วรรณกรรม/วรรณคดีญี่ปุ่น

Permanent URI for this collection

บทความวิจัย หนังสือ และวิทยานิพนธ์ด้านวิเคราะห์วรรณกรรม วรรณกรรมเปรียบเทียบ การแปลวรรณกรรม และการสอนด้านวรรณกรรม

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 5 of 153
No Thumbnail Available
Publication

ภาพนักรบฝ่ายโชกุนโยะริโตะโมะและความเชื่อที่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์นาย-บ่าวในนิยายสงครามยุคกลางของญี่ปุ่น

สุวภา ธีรกิตติกุล (n/a)

No Thumbnail Available
Publication

บทบาทของสีแดงและสีขาวที่แสดงดุลยภาพของความแตกต่าง ในวรรณกรรมเรื่อง เมืองหิมะ

นันท์ชญา มหาขันธ์ (n/a)

n/a

No Thumbnail Available
Publication

การรับวัฒนธรรมการเล่นไพ่เคียวงิคะรุตะของชาวไทย

ชนกันต์ แดงบุหงา (n/a)

No Thumbnail Available
Publication

การวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านญี่ปุ่น 

นภสินธุ์ แผลงศร (2012-2013)

งานวิจัยเรื่องวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านญี่ปุ่นนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อรวบรวมและจำแนกประเภทของนิทานพื้นบ้านญี่ปุ่น ตามรูปแบบนิทานพื้นบ้านของสติธ ทอมป์สัน (Stith Thompson) 2) วิเคราะห์นิทานพื้นบ้านญี่ปุ่นตามกฎวรรณกรรมพื้นบ้านของเอกเซล ออลริค (Axel Olrik) และ 3) วิเคราะห์สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวญี่ปุ่นจากนิทานที่ได้รวบรวมและจำแนกประเภทไว้ทางด้านครอบครัว อาชีพ ความเชื่อ ประเพณี และค่านิยม ผลการวิจัยสรุปได้ว่า นิทานพื้นบ้านญี่ปุ่นจำแนกออกได้เป็น 12 ประเภท คือ นิทานมหัศจรรย์ นิทาน ชีวิต นิทานวีรบุรุษ นิทานประจำถิ่น นิทานอธิบายเหตุ นิทานเทวปกรณ์ นิทานคติ นิทานเรื่องสัตว์ นิทานมุขตลก นิทานศาสนา นิทานเรื่องผี และนิทานเข้าแบบ การวิเคราะห์เนื้อหาของนิทานพื้นบ้านญี่ปุ่นพบว่า มีความเป็นสากลตามกฎวรรณกรรมพื้นบ้านของเอกเซล ออลริค และสะท้อนให้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ของชาวญี่ปุ่นหลายด้านได้แก่ สถาบันครอบครัวมีทั้งลักษณะครอบครัวเดี่ยว ครอบครัวขยาย ครอบครัวรวม การประกอบอาชีพที่สำคัญมีอาชีพเกษตรกร นักรบ หมอ พระ ทอผ้า รับจ้าง และค้าขาย ความเชื่อมีความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ศาสนา ภูตผีปีศาจ และกฎแห่งกรรม ด้านประเพณีที่ปรากฏเป็นประเพณีทั้งส่วนบุคคลและประจำท้องถิ่น ค่านิยมนั้นยกย่องผู้มีสติปัญญา มีความรู้ ความกล้าหาญ มานะอดทน เพียรพยายาม กตัญญูรู้คุณ ซื่อสัตย์และมีจิตใจเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น การวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านญี่ปุ่นทำให้เห็นถึงลักษณะที่เป็นสากลของนิทาน เข้าใจถึงสภาพความเป็นอยู่และความต้องการพฤติกรรมที่เป็นแบบอย่างในสังคม ซึ่งชี้ให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของนิทานพื้นบ้าน ด้านการถ่ายทอดแนวทางการดำเนินชีวิตของคนในสังคมญี่ปุ่นสืบทอดกันต่อมา แม้ว่าการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีจะเจริญก้าวหน้าเพียงใดก็ตาม

No Thumbnail Available
Publication

การจบเรื่องของเรื่องเล่าในวรรณกรรมชุดท์ซุท์ซุมิชูนะงน โมะโนะงะตะริ

วิมลวรรณ สุนทรญาณกิจ (n/a)

วิทยานิพนธ์ฉบับนีศึ้กษาเกี่ยวกับการจบเรื่องของเรื่องเล่าในวรรณกรรมชุดท์ซุท์ซุมิชู นะงนโมะโนะงะตะริ เพื่อศึกษาการจบเรื่องของเรื่องราวในวรรณกรรมชุดดังกล่าว และเพื่อ ศึกษาผลของการจบเรื่องแต่ละรูปแบบ ผลจากการวิจัยพบว่า เรื่องเล่าในวรรณกรรมชุดท์ซุท์ซุมิชูนะงนโมะโนะงะตะริมี รูปแบบการจบ 2 รูปแบบ ด้วยกัน คือการจบแบบผิดคาด และการจบแบบไม่มีข้อสรุป โดย เรื่องเล่าในกลุ่มการจบแบบผิดคาดนัน้ เป็นเรื่องเล่าที่สร้างความตลกขบขันโดยการเสียดสีตัว ละครในเรื่อง ส่วนการจบแบบไม่มีข้อสรุปยังแบ่งออกเป็น การจบแบบชี้นำให้ผู้อ่านคาดเดา บทสรุปอย่างใดอย่างหนึ่ง และการจบแบบชี้นำให้ผู้อ่านขบคิดถึงบทสรุปที่แตกต่าง หลากหลาย โดยเรื่องเล่าในกลุ่มการจบแบบชี้นำให้ผู้อ่านคาดเดาบทสรุปอย่างใดอย่างหนึ่ง นั้น ผู้เล่าจะจบเรื่องด้วยการชี้นำว่าเรื่องเล่าสามารถจบได้ 2 แบบ โดยในเรื่องจะประกอบด้วย ข้อมูลต่างๆให้ผู้อ่านได้ขบคิดเพื่อคาดเดาบทสรุปของเรื่อง และเรื่องเล่าในกลุ่มการจบแบบ ชี้นำให้ผู้อ่านขบคิดถึงบทสรุปที่แตกต่างหลากหลายนัน้ ผู้เล่าจะจบเรื่องด้วยประโยคคำพูดที่ชี้ให้ผู้อ่านได้ย้อนกลับไปพิจารณาพฤติกรรมของตัวละครในเรื่อง นอกจากนี้แล้วในการศึกษายังทำให้เข้าใจสภาพสังคมสมัยเฮอันที่สะท้อนผ่าน วรรณกรรมชุดท์ซุท์ซุมิชะงนโมะโนะงะตะริ อีกทัง้ ยังเป็นแนวทางในการศึกษาวรรณคดีสมัย เฮอันเรื่องอื่นๆต่อไป