ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก

Permanent URI for this collection

บทความวิชาการ บทความวิจัย วิทยานิพนธ์ และงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออก

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 5 of 44
No Thumbnail Available
Publication

อิทธิพลของญี่ปุ่นที่ส่งผลต่อกระบวนการสร้างความเป็นสมัยใหม่ของชาวจีนในปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20

จุฬาลักษณ์ ปลื้มปัญญา, Chulaluk Pleumpanya (2014)

แม้ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ของจีนกับญี่ปุ่นมีความขัดแย้งระหว่างกันนับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งของประวัติศาสตร์ ทั้งสองประเทศกลับมีรูปแบบความสัมพันธ์ที่น่าสนใจ ด้วยความสําเร็จของการสร้างความเป็นสมัยใหม่ของญี่ปุ่นทําให้จีนมีความสนใจในประเทศเพื่อนบ้านแห่งนี้เป็นอย่างมาก เมื่อจีนเผชิญภัยจากต่างชาติมากขึ้น ชาวจีนรุ่นใหม่เริ่มศึกษาญี่ปุ่น โดยการเดินทางเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านแห่งนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งชาวญี่ปุ่นเองก็ได้ต้อนรับชาวจีนด้วยความยินดีภายใต้แนวคิดสหเอเชียนิยม (Pan-Asianism) แต่ในขณะเดียวกัน ด้วยแนวคิดดาร์วินทางสังคม (Social Darwinsiam) ทําา ให้ชาวญี่ปุ่นมองชาวจีนด้วยความดูถูก สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลชาวจีนพัฒนากระบวนการสร้างความเป็นสมัยใหม่ภายใต้อิทธิพลของญี่ปุ่น เพื่อทําให้จีนกลับมาเป็นชาติที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งด้วยลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์

No Thumbnail Available
Publication

หลิวเส้าฉี: การต่อสู้สองแนวทางและการปฏิวัติวัฒนธรรม

สิทธิพล เครือรัฐติกาล, Sitthiphon Kruarattikan, สุกัญญา บำรุงสุข, Sukanya Bamrungsuk (2013)

“การต่อสู้สองแนวทาง” เป็นกรอบที่นักวิชาการจํานวนไม่น้อยใช้วิเคราะห์การเมืองในหมู่ชนชั้นนําของจีนก่อนเกิดการปฏิวัติวัฒนธรรมใน ค.ศ. 1966 โดยฉายภาพให้เห็นความขัดแย้งระหว่างแนวคิดที่เน้นการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตงผู้เป็นประธานพรรคคอมมิวนิสต์กับแนวคิดที่เน้นผลสัมฤทธิ์ของหลิวเส้าฉีผู้เป็นประธานาธิบดี อย่างไรก็ตาม บทความนี้ต้องการ แสดงให้เห็นว่าในช่วงครึ่งแรกของทศวรรษ 1960 หลิวยังคงปรึกษาหารือกับเหมาในเรื่องที่สําคัญโดยเหมาเป็นผู้ให้ความเห็นชอบสูงสุด และถือได้ว่าเหมามีบทบาทครอบงําการเมือง ในช่วงดังกล่าว การตกจากอํานาจของหลิวในยุคปฏิวัติวัฒนธรรมจึงมิได้เกิดจากความพ่ายในการต่อสู้ระหว่างสองแนวทาง หากแต่เกิดจากเหตุการณ์ “กระแสทวนเดือนกุมภาพันธ์” เมื่อ ค.ศ. 1967 ที่ทําให้เหมาจําเป็นต้องเน้นย้ำความชอบธรรมของการปฏิวัติวัฒนธรรมด้วยการใช้หลิวเป็นเป้าหมายหลักในการโจมตี

No Thumbnail Available
Publication

อิทธิพลตะวันตกกับจักรวรรดินิยมญี่ปุ่น

ศิริพร ดาบเพชร, Siriporn Dabphet, โดม ไกรปกรณ์, Dome Kraipakorn (2016)

บทความนี้ศึกษาอิทธิพลตะวันตกที่มีต่อการเกิดขึ้นและการขยายอํานาจของจักรวรรดินิยมญี่ปุ่น ผลการศึกษาพบว่าการเกิดขึ้นของจักรวรรดินิยมญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจักรวรรดินิยมตะวันตก ทั้งแนวคิดชาตินิยม ทฤษฎีการคัดเลือกตามธรรมชาติของดาร์วิน รวมถึงแนวคิดด้านเชื้อชาติ ทําให้จักรวรรดินิยมญี่ปุ่นขยายอํานาจบนพื้นฐานแนวคิดว่าชาติที่อ่อนแอกว่าย่อมต้องถูกปกครองโดยผู้ที่เหนือกว่า ซึ่งชาวญี่ปุ่นถือว่าตนมีความเหนือกว่าชาวเอเชียชาติอื่น และญี่ปุ่นมีความเจริญกว่า ญี่ปุ่นเข้าไปปกครองเพื่อนําความศิวิไลซ์ไปให้ ในทํานองเดียวกับแนวคิดของจักรวรรดินิยมตะวันตก และแนวคิดภาระของคนผิวขาวที่กลายเป็นข้ออ้างหนึ่งในการขยายอํานาจของจักรวรรดินิยมตะวันตก นอกจากนี้ ญี่ปุ่นขยายอิทธิพลไปยังดินแดนอื่นด้วยจุดประสงค์เดียวกับจักรวรรดินิยมตะวันตก คือ เพื่อความมั่นคงปลอดภัย เพื่อเกียรติยศของชาติ เพื่อทรัพยากรที่จะใช้ในอุตสาหกรรม เพื่อหาตลาดสําหรับสินค้าญี่ปุ่น และเพื่อหาที่ตั้งถิ่นฐานของประชากรญี่ปุ่นที่มีจํานวนมาก

No Thumbnail Available
Publication

สุขภาพแข็งแรงแบบญี่ปุ่น การส่งเสริมกายบริหารประกอบดนตรี (Radio Taiso) ของญี่ปุ่นในอินโดนีเซียช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา (ค.ศ. 1942 1945)

กษิดิศ วงษ์ลิขิตธรรม (2014)

บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการอธิบายการส่งเสริมกิจกรรมกายบริหารประกอบดนตรี (Radio Taiso) ภายในหมู่เกาะอินโดนีเซียภายใต้การดูแลของรัฐบาลกองทัพญี่ปุ่นช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ค.ศ. 1942-1945 ในฐานะส่วนหนึ่งของแผนวงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา รัฐบาลกองทัพญี่ปุ่นใช้กิจกรรมกายบริหารประกอบดนตรีแก่คนพื้นเมืองเพื่อสงเสริมสุขภาวะที่ดีควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อมในการทำศึกสงคราม และส่งเสริมอัตลักษณ์อินโดนีเซียด้วยวิธีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อของรัฐ การศึกษา และกิจกรรมแข่งขันกีฬารายการต่าง ๆ โดยการส่งเสริมกิจกรรมกายบริหารประกอบดนตรีของรัฐบาลกองทัพญี่ปุ่นมีความสอดคล้องกับนโยบายทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงตามสภาวะสงครามตลอดระยะเวลา 3 ปี

No Thumbnail Available
Publication

อาชีวิกะในอินเดียยุคต้น: ศึกษาวิถีชีวิตและแนวคิดทางปรัชญาของอาชีวิกะ

สุมาลี มหณรงค์ชัย, Sumalee Mahanarongchai, อนันต์ชัย เลาหะพันธุ, Anantjai Lauhabandhu (2019)

บทความวิจัยชิ้นนี้สำรวจวิถีชีวิตและสถานภาพของนักบวชประเภทอาชีวิกะในอินเดียยุคต้นก่อนสมัยพุทธกาล นอกจากนั้นยังศึกษาแนวคิดทางปรัชญาชุดสำคัญ คุณูปการ และอิทธิพลของนักบวชอาชีวิกะที่มีต่อสังคมอินเดีย จากการศึกษาพบว่า อาชีวิกะเป็นนักบวชกลุ่มหนึ่งในสมณะสามฝ่าย คือพุทธ เชน และอาชีวิกะ ที่สามารถตั้งมั่นอยู่ในอินเดียโบราณได้นานกว่าหนึ่งพันปี คำสอนของครูอาชีวิกะยุคพุทธกาลประกอบด้วยแนวคิดโชคชะตานิยมของครูมักขลิ โคสาละ แนวคิดนิยัติ – อกิริยวาท ของครูปูรณะ กัสสปะ และแนวคิดปรมาณูนิยมของครูปกุธะ กัจจายนะ แนวคิดเหล่านี้มีคุณูปการต่อวิธีการคิดแบบวิทยาศาสตร์ อีกทั้งมีอิทธิพลต่อชาวบ้านที่ดำเนินชีวิตอยู่ภายใต้ระบบวรรณะ