Publication:
มุมมองที่มีต่อคนชราในเรื่อง “ท์ซุเระสุเระงุซะ”: ปัญญาอันเกิดจากความชรา

dc.contributor.authorกณภัทร รื่นภิรมย์
dc.coverage.temporal1331-1331
dc.date.accessioned2023-12-15T10:28:30Z
dc.date.available2023-12-15T10:28:30Z
dc.date.issued2018
dc.date.issuedBE2561
dc.description.abstractบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองของพระเค็งโกที่มีต่อคนชราจากเรื่อง“ท์ซุเระสุเระงุซะ”ในสมัยนัมโบะกุโจ ผลจากการศึกษาพบว่า เค็งโกนำเสนอเรื่องราวของคนชราในเชิงวิพากษ์วิจารณ์หรือคำเตือนเพื่อกระตุ้นให้คนชราเกิดความตระหนักรู้ถึงสิ่งที่ควรปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ได้แก่ สภาพร่างกาย ความสัมพันธ์กับสังคม ความสามารถ สภาพจิตใจ อย่างไรก็ตาม ในตอนที่ 172 ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายที่นำเสนอเรื่องราวของคนชรา เค็งโกไม่ได้นำเสนอโดยการวิพากษ์วิจารณ์หรือคำเตือน หากแต่ได้เปรียบเทียบลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของคนชรากับคนหนุ่มสาว และได้ชี้ว่าสิ่งที่คนชรามีเหนือกว่าคนหนุ่มสาวก็คือปัญญา นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบคำว่า “ปัญญา” อันเป็นลักษณะเด่นของคนชรากับการใช้คำว่า “ปัญญา” ตลอดทั้งเรื่องยังพบว่า คำว่า “ปัญญา” ของคนชราในตอนที่ 172 มีนัยยะสอดคล้องกับคำว่า “ปัญญา” ที่ชี้ถึงภาวะอันเกิดจากการปล่อยวางจากความยึดติด หากแต่ก็มีข้อแตกต่างตรงประเด็นที่มาของปัญญา กล่าวคือ ปัญญาของคนชราไม่ได้เกิดจากการตระหนักรู้ หากแต่เกิดจากการที่ธรรมชาติแปรเปลี่ยนสภาพจิตใจของคนชราให้อ่อนล้าลงตามกาลเวลา และเมื่อจิตใจสงบก็จะเกิดการปล่อยวาง ซึ่งก็คือภาวะของการเกิดปัญญานั่นเอง การปล่อยให้ชีวิตมนุษย์เป็นไปตามธรรมชาตินั้นแม้จะปรากฏมีมาแต่เดิมในแนวคิดของเต๋า อย่างไรก็ตาม การเชื่อมโยงวิถีธรรมชาติเข้ากับแนวคิดเรื่องปัญญาจนนำไปสู่การค้นพบบ่อเกิดแห่งปัญญาแบบใหม่ กล่าวคือ “ปัญญาอันเกิดจากความชรา” นั้น สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองความคิดของเค็งโกที่สามารถพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างลุ่มลึกและหลากมิติ
dc.description.abstractThis article aimed to study the perspectives of a monk, “Kenkō,” on elderly people in a collection of essays, called “Tsurezuregusa,” during the Nanboku-chō period in Japan. The results showed that Kenkō used a criticism and warning approach to tell the stories about elderly people in order to make the elderly in society realize what they should know and prepare for in aspects of physical conditions, social relationships, capabilities, and mental state. However, in chapter 172, which is the last chapter about the elderly people, instead of using the criticism and warning approach, Kenkō chose to compare the strengths and weaknesses of the elderly people with those of young people. Kenkō also suggested that the elderly people are superior to young people in terms of wisdom. In addition, when comparing the wisdom of the elderly people with the term “wisdom” that was used throughout the essays, it was found that the term “wisdom” in chapter 172 was associated with letting go of attachments. The wisdom of the elderly people did not result from the awareness of reality but arose when their mental state was getting weaker over time due to natural laws, which ultimately made the elderly people have peaceful mind, let go of attachments, and reach a state of wisdom. Living in accordance with natural laws is the concept of Taoism. However, the way Kenkō combined the natural laws with the concept of wisdom until a new form of wisdom, called “wisdom of aging,” was discovered clearly reflected that he had deep and insightful perspectives and could thoroughly look at things in different dimensions.en
dc.identifier.urihttps://harrt.in.th/handle/123456789/3213
dc.language.isoth
dc.subjectTsurezuregusa
dc.subjectKenkou
dc.subjectคนชรา
dc.subjectปัญญา
dc.subjectเต๋า
dc.subject.isced0232 วรรณคดีและภาษาศาสตร์
dc.subject.oecd6.2 ภาษาและวรรณคดี
dc.titleมุมมองที่มีต่อคนชราในเรื่อง “ท์ซุเระสุเระงุซะ”: ปัญญาอันเกิดจากความชรา
dc.title.alternativeThe Perspective of Elderly Persons in “Tsurezuregusa”: Wisdom from Old Ageen
dc.typeบทความวารสาร (Journal Article)
dspace.entity.typePublication
harrt.itemID559
harrt.researchAreaวรรณกรรม/วรรณคดีญี่ปุ่น
harrt.researchGroupภาษาญี่ปุ่น
harrt.researchTheme.1การวิเคราะห์วรรณกรรม/วรรณคดี
mods.location.urlhttps://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsn/article/view/137074/118380
oaire.citation.endPage22
oaire.citation.issue2
oaire.citation.startPage1
oaire.citation.titleวารสารวิชาการของสมาคมญี่ปุ่นศึกษาแห่งประเทศไทย
oaire.citation.titleJSN Journalen
oaire.citation.volume8
Files