Publication: รายการเรียลลิตี้จีนชุด “My Dearest Ladies”: ภาพสะท้อนค่านิยมความสัมพันธ์ระหว่างแม่สามี ลูกชาย และลูกสะใภ้ ในครอบครัวชาวจีนยุคปัจจุบัน
dc.contributor.author | กมลชนก โตสงวน | |
dc.contributor.author | Tosanguan, Kamonchanok | en |
dc.date.accessioned | 2023-12-15T14:37:13Z | |
dc.date.available | 2023-12-15T14:37:13Z | |
dc.date.issued | 2022 | |
dc.date.issuedBE | 2565 | |
dc.description.abstract | บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างแม่สามี ลูกชาย และลูกสะใภ้ ที่สะท้อนผ่านรายการเรียลลิตี้จีนชุด “My Dearest Ladies” (ชื่อภาษาจีน 我最爱的女人们 และ 婆婆和妈妈) รวมถึงประเด็นอื่นที่น่าสนใจ เช่น ลักษณะของแม่สามี การนำเสนอค่านิยมที่ดีให้กับสังคมจีน การคัดเลือกผู้เข้าร่วมรายการ และพัฒนาการของรายการ ผลการศึกษาจากครอบครัว 13 ครอบครัวที่ปรากฏในรายการทั้ง 3 ซีซั่น พบว่าแต่ละครอบครัวมีลักษณะความสัมพันธ์ของสามี ลูกชาย และลูกสะใภ้ที่แตกต่างกัน บางครอบครัวแม่สามีเป็นใหญ่ บางครอบครัวลูกชายเป็นใหญ่ บางครอบครัวลูกสะใภ้เป็นใหญ่ ซึ่งทุกครอบครัวจะมีผู้รับบทบาทเป็นคนกลางเพื่อประนีประนอมและไกล่เกลี่ยความสัมพันธ์ในครอบครัว สำหรับครอบครัวที่ลูกเขยแต่งเข้าบ้านภรรยาและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับแม่ภรรยาจะปรากฏความขัดแย้งน้อยกว่าครอบครัวที่ลูกสะใภ้ ใช้ชีวิตร่วมกับแม่สามี แม่สามีที่ปรากฏในรายการส่วนมากมีลักษณะของ “แม่สามีที่ดี” ได้แก่ จิตใจดี อารมณ์ดี มีเมตตา ยอมรับความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ มีเหตุผล เคารพผู้อื่น เป็นต้น ประเด็นแฝงที่น่าสนใจ ได้แก่ รายการได้นำเสนอค่านิยมที่ดีให้กับสังคมจีนในด้านการดูแล เอาใจใส่สุขภาพของพ่อแม่ผู้สูงอายุในครอบครัว แม่สามีสนับสนุนให้ลูกชายดูแลลูกสะใภ้ ลูกสะใภ้มีความแตกต่างจากค่านิยมเดิมของจีนได้ เช่น ลูกสะใภ้มีอายุมากกว่าลูกชาย ลูกสะใภ้เคยแต่งงานหรือเคยมีลูกมาแล้ว และลูกเขยสามารถแต่งงานเข้าไปอยู่ร่วมกับครอบครัวของภรรยาได้ นอกจากนั้น ยังมีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมรายการที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แต่รายการยังคงเน้นย้ำให้อยู่ภายใต้นโยบายจีนเดียว รวมถึงพัฒนาการของรายการทั้ง 3 ซีซั่น ที่มีรูปแบบเปลี่ยนไปเนื่องด้วยสถานการณ์โควิด 19 และ การนำเสนอประเด็นที่หลากหลายกว่าซีซั่นแรก | |
dc.description.abstract | This article aims to examine the relationship between mothers-in-law, sons, and daughters-in-law as reflected in the Chinese reality show “My Dearest Ladies”. Other issues such as the mothers-in-law’s characters, the presentation of good values to Chinese society, participant selection, and the show development were also studied. The results found that the thirteen families that appeared in the show in all three seasons, reflected how each family had different types of relationships. In some families, the mothers-in-law were dominant, some were the sons and some were the daughters-in-law. Thus, each family would have a person who played a mediator role in compromising problems between family members. It also found that the family where the son-in-law entered the wife's home living together with the mother-in-law would possibly have less conflict than the family where the daughter-in-law lived with the mother-in-law. Most of the mothers-in-law on the show had the characteristics of “Good mother-in-law”. They had kind-hearted, good-humored, compassionate, accepting of the opinions of the new generation, reasonable, respected others, etc.The program also smoothly presented interesting hidden agendas to promote good cultural values to Chinese people that included health-caring for elderly parents, and the mother-in-law’s encouraging her son to take care of her daughter-in-law. Moreover, the daughters-in-law could be diverse from the traditional Chinese values, for example, the daughters-in-law could be older than the sons, and some of them might be married or had children before, and a man could marry and live with his wife's family. Moreover, the show tended to select culturally diverse participants, yet still stay under the One China policy. Although the development of the show in all three seasons has changed due to the Covid-19 situation, the show could manage to present more diverse issues than in the first season. | en |
dc.identifier.uri | https://harrt.in.th/handle/123456789/4330 | |
dc.language.iso | th | |
dc.subject | รายการเรียลลิตี้จีน | |
dc.subject | My Dearest Ladies | |
dc.subject | ความสัมพันธ์ในครอบครัว | |
dc.subject | แม่สามี | |
dc.subject | ลูกสะใภ้ | |
dc.subject | Chinese Reality Show | |
dc.subject | My Dearest Ladies | |
dc.subject | Family Relationship | |
dc.subject | Mother-In-Law | |
dc.subject | Daughter-In-Law | |
dc.subject.isced | 0314 สังคมวิทยาและวัฒนธรรมศึกษา | |
dc.subject.oecd | 6.4 ศิลปะ | |
dc.title | รายการเรียลลิตี้จีนชุด “My Dearest Ladies”: ภาพสะท้อนค่านิยมความสัมพันธ์ระหว่างแม่สามี ลูกชาย และลูกสะใภ้ ในครอบครัวชาวจีนยุคปัจจุบัน | |
dc.title.alternative | The Chinese Reality Show “My Dearest Ladies”: A Reflection on the Relationship Between Mother-in-law, Son, and Daughter-in-law in Modern Chinese Families | en |
dc.type | บทความวารสาร (Journal Article) | |
dspace.entity.type | Publication | |
harrt.itemID | 687 | |
harrt.researchArea | วัฒนธรรมจีน | |
harrt.researchGroup | ภาษาจีน | |
harrt.researchTheme.1 | สังคม ค่านิยม | |
mods.location.url | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawarathjo/article/view/257052 | |
oaire.citation.issue | 2 | |
oaire.citation.title | LAWARATH SOCIAL E – JOURNAL | |
oaire.citation.volume | 4 |