Publication:
พัฒนาการของอุตสาหกรรมไก่เนื้อในประเทศไทย พ.ศ. 2503-2527

dc.contributor.authorนิติศักดิ์ อัศวโชคอนันท์
dc.contributor.authorNitisak Assawachokananen
dc.coverage.temporal1960-1984
dc.date.accessioned2023-12-16T09:16:31Z
dc.date.available2023-12-16T09:16:31Z
dc.date.issued2013
dc.date.issuedBE2556
dc.description.abstractก่อนทศวรรษ 2500 การผลิตไก่เนื้อในประเทศไทยยังเป็นการเลี้ยงแบบหลังบ้านและเป็นการผลิตที่ยังไม่ได้แยกออกจากการผลิตไก่ไข่ ต่อมาได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานของรัฐให้ประชาชนหันมาเลี้ยงไก่ให้มากขึ้นด้วยการแจกไก่พันธุ์ดีและการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ในหมู่ประชาชน ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดของชนชั้นนำในยุคนั้นว่า หากต้องการพัฒนาการเลี้ยงไก่ในประเทศไทย ก็จำเป็นต้องพึ่งพาและศึกษาหาความรู้ด้านเทคโนโลยีการเฃลี้ยงไก่จากต่างประเทศ ช่วยให้เกิดการเลี้ยงไก่ขึ้นอย่างแพร่หลาย เกิดฟาร์มเลี้ยงไก่เชิงพาณิชย์ที่จำเป็นต้องใช้ไก่พันธุ์ดีและอาหารไก่ที่มีคุณค่าทางโภชนาการในการนำมาเลี้ยง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ต้องการและนำไปจำหน่ายเป็นรายได้ของครอบครัวขึ้นในทศรรษ 2490 แต่การส่งเสริมของรัฐบายไม่ได้ทำให้เกิดการเลี้ยงไก่แบบฟาร์มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ขึ้น และการขยายตัวของฟาร์มเลี้ยงไก่ยังเป็นไปอย่างค่อนข้างจำกัด เนื่องจากในขณะนั้นรัฐบาลยังประสบปัญหาด้านการตลาดให้กับสินค้าไก่เนื้อ การหาแหล่งทุนให้กับเกษตรกร และการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ด้านสัตวบาลในการให้คำแนะนำเรื่องการเลี้ยงไก่แก่เกษตรกรอย่างทั่วถึง อุตสาหกรรมไก่เนื้อของประเทศไทยได้เริ่มพัฒนาขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 2510 เป็นต้นมา โดยมีบริษัทเอกชนผู้ผลิตอาหารสัตว์ซึ่งได้ดำเนินกิจการมาตั้งแต่ก่อนทศวรรษ 2510 บริษัทเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้เริ่มสะสมทุนมาจากธุรกิจการค้าพืชไร่ที่เริ่มขยายตัวในช่วงทศวรรษ 2500 และได้ร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติเพื่อประโยชน์ด้านเทคโนโลยีการผลิตไก่พันธุ์ อาหารสัตว์ การเลี้ยงไก่ และการตลาด ตั้งแต่กลางทศวรรษ 2510 เป็นต้นมา ก่อให้เกิดการพัฒนาด้านลูกไก่พันธุ์และสูตรอาหารไก่ที่ช่วยให้ไก่โตเร็ว มีระยะเวลาในการเลี้ยงสั้น และมีอัตราการแลกอาหารเป็นเนื้อที่ดี ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นของวิทยาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ในการเลี้ยงไก่เนื้อแบบอุตสาหกรรม ปัญหาไข่ไก่ล้นตลาดและราคาตกต่ำในปี พ.ศ. 2503 ส่งผลให้การเลี้ยงไก่เนื้อได้รับความนิยมมากขึ้น จนเกิดฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อโดยเฉพาะขึ้นอย่างแพร่หลายในประเทศไทยและมีการนำลูกไก่เนื้อพันธุ์ดีจากบริษัทต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายและเพาะเลี้ยงไว้เป็นไก่กระทง แต่ด้วยข้อจำกัดในการขยายพันธุ์ไก่ที่เป็นสินค้าของบริษัทต่างประเทศเหล่านี้ ทำให้ฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อจำเป็นต้องพึ่งพากลุ่มบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์และลูกไก่พันธุ์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดภาวะผันผวนของราคาไก่เนื้อในตลาด จนเกิดเป็นธุรกิจฟาร์มเลี้ยงไก่แบบพันธะสัญญา (contract farming) ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาและการขยายตัวของอุตสาหกรรมไก่เนื้อในประเทศไทย กลางทศวรรษ 2510 บริษัทเอกชนผู้ผลิตอาหารสัตว์ได้ขยายกิจการไปสู่ธุรกิจการฆ่าชำแหละเนื้อไก่ อันเป็นธุรกิจปลายน้ำในการผลิตไก่เนื้อแบบครบวงจร ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับการเกิดขึ้นมาก่อนแล้วในสหรัฐอเมริกา บริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์เหล่านี้ได้ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ทันสมัยและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในการลดต้นทุนการผลิตและการหาตลาดในต่างประเทศ โดยได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทต่างประเทศที่ได้ลงทุนร่วมกัน จัดตั้งบริษัทผลิตเนื้อไก่แช่เย็นเพื่อการส่งออกให้ได้มาตรฐานด้านความสะอาดและอนามัย จนไทยกลายเป็นผู้ส่งออกเนื้อไก่แช่เย็นที่สำคัญรายหนึ่งของโลกได้ในกลางทศวรรษ 2520 โดยมีข้อได้เปลี่ยบในการส่งออกสินค้าเหนือประเทศคู่แข็งในด้านค่าและและการขนส่งที่ต่ำ ระยะเวลาในการขนส่งน้อยกว่า และมีความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของตลาดในญี่ปุ่น ขณะที่ผู้บริโภคในประเทศไทยก็ได้รับประโยชน์จากการซื้อสินค้าเนื้อไก่ที่มีราคาถูกลงและมีมาตรฐานด้านความสะอาดในกระบวนการผลิตที่ดีขึ้น
dc.description.abstractBefore 1957 in Thailand, chickens were raised in backyard with rice and food left from people' meals. The chicken raisers produced eggs, as main product, and meat. A broiler farming or only chicken meat producing farm had not happened at all Thai government promoted chicken raiser to citizen through their organizations by distributing good chicken breed for free and suggesting innovative knowledge. This related to the Thai elite at that time the idea to improve poultry production, that Thai chicken raisers needed technology and knowledge from western countries to be successful. This encouraged Thais to raise poultry and increased the number of raised chicken in the country. The commercial chicken farms, which needed qualified chicken breed and full-nutrient feed to produce enough eggs and meat to sell for income, also began to occur. However, no industrialized farming started and the expansion of farms was limited because the government could not solve the problems about marketing, funding and providing enough service about veterinary knowtedge to farmers. The broiler industry in Thailand began after 1967 by industrial feed companies, which invested in producing feed and started capital accumulation from cash crops trade before 1967, and involved in jointventures with big famous foreign companies. These multinational corporations had expertise in broiler production and owned confidential chicken breeding technology. Thai feed firms benefited from their partners and improved the productive broiler breeds and nutrient-rich feed formula, which both helped chickens to be raised in a shorter time and to have a good feed conversion ratio. This showed the necessity of high scientific knowledge and new technology to improve chicken production on an industrial scale. The marketing problem about eggs prices and supply in 1960 encouraged broiler chicken to be popular among poultry raisers. Many broiler farms were established around Thailand and many brand name chicken breeds for special broiler production were imported to be raised and sold, but these brand chicken were sterile. The commercial broiler farmers had to depend on the big companies which produced both these chicken breeds and feed, especially when the chicken price was extremely unstable. Thus this situation benefited the feed firms to expand their business to the broiler contract farming. After 1973, feed producer companies invested in the chicken meat slaughtering and processing business which was the last step to vertical integrated broiler productionen
dc.description.abstractas this was the same model that had happened in the USA before. These companies had the high scientific knowledge, technology and effective management system to reduce the cost and find foreign markets. They had jointventured with foreign companies, mostly Japanese, to improve the hygiene of chicken processing and to reach the food safety standards of importing countries. Finally Thailand successfully became one of chicken meat exporters in the world Thai chicken producers had the advantage of low wages and distribution costs, a shorter time for shipment and the high ability to respond to market needs in Japan. As a result, Thai consumers benefited by having cheaper and hygienic chicken meat.en
dc.identifier.urihttps://harrt.in.th/handle/123456789/7928
dc.language.isoth
dc.subjectอุตสาหกรรมไก่เนื้อ
dc.subjectฟาร์มเลี้ยงไก่เชิงพาณิชย์
dc.subjectอุตสาหกรรมอาหารสัตว์
dc.subjectเนื้อไก่แช่เย็น
dc.subjectBroiler Industry
dc.subjectCommercial Chicken Farm
dc.subjectFeed Industry
dc.subjectFrozen Chicken
dc.subject.isced0222 ประวัติศาสตร์และโบราณคดี
dc.subject.oecd6.1 ประวัติศาสตร์และโบราณคดี
dc.titleพัฒนาการของอุตสาหกรรมไก่เนื้อในประเทศไทย พ.ศ. 2503-2527
dc.title.alternativeDevelopment of broiler industry in Thailand during 1960-1984en
dc.typeวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท (Master Thesis)
dspace.entity.typePublication
harrt.itemID36
harrt.researchAreaประวัติศาสตร์
harrt.researchGroupประวัติศาสตร์
harrt.researchTheme.1ประวัติศาสตร์ไทย
harrt.researchTheme.2ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
mods.location.urlhttp://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:91835
thesis.degree.departmentคณะศิลปศาสตร์
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Files