Publication:
กริยา ขึ้น และ ลง ในภาษาไทย

dc.contributor.authorโสภาวรรณ แสงไชย
dc.contributor.authorSophawan Sangchaien
dc.date.accessioned2023-12-16T14:38:47Z
dc.date.available2023-12-16T14:38:47Z
dc.date.issued1994
dc.date.issuedBE2537
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความหมายที่หลากหลายของกริยารอง ขึ้น และ ลง ในภาษาไทย เพื่อหาความสัมพันธ์ขอความหมายเหล่านั้น นอกจากนี้จะศึกษาประเภทกริยานำ เพื่อพิสูจน์ว่าความหมายของกริยารอง ขึ้นอยู่กับความหมายของกริยานำ ผลการวิจัย พบว่า กริยารอง ขึ้น และ ลง มีความหมาย 3 นัยคือ ความหมายโดยตรง ความหมายอุปมา และความหมายโดยนัย ความหมายโดยตรงมี 3 ประการได้แก่ 1. ความหมายบอกแนวผ่านและทิศทางในแนวตั้ง 2. ความหมายของการเปลี่ยนแปลงระดับของปราณหรือคุณสมบัติ 3. ความหมายของการปรากฏ หรือการหายไป ความหมายประการแรกเป็นความหมายต้นแบบบอกแนวผ่านและทิศทางในแนวตั้งของการเคลื่อนที่ ความหมายต้นแบบได้มีการเคลื่อนย้ายไปสู่ความหมายอุปมาในความหมายประการที่สองและที่สาม นอกจากนี้ ความหมายอุปมาของกริยารองยังทำให้เกิดความหมายแฝงที่แสดงทัศนคติของผู้พูดด้วย โดยกริยารอง ขึ้น แสดงทัศนคติที่ดี กริยารอง ลง แสดงทัศนคติที่ไม่ดี นอกจากนี้ ขึ้น และ ลง ยังบอกความหมายโดยนัยด้วยความหมายบอกการณ์ลักษณะซึ่งมี2 อย่างคือ การณ์ลักษณะสมบูรณ์ และการณ์ลักษณะที่ไม่สมบูรณ์ เมื่อศึกษากริยานำ พบว่าความหมายของกริยานำเป็นปัจจัยกำหนดความหมายของกริยารอง ถ้ากริยานำ เป็นกริยาบอกการกระทำ กริยารองจะบอกความหมายทั้งแนวผ่านและทิศทางในแนวตั้ง ถ้ากริยานำเป็นกริยาบอกสภาพหรือคุณสมบัติ กริยารองจะบอกการเปลี่ยนแปลงระดับของปริมาณหรือคุณสมบัติ ถ้ากริยานำเป็นกริยาบอกกระบวนการ กริยารอง ขึ้น จะบอกความหมายของการปรากฏ และความหมายของการณ์ลักษณะสมบูรณ์ ในขณะที่กริยารอง ลง จะบอกความหมายของการหายไป และการณ์ลักษณะที่สมบูรณ์
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความหมายที่หลากหลายของกริยารอง ขึ้น และ ลง ในภาษาไทย เพื่อหาความสัมพันธ์ขอความหมายเหล่านั้น นอกจากนี้จะศึกษาประเภทกริยานำ เพื่อพิสูจน์ว่าความหมายของกริยารอง ขึ้นอยู่กับความหมายของกริยานำ ผลการวิจัย พบว่า กริยารอง ขึ้น และ ลง มีความหมาย 3 นัยคือ ความหมายโดยตรง ความหมายอุปมา และความหมายโดยนัย ความหมายโดยตรงมี 3 ประการได้แก่ 1. ความหมายบอกแนวผ่านและทิศทางในแนวตั้ง 2. ความหมายของการเปลี่ยนแปลงระดับของปราณหรือคุณสมบัติ 3. ความหมายของการปรากฏ หรือการหายไป ความหมายประการแรกเป็นความหมายต้นแบบบอกแนวผ่านและทิศทางในแนวตั้งของการเคลื่อนที่ ความหมายต้นแบบได้มีการเคลื่อนย้ายไปสู่ความหมายอุปมาในความหมายประการที่สองและที่สาม นอกจากนี้ ความหมายอุปมาของกริยารองยังทำให้เกิดความหมายแฝงที่แสดงทัศนคติของผู้พูดด้วย โดยกริยารอง ขึ้น แสดงทัศนคติที่ดี กริยารอง ลง แสดงทัศนคติที่ไม่ดี นอกจากนี้ ขึ้น และ ลง ยังบอกความหมายโดยนัยด้วยความหมายบอกการณ์ลักษณะซึ่งมี2 อย่างคือ การณ์ลักษณะสมบูรณ์ และการณ์ลักษณะที่ไม่สมบูรณ์ เมื่อศึกษากริยานำ พบว่าความหมายของกริยานำเป็นปัจจัยกำหนดความหมายของกริยารอง ถ้ากริยานำ เป็นกริยาบอกการกระทำ กริยารองจะบอกความหมายทั้งแนวผ่านและทิศทางในแนวตั้ง ถ้ากริยานำเป็นกริยาบอกสภาพหรือคุณสมบัติ กริยารองจะบอกการเปลี่ยนแปลงระดับของปริมาณหรือคุณสมบัติ ถ้ากริยานำเป็นกริยาบอกกระบวนการ กริยารอง ขึ้น จะบอกความหมายของการปรากฏ และความหมายของการณ์ลักษณะสมบูรณ์ ในขณะที่กริยารอง ลง จะบอกความหมายของการหายไป และการณ์ลักษณะที่สมบูรณ์en
dc.identifier.urihttps://harrt.in.th/handle/123456789/8647
dc.language.isoth
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักงานวิทยทรัพยากร
dc.publisher.placeกรุงเทพมหานคร
dc.subjectSubsidiary Verb
dc.subjectDirection
dc.subjectSemantics
dc.subjectSerial Verb Construction
dc.subject.contentCoverageTHA - ไทย
dc.subject.isced0232 วรรณคดีและภาษาศาสตร์
dc.subject.oecd6.2 ภาษาและวรรณคดี
dc.titleกริยา ขึ้น และ ลง ในภาษาไทย
dc.title.alternativeSubsidiary verbs khin3 ASCEND and L on 1 DESCEND in Thaien
dc.typeวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท (Master Thesis)
dspace.entity.typePublication
harrt.itemID221
harrt.researchAreaภาษาศาสตร์ทฤษฎี (Theoretical Linguistics)
harrt.researchGroupภาษาศาสตร์
harrt.researchTheme.1อรรถศาสตร์ (Semantics)
mods.location.urlhttps://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=549027
thesis.degree.departmentคณะอักษรศาสตร์
thesis.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Files