Publication:
ศึกษาธาตุ 4 กับการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา

dc.contributor.authorพระครูสุเมธปทุมาภรณ์
dc.contributor.authorPhrakru Sumetpatumaphonen
dc.date.accessioned2023-12-16T06:33:27Z
dc.date.available2023-12-16T06:33:27Z
dc.date.issued2021
dc.date.issuedBE2564
dc.description.abstractบทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความหมายและความสำคัญของหลักธาตุ 4 2) เพื่อศึกษาความหมายและความสำคัญของกรรมฐาน และ 3) เพื่อวิเคราะห์วิธีการประยุกต์ใช้ธาตุ 4 ในการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ความหมายและความสำคัญของหลักธาตุ 4 หมายถึง การกำหนดหรือการพิจารณาธาตุ 4 ฐาน เพื่อให้รู้เห็นตามความเป็นจริง หมายความว่า พิจารณาธาตุ 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ในประเด็นที่ว่าส่วนใดที่เป็นของแข็ง เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน สิ่งนั้นเป็นธาตุดิน สิ่งใดเป็นของเอิบอาบ สิ่งนั้นเป็นธาตุน้ำ สิ่งใดเป็นสภาพทำให้ร่างกายเร่าร้อนและอบอุ่น สิ่งนั้นเป็นธาตุไฟ สิ่งที่ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว สิ่งนั้นเป็นธาตุลม ส่วนความสำคัญที่เรามีธาตุทั้ง 4 นี่เองทำให้เราสามารถดำรงชีวิตอยู่ 2. ความหมายและความสำคัญของกรรมฐาน กรรมฐาน หมายถึง ที่ตั้งแห่งกรรมคืองานของใจ สิ่งที่ยึดหน่วงหรือผูกใจมิให้ฟุ้งซ่าน ให้สงบนิ่ง ตจปัญจกกรรมฐาน หรือมูลกรรมฐาน กรรมฐานถือว่าเป็นหัวใจที่สำคัญของพระพุทธศาสนา การปฏิบัติกัมมัฏฐานนอกจากจะเป็นงานสำหรับพัฒนาจิตโดยตรงแล้วยังมีส่วนช่วยในการพัฒนากายภาพพัฒนาบุคลิกภาพของตน พระพุทธศาสนามีลักษณะจำเพาะตัว คือ การแก้ทุกทางกายทางใจ ธาตุกัมมัฏฐาน กรรมฐานที่พิจารณาธาตุเป็นอารมณ์ กล่าวคือ กำหนดพิจารณาร่างกายแยกเป็นส่วน ๆ ให้เห็นว่าเป็นแต่เพียงธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันอยู่ 3. การประยุกต์ใช้ธาตุ 4 ในการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา การนำเอาธาตุ 4 มาประยุกต์ใช้ในปฏิบัติ (1) ปฐวีธาตุ จัดเป็นธาตุดิน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผม ขน เล็บ ฟัน เป็นต้น (2) อาโปธาตุ ส่วนที่เหลวจัดเป็นธาตุน้ำ เช่น น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำไขข้อ น้ำมูก น้ำลาย (3) เตโชธาตุ คือ เป็นธาตุที่มีลักษณะร้อนให้ความอบอุ่นหรือความเข้มแข็งแก่ร่างกาย และไม่ทำให้ร่างกายอบอุ่น (4) วาโยธาตุ คือ สภาวะที่เคลื่อนไหว มีลักษณะเฉพาะ คือเคลื่อนที่หรือหยุดนิ่ง มีหน้าที่ให้ความสามารถในการเคลื่อนไหวแก่ธาตุอื่นที่เกิดร่วมกัน มีประโยชน์ในการนำมาใช้ในการพัฒนาสังคม การพัฒนาจิต และพัฒนาปัญญา การประยุกต์ธาตุ 4 ใช้ในการปฏิบัติธรรม ชีวิตประจำวันในการกิน การเจริญปัญญา การพิจารณาร่างกาย ฝึกการใช้โยนิโสมนสิการ พิจารณาลมหายใจเข้า ออก และความตาย
dc.description.abstractThis research article has three objectives: 1) to study the meaning and importance of 4 Dhãtus, 2) to study the meaning and importance of meditation, and 3) to analyze the method of applying 4 Dhãtus to meditation practice in Buddhism. The research found that: 1. The meaning and significance of 4 Dhãtus refer to the determination or consideration of the four bases to see the truth. It means that the 4 Dhãtus are earth, water, wind, and fire. Whether any part is solid, such as hair, nails, teeth, that is the earth, what is permissive, that is the water, what is the condition of the body and glowing warmth that is the fire, the thing that moves the body is the wind. The importance of the four Dhãtus allows us to live. 2. Meaning and importance of meditation refer to the location of karma that is the work of the mind, what binds the mind not to be distracted, and calm. Meditation is considered to be the heart of Buddhismen
dc.description.abstractthe practice of meditation not only directly works for mental development but also contributes to physical development and personal development. Buddhism is characterized by solving all physical and mental problems. Dhatukammatthana considers the Dhatu as an emotion, that is, determines to consider the body as separate parts to see that it is only the four Dhatus, namely earth, water, fire, and air which are together. 3. Applying the 4 Dhatus in Buddhist meditation practiceen
dc.description.abstract(1) Pathavidhatu is classified as an earth element such as eyes, ears, nose, tongue, hair, fur, nails, teeth, etc., (2) Apodhatu is the liquid part. It is classified as water element such as blood, lymph, synovial fluid, snot, saliva, (3) Techodhatu is a hot element that gives warmth or strength to the body and does not warm the body, (4) Wayodhatu is a state of movement unique that moving or standing still, it is responsible for giving the ability to move to other elements that occur together, useful for social development, mental development and intellectual development. The application of the four Dhatus in Dharma practice, namely, in daily life, in eating, developing wisdom, contemplating the body, practicing Yonisomanasikara, contemplating breathing in and out, and death.en
dc.identifier.urihttps://harrt.in.th/handle/123456789/4494
dc.language.isoth
dc.subjectการปฏิบัติกรรมฐาน
dc.subjectธาตุ 4
dc.subjectMeditation Practice
dc.subject4 Dhãtu
dc.subject.isced0223 ปรัชญาและจริยธรรม
dc.subject.oecd6.3 ปรัชญา จริยธรรมและศาสนา
dc.titleศึกษาธาตุ 4 กับการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
dc.title.alternativeA Study of the Four Dhatus and Kammatthana Practice in Buddhismen
dc.typeบทความวารสาร (Journal Article)
dspace.entity.typePublication
harrt.itemID1257
harrt.researchAreaพุทธศาสนศึกษา
harrt.researchGroupปรัชญา
harrt.researchTheme.1พุทธศาสนศึกษา
mods.location.urlhttps://so06.tci-thaijo.org/index.php/ambj/article/view/248971/171149
oaire.citation.endPage167
oaire.citation.issue2
oaire.citation.startPage158
oaire.citation.titleวารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์
oaire.citation.titleAcademic MCU Buriram Journalen
oaire.citation.volume6
Files