Publication:
การสอนแบบอุปมาอุปไมยในพระพุทธศาสนา

dc.contributor.authorพระปลัดปรีชา จุลเจือ
dc.contributor.authorChuanchuea, Phrapalad Preechaen
dc.date.accessioned2023-12-15T10:11:24Z
dc.date.available2023-12-15T10:11:24Z
dc.date.issued2018
dc.date.issuedBE2561
dc.description.abstractการสอนแบบอุปมาอุปไมยในพระพุทธศาสนาเป็นการใช้โวหารทางภาษาเพื่ออธิบายหลักธรรมะ โดยมีหลัก ๒ อย่างเหมือนกันทุกสมัย คือ ธัมมาธิษฐาน และ ปุคคลาธิษฐาน มาอธิบายธรรมะ โดยการนำสิ่ง ๒ สิ่งมาเปรียบเทียบกัน คือ ๑. อุปมา=นามธรรม = ธัมมาธิษฐาน ๒. อุปไมย = รูปธรรม = ปุคคลาธิษฐาน การสอนแบบอุปมาอุปไมยในพระพุทธศาสนาประสพผลสัมฤทธิ์ได้ในระดับโลกิยะและผลสัมฤทธิ์ในระดับโลกตุตระ และสามารน�ามาประยุกต์ใช้ในสมัยปจจุบันที่ใช้เพื่อการบรรยาย เทศน์ และการตอบปญหา จัดได้เป็น ๓ ยุค คือ ยุคพุทธกาล ยุคหลังพุทธกาล ยุคพระสงฆ์ในสังคมไทย ซึ่งการสอนแบบอุปมาอุปไมย นั้นพระพุทธเจ้าทรงใช้ตั้งแต่เริ่มเผยแผ่พระพุทธศาสนา แล้วพระสาวกในสมัยพุทธกาลได้น�าเอาการสอนแบบอุปมาอุปไมยของพระองค์ไปใช้เพื่อเผยแผ่หลักค�าสอนมาถึงปจจุบันพัฒนาการการสอนแบบอุปมาอุปไมยที่ปรากฏในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงอุปมาอุปไมยจากเหตุการณ์ที่เกิดหรือสิ่งที่คนในสมัยพุทธกาล รู้เห็นอยู่ในชีวิตประจ�าวันอยู่แล้วน�ามาอธิบายเปรียบเทียบ ต่อมาสมัยหลังพุทธกาลการสอนแบบอุปมาอุปไมยเพื่อมุ่งจะอธิบายเนื้อหาสาระของธรรมะที่เกิดจากการถกเถียงกัน เพื่อเผยแผ่ค�าสอนและปกปองรักษาพระธรรมวินัย ต่อมายุคของพระสงฆ์ในสังคมไทย พระสงฆ์ใช้หลักการสอนแบบอุปมาอุปไมยโดยยกตัวอย่างประกอบ มีเอกสารการสอนประกอบ ใช้การเปรียบเทียบหลักธรรมในพระพุทธศาสนากับแนวคิดในศาสนาอื่น รวมทั้งแนวคิดทางปรัชญา สังคมวิทยา วิทยาศาสตร์ และจิตวิทยา มีการอ้างพุทธพจน์จากพระไตรปฎกมาก่อนแล้วจึงค่อยมายกอุปมาที่เป็นเรื่องของปจจุบันเหมาะกับผู้ฟง สอนแบบอุปมาอุปไมยเพื่อการศึกษาหลักไตรสิกขา โดยเริ่มจากในครอบครัวจนถึงนิพพาน และสอนแบบอุปมาอุปไมยในเชิงวาทศิลป โดยใช้ภาษาไทยกับภาษาบาลีร่วมกัน
dc.description.abstractMetaphorical teachings in Buddhism refer to the use of figures of speech to explain the Dhamma through two comparative principles – Dhammadhitthana and Puggaladhitthana. Dhammadhitthana is called Uppama which means abstract, whereas Puggaladhitthana is called Uppamai which means concrete objects. These kinds of teaching have enjoyed success in both mundane and transcendental levels, and is applicable at present in describing, preaching, and answer questions pertaining to Buddhism. This teaching can be found in 3 eras: during the Buddha’s lifetime, in early Buddhism, as well as in the Sangha era in Thai Buddhist society. The Lord Buddha employed this teaching method from the very beginning of Buddhism, and monks since the Buddha’s lifetime have used this method in the propagation of Buddhism until the present. During His lifetime, the Lord Buddha utilized metaphorical teachings by drawing comparisons between events or common knowledge in everyday life with the Dhamma. In early Buddhism, monks employed this method in their disputes over the Dhamma’s content in their propagation and protection of the teachings. In the Sangha era in Thai society, monks have used the metaphorical method in combination with examples, with supporting documents, through comparisons of the Dhamma with the teachings of other religions and philosophies, as well as with sociological, scientific, and psychological views. Monks would refer to words of the Buddha in the Tripitaka and use the metaphorical method to draw comparisons with present-day situations appropriate for the audience. This method is also used in the study of the Threefold Training, beginning from family stories to nirvana. It is also used in combination with rhetoric through both the Thai and Pali languages.en
dc.identifier.issn2651-219X (Online)
dc.identifier.urihttps://harrt.in.th/handle/123456789/2408
dc.language.isoth
dc.subjectMetaphorical
dc.subjectTeaching
dc.subjectBuddhism
dc.subject.isced0232 วรรณคดีและภาษาศาสตร์
dc.subject.oecd6.2 ภาษาและวรรณคดี
dc.titleการสอนแบบอุปมาอุปไมยในพระพุทธศาสนา
dc.title.alternativeMetaphorical Teachings in Buddhismen
dc.typeบทความวารสาร (Journal Article)
dspace.entity.typePublication
harrt.itemID314
harrt.researchAreaวรรณกรรม/วรรณคดีบาลีและสันสกฤต
harrt.researchGroupบาลีและสันสกฤต
harrt.researchTheme.1เครื่องมือของวรรณกรรม/วรรณคดี
mods.location.urlhttps://so02.tci-thaijo.org/index.php/jbscu/article/view/160992
oaire.citation.endPage93
oaire.citation.issue3
oaire.citation.startPage80
oaire.citation.titleวารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
oaire.citation.volume25
Files