ประวัติศาสตร์ไทย

Permanent URI for this collection

บทความวิชาการ บทความวิจัย วิทยานิพนธ์ และงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของประเทศไทย

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 5 of 592
No Thumbnail Available
Publication

โอตาคุ (Otaku) ในสังคมไทย: ประวัติศาสตร์การกลายเป็นคนชายขอบทาง วัฒนธรรมของผู้ชื่นชอบการ์ตูนญี่ปุ่น ในช่วงทศวรรษ 2510 ถึงทศวรรษ 2550

โดม ไกรปกรณ์, Dome Kraipakorn, ณัฐพล อิศรางกูร ณ อยุธยา, Nattapol Isarankura Na Ayudthya (2022)

บทความนี้เป็นส่วนหนี่งของงานวิจัยเรื่องโอตาคุในสังคมไทย:ประวัติศาสตร์การกลายเป็นคนชายขอบทางวัฒนธรรมซึ่ง ได้รับทุนจากเงินรายได้คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีการศึกษา 2563 บทความวิจัยนี้ศึกษาประวัติศาสตร์ของ “โอตาคุ” (กลุ่มผู้ชื่นชอบบริโภคการ์ตูน วิดีโอเกม เพลงสมัยนิยมและศิลปินไอดอลญี่ปุ่น การแต่งคอสเพลย์) ในสังคมไทย ซึ่งถูกทําให้เป็น “คนชายขอบทางวัฒนธรรม” (cultural marginalized people) จากกรณีศึกษา ผู้ชื่นชอบการ์ตูน โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1. อธิบายความหมายและความเป็นมาของ “โอตาคุ” ในสังคมไทย 2. อธิบาย กระบวนการที่ “โอตาคุ” ถูกทําให้เป็น “คนชายขอบทางวัฒนธรรม” 3. อธิบายถึงการสร้างพื้นที่ทางสังคม (social space) ของ โอตาคุที่ใช้ในการสื่อสาร ต่อรอง แสดงตัวตน ในอีกมุมหนึ่ง บทความนี้ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการวิเคราะห์ตัวบท (text) เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ หนังสือ วิทยานิพนธ์ เว็บไซต์ต่าง ๆ ประกอบกับการนําเอาแนวคิดทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามา ประยุกต์ใช้ในการตีความข้อมูล จากการศึกษาพบว่า นับตั้งแต่การ์ตูนญี่ปุ่นเข้ามาในสังคมไทย การบริโภคการ์ตูนญี่ปุ่นด้วยความชื่นชอบได้ถูกต่อต้านผ่าน วาทกรรมกระแสหลักว่าการ์ตูนเป็นสิ่งไร้สาระ สิ่งเลวร้าย ทําให้ผู้ที่ชื่นชอบการ์ตูนมีสถานะเป็น “คนชายขอบทางวัฒนธรรม” ใน สถานการณ์ดังกล่าวนี้ผู้ที่ชื่นชอบการ์ตูนและธุรกิจเอกชนเกี่ยวข้องการ์ตูนญี่ปุ่นแปลไทยได้สร้างพื้นที่ทางสังคมในรูปแบบของ กิจกรรมและพื้นที่ออนไลน์ให้ผู้ที่ชื่นชอบวัฒนธรรมโอตาคุได้พบปะ ทํากิจกรรมร่วมกัน แสดงถึงอัตลักษณ์ (identy) ของตนเพื่อต่อ รองกับกระแสสังคมที่เบียดขับให้พวกตนเป็น “คนชายขอบทางวัฒนธรรม”

No Thumbnail Available
Publication

อุตสาหกรรมป่าไม้กับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเมืองแพร่ (ก่อน พ.ศ. 2504)

เหมือนพิมพ์ สุวรรณกาศ (2014)

อุตสาหกรรมป่าไม้เมืองแพร่มีพัฒนาการมาอย่างยาวนานเป็นลำดับตั้งแต่ยุคเจ้านายท้องถิ่นเมืองแพร่ (ก่อน พ.ศ. 2445) ยุคบริษัทต่างชาติ (พ.ศ. 2445-2479) และ ยุคนายทุนท้องถิ่นเมืองแพร่ จนถึงการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ (พ.ศ. 2479-2504) จากการดำเนินอุตสาหกรรมป่าไม้ในเมืองแพร่ได้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของเมืองแพร่มาดดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออุตสาหกรรมป่าไม้ในเมืองแพร่อยู่ภายใต้การดำเนินงานของนายทุนท้องถิ่นเมื่องแพร่ได้ก่อให้เกิดการกระจายตัวทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดขึ้นและขยายตัวของโรงเลื่อย โรงบ่มใบยาสูบ ธนาคาร ตลาด และย่างการค้า

No Thumbnail Available
Publication

เอกสารคำให้การกับการศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา

กำพล จำปาพันธ์, Kampol Champapan, วีรวรรณ วงศ์ปิ่นเพ็ชร์, Weerawan Wongphinphet (2018)

บทความนี้มุ่งนำเสนอผลการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ประเภทคำให้การ ได้แก่ “คำให้การชาวกรุงเก่า”, “คำให้การขุนหลวงหาวัด”, “คำให้ขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม: เอกสารจากหอหลวง” เป็นต้น โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับคุณูปการต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา โดยใช้วิธีวิจัยแบบวิเคราะห์เอกสารตามหลักการศึกษาทางประวัติศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่าเอกสารคำให้การเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่าต่อการเข้าใจสังคมอยุธยาในด้านต่างๆ อาทิ เศรษฐกิจ การค้า วัฒนธรรม ที่สัมพันธ์กับความเป็นเมืองท่าการค้านานาชาติของอยุธยา เช่นเดียวกับเมืองท่าอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคเดียวกัน โดยเอกสารได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของย่านตลาดการค้าและบทบาทการเข้ามาของพ่อค้าต่างชาติต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยา

No Thumbnail Available
Publication

อุดมการณ์ชาตินิยมของนักศึกษาไทยกับการต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2515

อัจฉราพร แสนอาทิตย์, Atchraporn Sanartid (2013)

เหตุการณ์ณรงค์ต่งต้านสินค้าญี่ปุ่นในเดือนพฤศจิกายน 2515 เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญเหตุการณ์หนึ่งในช่วงก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ซึ่งแกนนำในการรณรงค์คือศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุของการหยิบยกเอาประเด็นการต่อต้านสินาญี่ปุ่นของนักศึกษามารณรงค์ ซึ่งผลการศึกษาพบว่าการรณรงค์ต่อต้านสินก้าญี่ปุ่นของนักศึกษาเป็นเครื่งมือที่นักศึกยาใช้แสดงถึงความไม่มีประสิทธิภาพของรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจโดยผ่นการยื่นหนังสือแนวทางการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาล และการนำอุดมการณ์ชาตินิยมทางเศรษฐกิจมาเป็นตัวช่วยในการเรียกร้องความสนใจจากประชาชนและสื่อมวลชน เพื่อสามารถเข้าถึงรัฐบาลและเป็นการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลทางอ้อมด้วย

No Thumbnail Available
Publication

อุตสาหกรรมป่าไม้กับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของเมืองแพร่ (พ.ศ.2479-2504)

เหมือนพิมพ์ สุวรรณกาศ, Mueanphim Suwankart (2013)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของเมืองแพร่ที่ขับเคลื่อนโดยอุตสาหกรรมป่าไม้ ตั้งแต่ยุคที่นายทุนท้องถิ่นเมืองแพร่เข้ามาทำอุตสาหกรรมป่าไม้ใน พ.ศ. 2479 จนถึงการประกาศใช้แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2504 งานศึกษานี้ให้ความสำคัญกับคนสองกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว คือ นายทุนท้องถิ่นเมืองแพร่ และแรงงานป่าไม้ นายทุนท้องถิ่นเมืองแพร่มีการสะสมทุนขั้นต้นจากการค้าวัวต่างและการค้าขายโดยทางรถไฟที่เด่นชัย กระทั่งกลายเป็นลูกช่วงหรือผู้รับเหมาให้กับบริษัทป่าไม้ต่างชาติในเมืองแพร่ (พ.ศ. 2445-2479) นายทุนท้องถิ่นเมืองแพร่เพิ่มจำนวนและทวีบทบาทมากขึ้นเมื่อเกิดองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (พ.ศ. 2490) และบริษัทป่าไม้จังหวัด (พ.ศ. 2498) ส่วนแรงงานป่าไม้ประกอบด้วยชาวขมุและคนท้องถิ่นเมืองแพร่เป็นหลัก ซึ่งทำงานและใช้ชีวิตใน “ปางไม้” ภายใต้การควบคุมของนายทุนท้องถิ่นเมืองแพร่ ที่สืบทอดลักษณะการจัดการมาจากบริษัทต่างชาติ อุตสาหกรรมป่าไม้ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญคือการเกิดและขยายตัวของธุรกิจและการบริการ ทั้งโรงเลื่อย โรงบ่มใบยาสูบ ธนาคาร ตลาด ร้านค้า และโรงแรม การคมนาคมขนส่งและลักษณะทางกายภาพของเมืองแพร่ก็มีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวมากขึ้น อีกทั้งการบริโภคของแรงงานป่าไม้ส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจเมืองแพร่ ทางด้านสังคม อุตสาหกรรมป่าไม้เป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดการขยายตัวทางการศึกษา ทำให้เกิดการก่อตั้งโรงเรียนป่าไม้ วิทยาลัยช่างไม้ และเกิดการสนับสนุนการศึกษาโดยนายทุนท้องถิ่น นอกจากนี้เศรษฐกิจแบบเงินตราที่ทวีบทบาทพร้อมกับการเข้ามาของอุตสาหกรรมป่าไมยังนำไปสู่การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและทัศนคติต่อป่าไม้ จนนำมาสู่การเกิดไม้เถื่อนและระบบนิเวศวิทยาที่เปลี่ยนไป ตลอดจนความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์ใหม่ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่นายทุนท้องถิ่นที่สร้างอิทธิพลจากอุตสาหกรรมป่าไม้