Publication: บทบาทด้านการแปลของมิสชันนารีฝรั่งเศสสมัยสยามปฏิรูป (พ.ศ. 2411-2453)
dc.contributor.author | กันตพงศ์ จิตต์กล้า | |
dc.date.accessioned | 2023-12-14T13:43:13Z | |
dc.date.available | 2023-12-14T13:43:13Z | |
dc.date.issued | 2014 | |
dc.date.issuedBE | 2557 | |
dc.description | บทความวิชาการ/บทความวิจัย | |
dc.description.abstract | เป็นเวลากว่าหนึ่งศตวรรษที่มิสชันนารีฝรั่งเศสคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส [Missions Étrangères de Paris] ได้เข้ามาลงหลักปักฐานอย่างเข้มแข็งพร้อมกับการพัฒนาวิชาการในยุคของพระสังฆราช ฌอง-หลุยส์ เวย์ [Mgr. Jean-Louis Vey] ผู้สถาปนาระบบการศึกษาตะวันตกในสยามและจัดตั้งโรงเรียนนานาชาติ ในช่วงเดียวกับกับที่สยามปฏิรูปประเทศ อีกทั้งยังดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสยามสมาคม [Siam Society] เมื่อสยามปฏิรูปประเทศ ซึ่งมีผลจากการเปิดรับชาติตะวันตก การติดต่อสื่อสารย่อมต้องอาศัยนักแปลและล่าม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเจรจาต่อรอง การลงนามในสนธิสัญญา ที่ต้องกระทำถึง 3 ภาษาคือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส การจะแปลถ้อยคำหรือข้อความได้ดีนั้น ผู้แปลจะต้องมีความรู้ในภาษาต้นทางและภาษาปลายทางเป็นอย่างดี สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือต้องมีพจนานุกรมซึ่งเป็นเครื่องมืออย่างดีเพื่อช่วยในการแปล มิเช่นนั้นการดำเนินการด้านการเมือง เศรษฐกิจ การค้าต่าง ๆ คงจะเกิดขึ้นมิได้ จึงเป็นสิ่งที่น่าศึกษาว่าคณะมิสชันนารีฝรั่งเศส ผู้อยู่ร่วมยุคร่วมสมัยนั้นได้เข้ามามีบทบาทหรือไม่อย่างไร การศึกษาครั้งนี้ได้ใช้ข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิในหอจดหมายเหตุสำนักมิสซังแห่งกรุงปารีส หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ ห้องสมุดแซงต์เฌอเนอวิแยฟว์ จากการศึกษาพบว่าในสมัยสยามปฏิรูปคณะมิสชันนารีฝรั่งเศสมีบทบาทด้านการแปล 3 ลักษณะ คือ บทบาทในการจัดทำพจนานุกรม บทบาทในการแปลวรรณกรรม และบทบาทในการจัดการศึกษาวิชาการแปล ซึ่งบทบาทดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสและเป็นเชื่อมความสัมพันธ์ฝรั่งเศส-ไทยไม่ให้ยุติลง ยุคสยามปฏิรูปสมัยรัชกาลที่ 5 ขณะที่รัฐบาลฝรั่งเศสมีเรื่องบาดหมางใจกับรัฐบาลสยาม หรือมิสชันนารีบางคนทำให้สยามหวาดระแวง แต่ผู้นำศาสนจักรกลับได้สร้างคุณูปการไว้ให้กับแผ่นดินทั้งในด้านภาษาและการศึกษา หากขาดบุคคลดังกล่าวการทำงานแปลและล่ามตลอดจนการศึกษาที่ทันสมัยสำหรับประชาชนอาจเกิดขึ้นไม่ทันกับการพัฒนาประเทศ | |
dc.description.abstract | For over a century, Missions Étrangères de Paris (Paris Foreign Missions Society), a Christian organization dedicated to missionary works came to Siam. The missionary group had firmly established their society as well as formed and developed academic foundation in Siam with the keen support of Mgr. Jean-Louis Vey, who was not only an honorary member of Siam Society but also the key person to introduce western education and establish an international school during Siam Reformation1868-1910.When Siam was opened for Western diplomatic relations during the reformation period, the cross-cultural communications, largely in trading negotiations and treaty agreements, were achieved by and relied mostly on translators and interpreters. Treaty agreements, for example, would have to always be translated into three languages – Thai, English, and French. For an excellent translator, apart from his or her source language and target language capabilities, a good dictionary would definitely be of great help in translation, otherwise most politic, economic and trading missions would become impossible. It is, therefore, very interesting to find out whether the French missionary group at that period took vital role in these translation activities or not and if they did, how did they do it?The primary sources used in this study were collected from Archives des Missions Etrangères de Paris, Archives of the Archdiocese of Bangkok and Sainte-Geneviève Library. The study showed that during the reformation period, the French missionary played some active roles in translation in three major aspects: 1) making dictionaries, 2) translating literary works and 3) introducing translation studies in Siam. These activities marked the beginning of the teaching and learning French in Siam which helped strengthen the relation between the two countries. During Siam Reformation period, even though there were some political tensions between French and Siam governments and some missionaries may have also brought about some distrusts and suspicions, it was undeniable that Siam benefited extensively from French missionaries in language and education. Without them, translation studies in Thailand would not be developed to keep up with the fast-paced educational reformation of the country. | en |
dc.identifier.uri | https://harrt.in.th/handle/123456789/70 | |
dc.language.iso | th | |
dc.subject | มิสชันนารีฝรั่งเศส | |
dc.subject | การแปล | |
dc.subject | ภาษาฝรั่งเศส | |
dc.subject | พจนานุกรม | |
dc.subject.isced | 0232 วรรณคดีและภาษาศาสตร์ | |
dc.subject.oecd | 6.2 ภาษาและวรรณคดี | |
dc.title | บทบาทด้านการแปลของมิสชันนารีฝรั่งเศสสมัยสยามปฏิรูป (พ.ศ. 2411-2453) | |
dc.title.alternative | The Role of French Missionaries in Translation during the Reformation Period in Siam (1868-1910) | en |
dc.type | บทความวารสาร (Journal Article) | |
dspace.entity.type | Publication | |
harrt.researchArea | การแปลภาษาฝรั่งเศส | |
harrt.researchGroup | ภาษาฝรั่งเศส | |
harrt.researchTheme.1 | การแปลเฉพาะด้าน | |
mods.location.url | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/32295/27584 | |
oaire.citation.endPage | 214 | |
oaire.citation.issue | 3 | |
oaire.citation.startPage | 193 | |
oaire.citation.title | วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น | |
oaire.citation.title | Journal of Humanities & Social Sciences, Khon Kaen University | en |
oaire.citation.volume | 31 |