Publication:
การศึกษาแนวคิดความสัตย์จริงในลัทธิขงจื่อผ่านคัมภีร์จงยง

dc.contributor.authorกนกพร นุ่มทอง
dc.contributor.authorNumtong, Kanokpornen
dc.date.accessioned2023-12-15T14:36:49Z
dc.date.available2023-12-15T14:36:49Z
dc.date.issued2021
dc.date.issuedBE2564
dc.description.abstractคัมภีร์จงยงเป็นหนึ่งในสี่จตุรปกรณ์ ซึ่งเป็นคัมภีร์สำคัญของลัทธิขงจื่อมีความสำคัญในวัฒนธรรมจีน เนื่องจากแสดงหลักการประพฤติปฏิบัติที่เหมาะสมแน่นอน เป็นการเชื่อมโยงแนวคิดสู่การปฏิบัติ จื่อซือผู้นิพนธ์คัมภีร์ดังกล่าวเป็นทายาทสายตรงของขงจื่อ ได้สืบทอดแนวคิดจงยงหรือความเหมาะสมที่แน่นอนมาจากขงจื่อและสร้างแนวคิดความสัตย์จริงให้เป็นคุณธรรมสูงสุด โดยถ่ายทอดไว้ในคัมภีร์จงยง บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องความสัตย์จริงในลัทธิขงจื่อผ่านคัมภีร์จงยง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยในรูปแบบของการวิเคราะห์และตีความตัวบททุกบทที่ปรากฏคำว่า “เฉิง” (ความสัตย์จริง) ในคัมภีร์จงยง และนำมาเชื่อมโยงและสรุปเป็นขั้นตอนที่เป็นรูปธรรมและเข้าใจง่าย ผลการวิจัยพบว่า ความสัตย์จริงตามคัมภีร์จงยงเป็นความจริงแท้แน่นอนไม่ผันเปลี่ยน ความสัตย์จริงเป็นธรรมวิถีแห่งฟ้า การทำให้ถึงความสัตย์จริงเป็นธรรมวิถีสูงสุดของมนุษย์ ความสัตย์จริงจะทำให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในการอบรมตน เมื่อบรรลุถึงความสัตย์จริงแล้วก็จักสามารถขยายสู่คุณธรรมด้านอื่นๆ ได้ ความสัตย์จริงเป็นคุณธรรมทั้งสำหรับผู้ปกครองและคนทั่วไป หากคนทั่วไปเข้าถึงได้ก็สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างราบรื่น หากผู้ปกครองเข้าถึงความสัตย์จริงก็จักสามารถปกครองบ้านเมืองให้สุขสงบได้
dc.description.abstractThe Doctrine of the Mean is one of the Four Chaturapakorn Scriptures (The Four Books from "The Four Books and Five Classics" in Confucianism), a principal scripture of Confucianism, which is the central pillar of Chinese culture, for it shows the indisputable principles of proper behavior and displays the connections between concepts and practices. Zisi, the author of the doctrine, was a direct descendant of Confucius. He inherited the idea of the Mean, or absolute suitability from Confucius, elevated the concept of truthfulness as the highest virtue, and propagated this view in the Doctrine of the Mean. This research paper aims to study the concept of truthfulness in Confucianism through the Doctrine of the Mean by a research methodology involving analyzing and interpreting the content in every chapter in which the word "Cheng" (truthfulness) appeared and linking the data and drawing conclusions from all details to create an exposition that would facilitate understanding. The research results show that truthfulness in the Doctrine of the Mean is absolute and unchanging truth. Truthfulness is the way of heaven. To reach truthfulness is the highest way of virtue of humankind. Truthfulness will enable humans to succeed in their self-training, and when truthfulness is achieved, it can be expanded to other virtues. Truthfulness is a virtue for both rulers and common people. If ordinary people can achieve truthfulness, they will live serenely in society. Likewise, if rulers achieve truthfulness, they will be able to govern in such a way that peace and happiness will prevail in their realm.en
dc.identifier.urihttps://harrt.in.th/handle/123456789/4296
dc.language.isoth
dc.subjectลัทธิขงจื่อ
dc.subjectธรรมวิถี
dc.subjectคัมภีร์จงยง
dc.subjectความสัตย์
dc.subjectConfucianism
dc.subjectThe Virtuous Way
dc.subjectThe Doctrine Of Mean
dc.subjectTruthfulness
dc.subject.isced0314 สังคมวิทยาและวัฒนธรรมศึกษา
dc.subject.oecd6.3 ปรัชญา จริยธรรมและศาสนา
dc.titleการศึกษาแนวคิดความสัตย์จริงในลัทธิขงจื่อผ่านคัมภีร์จงยง
dc.title.alternativeThe The Study of the Concept of Truthfulness in Confucianism through the Doctrine of Meanen
dc.typeบทความวารสาร (Journal Article)
dspace.entity.typePublication
harrt.itemID681
harrt.researchAreaวัฒนธรรมจีน
harrt.researchGroupภาษาจีน
harrt.researchTheme.1ศาสนา หลักคุณธรรม ความเชื่อและปรัชญา
mods.location.urlhttps://so04.tci-thaijo.org/index.php/abc/article/view/244495
oaire.citation.endPage309
oaire.citation.issue1
oaire.citation.startPage288
oaire.citation.titleวารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ
oaire.citation.titleManutsayasat Wichakanen
oaire.citation.volume28
Files