Publication:
การศึกษาเชิงวิเคราะห์วิธีพัฒนานักเรียนด้วยหลักคำสอนเรื่องไตรสิกขาในพุทธปรัชญาเถรวาท

dc.contributor.authorพัทนันท์ นฤภัย
dc.date.accessioned2023-12-16T06:39:12Z
dc.date.available2023-12-16T06:39:12Z
dc.date.issued2016
dc.date.issuedBE2559
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง วิธีการพัฒนานักเรียนด้วยหลักคำสอนเรื่องไตรสิกขาในพุทธปรัชญาเถรวาท มีวัตถุประสงค์ ดังนี้1. เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับวิธีพัฒนานักเรียนโดยทั่วไป2. เพื่อศึกษาหลักคำสอนเรื่องไตรสิกขาในพุทธปรัชญาเถรวาท3. เพื่อวิเคราะห์วิธีพัฒนานักเรียนด้วยหลักคำสอนเรื่องไตรสิกขาในพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เป็นหลัก โดยการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและเอกสารทุติยภูมิ ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับวิธีพัฒนานักเรียนโดยทั่วไปเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุมีผลมุ่งให้เด็กได้คิดเป็น ทำเป็น และรู้จักการแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเองเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงบทบาทได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยโรงเรียนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นผู้ให้การส่งเสริมสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอน พร้อมกับส่งเสริมพัฒนาการทางกาย จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพอนามัยที่ดี และเจริญเติบโตสมวัย มีการดูแลเอาใจใส่เด็ก ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ให้เด็กมีสุขภาพจิตดีมีอารมณ์สดชื่นแจ่มใสส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมให้เด็กสามารถปรับตนเข้ากับครู เพื่อน และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนได้ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา ช่วยให้เด็กได้พัฒนาทางสติปัญญาได้อย่างดีที่สุดให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้สะสมประสบการณ์เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน 2.หลักคำสอนเรื่องไตรสิกขาในพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นการปลูกฝังอบรมขัดเกลาในเรื่องของศีล สมาธิ ปัญญาไตรสิกขาเป็นข้อปฏิบัติเพื่อฝึกอบรมกาย วาจา จิตใจและปัญญาปิดกั้นโอกาสในการทำความชั่ว และส่งเสริมโอกาสในการทำความดีเป็นสิ่งที่ใช้จัดวางระเบียบสังคมให้เหมาะสมเกื้อกูลสำหรับการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขทำจิตของคนให้สงบ ให้มีจิตยึดมั่นและมั่นคงในคุณธรรม เร้าใจให้ฝักใฝ่ และมีวิริยะอุตสาหะ ในการสร้างความดีงามให้มีความรู้ความชัดเจนในเหตุและผลโดยการใช้ปัญญาในการกำหนดและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ 3.วิธีพัฒนานักเรียนด้วยหลักคำสอนเรื่องไตรสิกขาในพุทธปรัชญาเถรวาทการพัฒนานักเรียนด้วยหลักไตรสิกขา เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รับการฝึกฝนอบรมพัฒนาตน จนถึงขั้นปัญญา มุ่งเน้นการพัฒนาสติปัญญาให้รู้จักคิดและวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้ศึกษาหลักธรรมชั้นสูงในพุทธศาสนา เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและสติปัญญาให้เป็นคนเก่ง ดี มีสุขตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์
dc.description.abstractThe objectives of this thesis entitled “Developing students using the Threefold Training in Theravada Buddhist Philosophy : An Analytical Study” were as follows: 1) to study concept and theory about developing students, 2) to study the Threefold Training in Theravada Buddhist Philosophy, and 3) to analyze developing students using the Threefold Training in Theravada Buddhist Philosophy. This study was a Qualitative Research emphasizing on Documentary Research. The data were collected from primary and secondary sources. The results of the study found that: 1.Concepts and theories about ways to develop students, in general, are to develop the students to know thinking analytically and with be reasonable. Encourage students to be able to think, do, and know how to solve the problems by themselves. It opens the opportunity for students in showing their roles and learns different things. Here, schools and related sectors in education management should support environment in schools to be appropriate and conducive to teaching and learning along with physical development. Schools have to arrange activities for students to have good health and growth as suitable to their age. Children should get emotional development for good mental health, refreshing mood. In social development, children are able to adapt themselves to their teachers, friends, and environment of schools. In additions, intellectual development, children will develop intellectually. Children will learn and gain experiences to be used on a daily basis. 1.The Threefold Training in Theravada Buddhist Philosophy is to cultivate, refine about precepts, meditation, and wisdom. The Threefold Training is the practice to train body, speech, mind, and wisdom and refraining chances in doing bad deeds and promote the opportunities in doing good deeds. It helps in placement of orders in society and support for living together peacefully. It helps to have calm mind, adherence to virtue and with Viriya and Utasaha in creating goodness. It gives a clear knowledge about cause and consequence by applying intelligence to determine and solve different problems. 2.The ways to develop students using the Threefold Training in Theravada Buddhist Philosophy were as follows: it helps students to practice self-development training including wisdom. It emphasizes intellectual development with rational thinking. It encourage students to study advance principle of Buddhism to develop physical, mental, intellectual, social, as well as the desired characteristics.en
dc.identifier.urihttps://harrt.in.th/handle/123456789/4845
dc.language.isoth
dc.subjectการพัฒนานักเรียน
dc.subjectไตรสิกขา
dc.subjectปรัชญาพุทธศาสนาเถรวาท
dc.subjectDeveloping Students
dc.subjectThreefold Training
dc.subjectTheravada Buddhist Philosophy
dc.subject.isced0223 ปรัชญาและจริยธรรม
dc.subject.oecd6.3 ปรัชญา จริยธรรมและศาสนา
dc.titleการศึกษาเชิงวิเคราะห์วิธีพัฒนานักเรียนด้วยหลักคำสอนเรื่องไตรสิกขาในพุทธปรัชญาเถรวาท
dc.title.alternativeAn Analytical Study of The Ways To Develop Students By Applying The Threefold Training in Theravada Buddhist Philosophyen
dc.typeบทความวารสาร (Journal Article)
dspace.entity.typePublication
harrt.itemID664
harrt.researchAreaปรัชญาพุทธเถรวาท
harrt.researchGroupปรัชญา
harrt.researchTheme.1อื่นๆ
harrt.researchTheme.2ปรัชญาการศึกษา
mods.location.urlhttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/194863
oaire.citation.endPage68
oaire.citation.issue1
oaire.citation.startPage53
oaire.citation.titleวารสารวิชาการแสงอีสาน
oaire.citation.titleAcademic Journal of Mahamakut Buddhist University Isan Campusen
oaire.citation.volume13
Files