมืองของอเมริกาในตะวันออกกลาง คนสำคัญที่คัดค้านวิธีการมองความขัดแย้งแบบนี้ คือเอ็ดเวิร์ด ซาอิด ผู้เขียนหนังสือ Orientalism ซึ่งอธิบายถึงความรู้เกี่ยวกับตะวันออกเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้ นโดยชาวตะวันตก เพื่อสร้างความชอบธรรมให้ระบอบอาณานิคม ซาอิด เห็นว่าการแบ่งแยกคนเป็นเขาเราที่แตกต่างกันอย่างสิ้ นเชิงเป็นวิธีการสร้างความขัดแย้งจากความรู้ที่ไม่เป็นจริง ที่สืบต่อมาจากยุคอาณานิคม
พัฒนาการของกลุ่มไอเอส (IS) ในอิรักและซีเรีย ค.ศ. 2006-2017
การเข้าไปมีบทบาทในตะวันออกกลางของชาติมหาอำนาจภายนอกภูมิภาคนับตั้งแต่ สงครามอิรัก ค.ศ. 2003 ทำให้เกิดการรวมตัวของนักรบมุสลิมขึ้นเป็นกลุ่มติดอาวุธกระจายไปอยู่ในประเทศต่างๆ ในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะการเข้าไปมีบทบาทในการต่อต้านการยึดครองอิรักของสหรัฐฯ เหตุการณ์นี้ทำให้นักรบมุสลิมจำนวนมากเข้าไปยังอิรักและรวมตัวขึ้นเป็นเครือข่ายติดอาวุธ กลุ่มที่มีบทบาทมาก คือ กลุ่มญะมาอัต อัล-เตาฮีด วัล-ญิฮาด ที่นำโดยนายอบู มูสอับ อัล-ซอร์กาวี ซึ่งมุ่งโจมตีสหรัฐฯ และรัฐบาลชีอะห์ของอิรัก ทำให้ได้รับการสนับสนุนจากชาวซุนนีในอิรักเป็นจำนวนมาก ปฏิบัติการของกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงได้นำไปสู่การปราบปรามจากสหรัฐฯ จนกระทั่ง ค.ศ. 2006 ซอร์กาวีเสียชีวิตจากการโจมตี หลังจากนั้นถือได้ว่าเป็นช่วงที่กลุ่มนี้พยายามฟื้นฟูความเข้มแข็งจากการโดนโจมตีและปรับภาพลักษณ์ของกลุ่มให้มีความเป็นอิรักมากขึ้น โดยเปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็น กลุ่มรัฐอิสลามแห่งอิรักหรือไอเอสไอ และมีเป้าหมายใหญ่ขึ้น คือ การตั้งรัฐอิสลามในอิรัก จนเมื่อนายอบู บักร อัล-บัฆดาดี ขึ้นเป็นผู้นำกลุ่มใน ค.ศ. 2010 โดยมียุทธศาสตร์เร่งฟื้นฟูความเข้มแข็งของกลุ่ม กลุ่มจึงฟื้นตัวได้มากขึ้น และเมื่อสหรัฐฯ ถอนทหารออกจากอิรักใน ค.ศ. 2011 กลุ่มไอเอสไอก็สามารถระดมนักรบและเพิ่มจำนวนปฏิบัติการในอิรัก เมื่อเกิดสงครามกลางเมืองในซีเรียในปีเดียวกัน กลุ่มไอเอสไอจึงขยายปฏิบัติการเข้าไปในซีเรีย เพื่อต่อต้านรัฐบาลซีเรีย และเปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็น กลุ่มรัฐอิสลามแห่งอิรักและซีเรีย หรือ ไอซิส กลุ่มไอซิสสามารถยึดพื้นที่ได้เป็นจำนวนมากและนำไปสู่การประกาศตั้งรัฐอิสลาม และ เปลี่ยนชื่อเป็น กลุ่มรัฐอิสลาม หรือ ไอเอส ใน ค.ศ. 2014 จากนั้น กลุ่มได้ขยายปฏิบัติการออกไปนอกอิรักและซีเรีย ทำให้นานาประเทศผนึกกำลังกันเพื่อปราบปราม จนในที่สุด ใน ค.ศ. 2017 รัฐอิสลามที่จัดตั้งขึ้นได้ล่มสลาย กลุ่มไอเอสจึงเกือบหมดบทบาทลงในอิรักและซีเรีย