Publication:
การตีความแนวคิดเรื่องพรหมในพุทธปรัชญาเถรวาท

dc.contributor.authorพระนรินทร์ สีลเตโช (สาไชยันต์)
dc.contributor.authorPhra Narin Silatejo (Sachayan)en
dc.date.accessioned2023-12-16T06:44:03Z
dc.date.available2023-12-16T06:44:03Z
dc.date.issued2018
dc.date.issuedBE2561
dc.description.abstractการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์(๑)เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องพรหมในพุทธปรัชญาเถรวาท (๒)เพื่อศึกษาการตีความ (๓) เพื่อวิเคราะห์การตีความแนวคิดเรื่องพรหมในพุทธปรัชญาเถรวาท ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยเก็บข้อมูลจากเอกสาร แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยวิธีพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี ผลการวิจัยพบว่า ๑. แนวคิดเรื่องพรหมในพุทธปรัชญาเถรวาทแบ่งพรหมออกเป็น ๒ ประเภท คือ (๑) พรหมในฐานะที่เป็นบุคลาธิษฐาน และ(๒) พรหมในฐานะที่เป็นธรรมาธิษฐาน ๒.การตีความแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ๑) การตีความทางศาสนาเป็นการตีความเฉพาะกลุ่ม และ ๒) การตีความแบบสากล โดยใช้ วิภัตติหาระในเนติปกรณ์และทฤษฎีการตีความเชิงรื้อโครงสร้างนิยมของเดอร์ริดา ๓.การวิเคราะห์การตีความแนวคิดเรื่องพรหมในพุทธปรัชญาเถรวาทโดยใช้การตีความแบบวิภัตติหาระในเนติปกรณ์ และการตีความเชิงการรื้อโครงสร้างนิยมของเดอร์ริดา พบว่า ๑) การตีความพรหมในฐานะเป็นบุคลาธิษฐานหมายถึงมนุษย์ที่ฝึกจิตด้วยสมถกรรมฐานจนได้ฌาน เมื่อละจากโลกนี้ไปในขณะที่ฌานไม่เสื่อมจะไปบังเกิดในพรหมโลกทั้ง ๒๐ ขั้นตามกำลังของฌานและ๒)การตีความพรหมฐานะเป็นธรรมาธิษฐานหมายถึงบุคคลที่ได้ปฏิบัติจนเข้าถึงความบริสุทธิ์ ๒ ระดับ คือ ๑) ความบริสุทธิ์ด้วยพรหมวิหารธรรม ๔ ได้แก่ มารดาบิดา และความบริสุทธิ์ด้วยฌาน ๔ ได้แก่พรหมในพรหมโลก ๒๐ ชั้น และ๒) ความบริสุทธิ์ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวก
dc.description.abstractThe aims of this research were: 1) to study the concepts of Brahma in Theravada Buddhismen
dc.description.abstract2) to study hermeneuticsen
dc.description.abstract3) to analyze the interpretation of the concepts of Brahma in Theravada Buddhism. This study was a documentary research conducted by the study of relevant documents and the gathered data were interpreted by the descriptive analysis based on the analytic induction. The research results were as follows: 1) The concepts of Brahma in Theravada Buddhism is divided into two types of Brahma characteristics: 1) Brahma as teaching with reference to ideas (pugaladhiṭṭhāna)en
dc.description.abstract2) Brahma as exposition in terms of ideas (dhammādhiṭṭhāna). 2) The interpretation is divided into two categories: 1) religious interpretation in a specific groupen
dc.description.abstract2) universal interpretation by using the principles of dhamma classification (vibhattihāra) in the Netipakaraṇa text and the deconstruction theory of Derrida. 3) Based on the analysis of the interpretation or hermeneutics of the concept ‘Brahma’ in Theravada Buddhism by dhamma classification (vibhattihāra) in the Nettipakaraṇa text and the deconstruction theory of Derrida, it was found that 1) the interpretation of Brahma in terms of using teaching with reference to ideas refers the Brahma as the human beings with Jhāna (absorption) attainmenten
dc.description.abstractafter passing away from this world during existence of the Jhāna, they are born in 20 Brahma realms based on the power of the Jhāna they attaineden
dc.description.abstract2) the interpretation of Brahma by exposition in terms of ideas refers the Brahma as the person with two level purity attainment: 1) the person who attained the purity by the sublime states of mind (brahmavihāra) such as mother, father and attained the purity of the four Jhānas including the brahma existing in 20 brahma realmsen
dc.description.abstract2) the person with the purity by the Eightfold Paths (ariyamagga) including the Buddha and his arahant disciples.en
dc.identifier.urihttps://harrt.in.th/handle/123456789/5168
dc.language.isoth
dc.subjectพระพรหม
dc.subjectการตีความ
dc.subjectเนตติปกรณ์
dc.subject.isced0223 ปรัชญาและจริยธรรม
dc.subject.oecd6.3 ปรัชญา จริยธรรมและศาสนา
dc.titleการตีความแนวคิดเรื่องพรหมในพุทธปรัชญาเถรวาท
dc.title.alternativeA Hermeneutics the Concept of Brahma in Theravada Buddhist Philosophyen
dc.typeวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก (Doctoral Thesis)
dspace.entity.typePublication
harrt.itemID60
harrt.researchAreaปรัชญาพุทธเถรวาท
harrt.researchGroupปรัชญา
harrt.researchTheme.1ปรัชญาศาสนา
harrt.researchTheme.2ปรัชญาพุทธเถรวาท
mods.location.urlhttp://khonkaen.mcu.ac.th/site/thesiscontent_desc.php?ct=1&t_id=3956
thesis.degree.departmentบัณฑิตวิทยาลัย
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
thesis.degree.levelปริญญาเอก
thesis.degree.nameพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Files