วรรณกรรม/วรรณคดีบาลีและสันสกฤต

Permanent URI for this collection

บทความวิจัย บทความวิชาการ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ และหนังสือเกี่ยวกับวรรณคดีบาลี วรรณคดีสันสกฤต ประวัติวรรณคดีบาลี ประวัติวรรณคดีสันสกฤต วรรณคดีบาลีและสันสกฤตในวรรณคดีไทย การศึกษาจารึกและเอกสารโบราณ

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 5 of 426
No Thumbnail Available
Publication

กาพยสารวิลาสินีและกาพยคันถะ : ตำราฉันทลักษณ์ไทยที่เขียนเป็นภาษาบาลี

ประคอง นิมมานเหมินท์ (#VALUE!)

No Thumbnail Available
Publication

วิวัฒนาการงานเขียนที่เป็นภาษาบาลีในประเทศไทย : ประเภทวิเคราะห์ธรรมในพระสุตตันตปิฎก

สุภาพรรณ ณ บางช้าง (#VALUE!)

No Thumbnail Available
Publication

การศึกษาเปรียบเทียบหนุมานในรายณะของวาลมีกิและบทละครรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ทิชากร พลิน, Palin, Thichakorn (2022)

หนุมานในรามายณะเป็นบุตรของพระมารุตกับนางอัญชนา เป็นวานรโดยกำเนิดเนื่องด้วยมารดาเป็นธิดาของพญาวานร หนุมานมีกำลังมหาศาลและไม่มีใครฆ่าให้ตายได้เนื่องจากได้รับพรจากพระพรหม เมื่อถวายตัวเป็นทหารรับใช้พระราม ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเคร่งครัด มีความรับผิดชอบ มีความฉลาด รอบคอบ มีศีลธรรม และประพฤติพรหมจรรย์ ส่วนหนุมานในรามเกียรติ์เป็นบุตรของพระพายกับนางสวาหะ เป็นวานรเนื่องด้วยนางสวาหะถูกสาปให้มีบุตรเป็นวานร ได้รับพรจากพระอิศวรให้มีกำลังมหาศาล และเมื่อถูกฆ่าตายเพียงลมพัดมาต้องกายก็จะฟื้นคืนมา หนุมานได้ถวายตัวเป็นทหารรับใช้พระรามเช่นเดียวกับเรื่องรามายณะ แต่ในรามเกียรติ์นั้นตัวละครหนุมานมีความแตกต่างจากรามายณะ ได้แก่ มีสี่หน้า แปดมือ มีกุณฑล ขนเพชร เขี้ยวแก้ว หาวเป็นดาวเป็นเดือน มีเมียหลายคน นอกจากนี้หนุมานยังมีบทบาทเป็นบิดาและเป็นกษัตริย์อีกด้วย ด้านกลวิธีการสร้างและนำเสนอตัวละคร หนุมานในรามายณะถูกประพันธ์ให้เป็นสมมุติเทพ กล่าวคือ มีความนิ่ง สงบ ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ข้องเกี่ยวกับสตรี อีกทั้งยังถูกผู้อื่นบูชา ในขณะที่หนุมานในรามเกียรติ์ถูกสร้างให้มีลักษณะที่สมจริงตามธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ กล่าวคือ มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ทั้งโกรธ กลัว วิตกกังวล และเจ้าชู้ แสดงให้เห็นว่าหนุมานในรามเกียรติ์ถูกสร้างให้ใกล้เคียงกับมนุษย์มากกว่ารามายณะเพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงบทประพันธ์ได้ง่ายและอ่านเข้าใจมากขึ้น ด้านรสวรรณคดีที่ปรากฏเฉพาะตอนของหนุมาน เนื่องจากเนื้อเรื่องเป็นการทำสงครามระหว่างมนุษย์ วานร และยักษ์ ดังนั้นรสวรรณคดีทั้งในรามายณะและรามเกียรติ์ปรากฏรสวรรณคดีที่ใกล้เคียงกัน คือ วีรรส (ความกล้าหาญ) และรสวรรณคดีที่ไม่ปรากฏในรามายณะตอนของหนุมาน คือ ศฤงคารรส (ความรัก) เนื่องด้วยหนุมานประพฤติพรหมจรรย์ แต่ในรามเกียรติ์กลับปรากฏ ศฤงคารรส (ความรัก) เป็นลำดับที่สองถัดจาก วีรรส (ความกล้าหาญ)

No Thumbnail Available
Publication

คำหลวงเรื่องที่ 5

นิยะดา เหล่าสุนทร (#VALUE!)

No Thumbnail Available
Publication

มหารหนีติ Mahārahanīti (อนุสรณ์บำเพ็ญกุศล ๑๐๐ ปี ชาตกาล พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปัญญา อินฺทปญฺ มหาเถร) พระเทพวัชราจารย์ (เทียบ สิริญาโณ ป.ธ.๙,รศ.ดร.) แปล)

พระเทพวัชราจารย์ (เทียบ สิริญาโณ) (2022)