Publication: การวิเคราะห์ปรัชญาในวรรณกรรมจักกวาฬทีปนี
dc.contributor.author | ประกอบ มีโคตรกอง | |
dc.contributor.author | สุวิน ทองปั้น | |
dc.contributor.author | จรัส ลีกา | |
dc.contributor.author | Meekotkong, Prakob, Thongpan, Suwin | en |
dc.contributor.author | Leeka, Jaras | en |
dc.date.accessioned | 2023-12-15T10:12:29Z | |
dc.date.available | 2023-12-15T10:12:29Z | |
dc.date.issued | 2021 | |
dc.date.issuedBE | 2564 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดจักรวาลในพระไตรปิฎก 2) ศึกษาแนวคิดปรัชญาและวรรณกรรมจักกวาฬทีปนี 3) วิเคราะห์ปรัชญาในวรรณกรรมจักกวาฬทีปนี เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการเก็บข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิ ได้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี ผลการวิจัยพบว่า1. แนวคิดจักรวาลในพระไตรปิฎกเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของโลกธาตุมีความสัมพันธ์กับแนวคิดเรื่อง จิต กรรม สุคติ และทุคติ จักรวาลยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์มีสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน มนุษย์ เทวดา และพรหม มีการแบ่งภพภูมิเป็น 3 คือ 1) กามภพ (กามาวจรภูมิ) 2) รูปภพ (รูปาวจรภูมิ) และ 3) อรูปภพ (อรูปาวจรภูมิ) ซึ่งเป็นสถานที่กำเนิดของสัตว์ตามผลกรรมที่ตนได้กระทำไว้2. แนวคิดทางปรัชญาเกี่ยวข้องกับการดำรงอยู่ของมนุษย์ที่มีความสงสัยแล้วตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบจากสิ่งที่ตนเองสงสัยนั้น ด้วยการแสวงหาเหตุผลหรือหลักความจริงตามวิธีการของปรัชญาที่แบ่งเป็น 5 สาขาหลัก ได้แก่ อภิปรัชญา ญาณวิทยา จริยศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ และตรรกศาสตร์ วรรณกรรมจักกวาฬทีปนี พระสิริมังคลาจารย์เป็นผู้แต่งเพื่ออธิบายจักรวาล มีเนื้อหาแบ่งเป็น 6 กัณฑ์ คือ 1) จักกวาฬ สรูปาทินิทฺเทส 2) ปัพฺพตนิทฺเทส 3) ชลาสยนิทฺเทส 4) ทีปนิทฺเทส 5) ภูมินิทฺเทส 6) ปกิณฺณกวินิจฺฉัย3. วรรณกรรมจักรวาลทีปนี สังเคราะห์เข้าในอภิปรัชญาได้ 3 ทฤษฎี คือ 1) ทฤษฎีสสารนิยม 2) ทฤษฎีจิตนิยม 3) ทฤษฎีธรรมชาตินิยม ญาณวิทยา พบว่า เป็นกระบวนการการเข้าถึงเทวภูมิด้วยฌานสมาบัติ และจริยศาสตร์ พบว่า การที่สัตว์ไปเกิดในภูมิทั้ง 2 นั้น เป็นเพราะผลกรรมโดยมีที่ไป 2 ทาง คือ อบายภูมิ และเทวภูมิ และวรรณกรรมจักกวาฬทีปนีไม่ได้เน้นปัญหาในอภิปรัชญาแต่จะเน้นญาณวิทยาเพราะเป็นเครื่องมือนำไปสู่โลกุตตรปัญญา และเน้นจริยศาสตร์เพราะเป็นสาเหตุทำให้สัตว์ไปเกิดในภพภูมิต่างๆ ตามผลกรรมที่ได้ทำไว้ | |
dc.description.abstract | The purpose of this research is; 1) to study the concept of the universe in the Tipitaka, 2) to study the concepts, philosophy and literature of universe description (Cakkavaladipani), 3) to analyze the philosophy in literature of universe descriptionIs, This is a document research by collecting data from primary and secondary documents, the data were analyzed using descriptive method, inductive method. The research found that: 1. To study the concept of the universe in the Tipitaka is a concept about the nature of the world that is related to the concept of mind, karma, path to the heaven and path to the hell and that universe is also the dwelling place of all beings: hell creatures, monsters, beasts, humans, angels, and Brahma, which are divided into 3 worlds: 1) Sensuous World (Kāmabhumi) 2) The fine material worlds (Rupabhumi) and 3) Immaterial world (Arupabhumi) which is the place of origin of the beings according to their deeds. 2. Philosophical concepts are related to the existence of a human being with doubt and then ask questions in order to find an answer to his own suspicion by seeking reason or truth based on divided philosophies: 5 Main Disciplines, Including Metaphysics, Epistemology, Ethics, Aesthetics, and logic Literature of the universe that found that Ven. Sirimangalajarn compose the universe. The content is divided into 6 chapters, namely 1) Chakkawalrupathinithes 2) Patthanitthet 3) Chalasitthet 4) Thipniithet 5) Phuminithes 6) Pakinakavinijaya. 3. In the literature of universe description can synthesize into the metaphysics of all 3 theories which are 1) Meterialism 2) Idealism and 3) naturalism. In the epistemological dimension it is found that epistemology is just a process of accessing the landscape through the path of meditation. And in the ethical dimension, it is found that the various animals to be born in the two World because of the consequences of one's actions. In while living with the thought that go in two ways, namely the unhappy place and the divine place and found that in the literature of universe description, this chapter does not focus on metaphysical problems and epistemology, but rather focusing on ethics because it causes all beings to be born in different worlds. | en |
dc.identifier.issn | 2697-6676 (Online) | |
dc.identifier.uri | https://harrt.in.th/handle/123456789/2489 | |
dc.language.iso | th | |
dc.subject | Philosophy | |
dc.subject | Cakkavaladipani | |
dc.subject.isced | 0232 วรรณคดีและภาษาศาสตร์ | |
dc.subject.oecd | 6.2 ภาษาและวรรณคดี | |
dc.title | การวิเคราะห์ปรัชญาในวรรณกรรมจักกวาฬทีปนี | |
dc.title.alternative | An Analyze the Philosophy in Literature of Universe Description is (Cakkavaladipani) | en |
dc.type | บทความวารสาร (Journal Article) | |
dspace.entity.type | Publication | |
harrt.itemID | 301 | |
harrt.researchArea | วรรณกรรม/วรรณคดีบาลีและสันสกฤต | |
harrt.researchGroup | บาลีและสันสกฤต | |
harrt.researchTheme.1 | วิเคราะห์วรรณกรรม/วรรณคดี | |
harrt.researchTheme.2 | วรรณกรรม/วรรณคดีศาสนา | |
mods.location.url | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/227565 | |
oaire.citation.endPage | 90 | |
oaire.citation.issue | 1 | |
oaire.citation.startPage | 77 | |
oaire.citation.title | วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ | |
oaire.citation.volume | 21 |