Publication: การต่อสู้ทางความคิดของ กลุ่มเลือดสีน้ำเงิน ในสังคมการเมืองไทย พ.ศ. 2475-2500
dc.contributor.author | ปฐมาวดี วิเชียรนิตย์ | |
dc.contributor.author | Patamawadee Wichiannit | en |
dc.coverage.temporal | 1932-1957 | |
dc.date.accessioned | 2023-12-16T09:09:52Z | |
dc.date.available | 2023-12-16T09:09:52Z | |
dc.date.issued | 2017 | |
dc.date.issuedBE | 2560 | |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการต่อสู้ทางความคิดของบุคคลใน “กลุ่มเลือดสีน้ำเงิน” ซึ่งเสนอความคิดหรืออุดมการณ์ในช่วง พ.ศ.2475-2500 โดยศึกษาในเชิงการเมืองวัฒนธรรมซึ่ง “กลุ่มเลือดสีน้ำเงิน” ดังกล่าวนี้คืออดีตนักโทษการเมืองคดีกบฏบวรเดช พ.ศ.2476 ที่ได้เลือกนำมาศึกษาความคิดด้วยกัน 5 คน อันได้แก่ ม.จ.สิทธิพร กฤดากร ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน พระยาศราภัยพิพัฒ สอ เสถบุตร และ ร.ท.จงกล ไกรฤกษ์ ซึ่งคนกลุ่มดังกล่าวนี้มีลักษณะเป็น “ปัญญาชนระดับกลาง” โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ระบบความคิดของกลุ่มคนที่ศึกษาว่าเสนอระบบความคิดอะไรและมีการต่อสู้กับกระแสความคิดอื่นๆ ในยุคเดียวกันอย่างไรบ้าง โดยใช้วิธี การทางประวัติศาสตร์ (Historical Approach) คือพิจารณาบริบทของความคิดเพื่อเข้าใจความหมายของงาน เขียนเหล่านั้น นอกจากนี้ได้สังเคราะห์เพื่อเข้าใจว่าความคิดของแต่ละบุคคลได้สร้างความหมายให้แก่บุคคล กลุ่มบุคคล และเหตุการณ์ต่างๆในอดีตอย่างไรบ้าง โดยแสดงให้เห็นว่าความหมายเหล่าน้ันเกิดขึ้นในบริบทเฉพาะทางการเมืองและเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ทางการเมือง โดยเป็นการต่อสู้ในปริมณฑลทางวัฒนธรรม บุคคลใน “ กลุ่มเลือดสีน้ำเงิน ” บางคนมีบทบาทในการวิพากษ์วิจารณ์ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเสนอความคิดเกี่ยวกับปัญหาบ้านเมืองและการพัฒนาประเทศมาตั้งแต่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนกระทั้งภายหลัง เหตุการณ์ปฏิวัติ พ.ศ. 2475 บางคนอย่างเช่น พระยาศราภัยพิพัฒ ได้มีบทบาทต่อสู้ทางความคิดและปะทะกับบุคคลในรัฐบาลระบอบใหม่ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์กบฏบวรเดช พ.ศ. 2476 “กลุ่มเลือดสีน้ำเงิน” ต่างมีประสบการณ์ร่วมกันในเหตุการณ์ดังกล่าว และในฐานะนักโทษการเมืองกระทั่งเงื่อนไขทางการเมืองไทย ในช่วงท้ายสงครามโลกคร้ังที่ 2 ที่เอื้อให้ “กลุ่มเลือดสีน้ำเงิน” ได้รับอภัยโทษ และภายหลังได้รับอภัยโทษคนกลุ่มนี้ได้มีบทบาทเป็นนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ที่ได้ผลิตงานเขียนประเภท บันทึกทางการเมือง บทความต่างๆ นวนิยาย และบางคนมีบทบาทเป็นนักการเมือง และได้ใช้บทบาทเหล่านี้เพื่อการต่อสู้ในพื้นที่ทางการเมืองภายใต้บริบทการเมืองขณะนั้น ซึ่งบางคนแม้จะต่อสู้มาทั้งชีวิต แต่สุดท้ายกลับมุ่งหวังที่จะได้รับความนิยมจากผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งหรือเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองภายใต้บริบทหรือเงื่อนไขทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และการเสนอความคิดหรือต่อสู้ทางความของคนกลุ่มดังกล่าวก็มีความแตกต่างกันอย่างมากด้วย ทว่าการให้ความหมายและการเสนอความคิดที่บุคคลเหล่านี้สร้างขึ้นเกิดขึ้นด้วยเป้าหมายที่แตกต่างหลากหลาย และสร้างความหมายต่อเหตุการณ์และบุคคลในอดีตไว้หลายแบบด้วยกัน โดยที่ความหมายแต่ละแบบถูกใช้เพื่อการต่อสู้ทางการเมืองในยุคของผู้พูดหรือผู้เขียนเองและต่อมาถูกสานต่อและรับเอามาเป็นชุดความคิดเพื่อใช้ต่อสู้กับเผด็จการทหารของนักศึกษาในยุค 14 ตุลาฯ ตราบจนถึงปัจจุบัน งานเขียนและการสร้างความหมายภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองของ “คนกลุ่มเลือดสีน้ำเงิน” ได้ถูกเลือกสรรโดยนักเขียนและนักวิชาการที่ได้นำเอาความหมายชุดนี้มาผลิตซ้ำในยุคหลังทำให้ความหมายชุดนี้ยังคงมีพลังอยู่ในสังคมไทย | |
dc.description.abstract | This thesis aims at investigating the intellectual struggle and the cultural politics during 1932-1957 of the so-called “Blue Blood” group. The group was comprised of political prisoners after the Boworadet Rebellion in 1933. Five middle-class intellectuals selected to study in this thesis include 1) Mom Chao Sitthipon Kridakorn 2) M.R. NimitmongkolNavarat 3) PhyaSarabhayabhibhad 4) So Sethaputra 5) First Lieutenant Jongkol Krailerk. The thesis analyzes and synthesizes their thoughts, their proposals, as well as their reactions to other current lines of thinking. The thesis employs a historical approach to examine the context of the group’s ideas and writings, as well as synthesizes each member’s thoughts that gave meaning to the past events and persons. This meaning-giving process could only occur in a political context and was part and parcel with the political struggle in which the group engaged. Thus was the cultural politics of the “Blue Blood”. Some “Blue Blood” members took part in criticizing the regime and giving opinions about domestic challenges and internal development policy since the days of the absolute monarchy. After the Siamese Revolution of 1932, some of them, such as PhyaSarabhayabhibhad, played an intellectual role to resist the new regime. The Boworadet Rebellion of 1933 helped shape the identity of the group as they all shared the experience in the rebellion and, in its wake, became political prisoners. Towards the end of the Second World War, many political conditions led to a pardon for the members of the group. Consequently, they occupied parts of the intellectual landscape in Thai society by becoming a writer or a journalist, writing political memoranda, articles, novels, as well as by returning to politics. Under new political rules, they fought with their previous ideologies and experiences, although some strove for popularity among voters and attempted to present different ideas under the changed political arena. Opinions and discourses of the members were crafted for different goals, under different circumstances. They applied different meanings to the past events and people, in accordance to the contemporary situation of each member. Further, these discourses themselves were selected for employing as rhetoric against the military junta in subsequent decades, notably the 1973 student protests, up until today. The post-revolution writings and discourses of the “Blue Blood” group are still reproduced by writers and scholars and therefore remain a powerful discourse in Thailand today. | en |
dc.identifier.uri | https://harrt.in.th/handle/123456789/7478 | |
dc.language.iso | th | |
dc.subject.isced | 0222 ประวัติศาสตร์และโบราณคดี | |
dc.subject.oecd | 6.1 ประวัติศาสตร์และโบราณคดี | |
dc.title | การต่อสู้ทางความคิดของ กลุ่มเลือดสีน้ำเงิน ในสังคมการเมืองไทย พ.ศ. 2475-2500 | |
dc.title.alternative | Struggle of ideas among the Blue Blood in Thai political society, 1932-1957 | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท (Master Thesis) | |
dspace.entity.type | Publication | |
harrt.itemID | 131 | |
harrt.researchArea | ประวัติศาสตร์ | |
harrt.researchGroup | ประวัติศาสตร์ | |
harrt.researchTheme.1 | ประวัติศาสตร์ไทย | |
harrt.researchTheme.2 | ประวัติศาสตร์การเมือง | |
mods.location.url | https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:126651 | |
thesis.degree.department | บัณฑิตวิทยาลัย | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |