Publication:
อุดมคติทางธุรกิจของผู้ประกอบการไทยเชื้อสายจีน: กรณีศึกษากลุ่มผู้นำหอการค้าจีน (พ.ศ. 2488-2540)

dc.contributor.authorวิภาวี สุวิมลวรรณ
dc.contributor.authorWipawee Suwimolwanen
dc.coverage.temporal1945-1997
dc.date.accessioned2023-12-16T09:19:46Z
dc.date.available2023-12-16T09:19:46Z
dc.date.issued2016
dc.date.issuedBE2559
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจและอุดมคติทางธุรกิจของผู้ประกอบการไทยเชื้อสายจีนภายใต้ช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2488-2540 ผ่านการพิจารณาลักษณะการดำเนินธุรกิจ กิจกรรมด้านการกุศล ตลอดจนแนวคิดและคุณค่าต่างๆ ที่ผู้ประกอบการไทยเชื้อสายจีนยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ โดยเลือกผู้นำหอการค้าจีน ได้แก่นายมา บูลกุล นายสหัท มหาคุณ นายชิน โสภณพนิช นายสมาน โอภาสวงศ์ และนายเกียรติ วัธนเวคินเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากบุคคลเหล่านี้ถือเป็นชนชั้นนำทางเศรษฐกิจของไทยที่มีบทบาทสำคัญทั้งต่อวงการเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมของทั้งชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีนตลอดมา ผลการศึกษาพบว่าแนวทางการดำเนินธุรกิจและอุดมคติการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการไทยเชื้อสายจีนมีพื้นฐานที่วางอยู่บนหลักความสัมพันธ์และการบริหารงานแบบครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามเมื่อเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและการเมืองเปลี่ยนแปลงไป การดำเนินธุรกิจของคนเหล่านี้จึงมีการปรับเปลี่ยนตามไปด้วย ในช่วง พ.ศ. 2488–ทศวรรษ 2520 ผู้ประกอบการไทยเชื้อสายจีนมีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่โดดเด่น 3 แนวทางคือ การดำเนินธุรกิจร่วมกับรัฐ การดำเนินธุรกิจภายใต้การเข้าสมาคมธุรกิจ และการดำเนินธุรกิจที่อาศัยการขยายฐานพันธมิตรทางธุรกิจโดยการร่วมทุน ส่วนในทศวรรษ 2520 เมื่อเศรษฐกิจเกิดการเปลี่ยนแปลงและภาครัฐมีบทบาทต่อภาคธุรกิจลดน้อยลงไป แนวทางการดำเนินธุรกิจร่วมกับรัฐจึงค่อยๆ ลดบทบาทลง ในขณะที่แนวทางการดำเนินธุรกิจภายใต้ความร่วมมือในรูปสมาคมธุรกิจ และการขยายธุรกิจจากการร่วมทุนมีความสำคัญเพิ่มขึ้น ส่วนในด้านอุดมคติทางธุรกิจ การศึกษาพบว่าอุดมคติทางธุรกิจของผู้ประกอบการไทยเชื้อสายจีนเน้นความสำคัญด้านการตอบแทนสังคมและการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคมเป็นสำคัญโดยถือว่าการช่วยเหลือสังคมเป็นหน้าที่ทางวัฒนธรรมของผู้ที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ อย่างไรก็ดีขอบข่ายของกิจกรรมทางสังคมของผู้ประกอบการไทยเชื้อสายจีนในแต่ละช่วงเวลามีความแตกต่างกันออกไป โดยมีปัจจัยของความเปลี่ยนแปลงคือปัญหาการเมืองระหว่างประเทศและมาตรฐานของวัฒนธรรมแห่งชาติที่แตกต่างกัน ในช่วง พ.ศ. 2488–ทศวรรษ 2520 ผู้ประกอบการไทยเชื้อสายจีนเน้นการให้ความช่วยเหลือชาวจีนด้วยกันเองเป็นพิเศษ เนื่องจากต้องการจรรโลงคุณค่าของพ่อค้าที่ดีตามความเชื่อของวัฒนธรรมจีนเอาไว้และในขณะเดียวกันก็มีการสงเคราะห์ผู้คนในสังคมไทยและดำเนินกิจกรรมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของชาติไทยหลายประการเพื่อแสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้ประกอบการที่ดีและไม่เป็นอันตรายต่อชาติไทย ถัดมาในช่วงหลังทศวรรษ 2520 เมื่อเงื่อนไขการเมืองระหว่างประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลง การเป็นจีนไม่ได้เป็นอันตรายต่อชาติไทยอีกต่อไป ผู้ประกอบการไทยเชื้อสายจีนจึงดำเนินกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมจีนและการจรรโลงคุณค่าของความเป็นจีนมากขึ้น ควบคู่กับการรักษาวัฒนธรรมสำคัญตามอุดมคติของชาติไทยนั่นคือการกตัญญูต่อชาติ การส่งเสริมพระพุทธศาสนา และการจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
dc.description.abstractThis thesis aims to study the transformation of business conduct and ideal of Thai-Chinese entrepreneurs between 1945-1997. It examines characteristics of business conduct, charities, ideas and values that influenced their business ethos. Prominent figures in the Thai-Chinese Chamber of Commerce, including Ma Bulakul, Sahat Mahaguna, Chin Sophonpanich, Smarn Ophaswongse, and Kiat Vattanavekin, are selected as case study because of their status as economic elites, which played an important role in spheres of economy, politics, and culture among both Thai and Thai-Chinese. The research finds that business conduct and ideal of Thai-Chinese entrepreneurs are mainly based on personal connections and family business models. Their business conduct, however, has transformed under changing economic and political circumstances. From 1945 to the 1980s, there were three major types of businesses: securing contracts from the government, conducting private ventures with a trade association membership, and making alliance with other entrepreneurs via private joint ventures. Since 1980s, the changing landscape of Thai economy and the declining roles of public sector diminished the significant of government contracts, while trade associations and joint ventures became increasingly important. Focusing on business ideal, this research shows that Thai-Chinese entrepreneurs business ideal has emphasized social responsibility and aid to the poor, because it is an obligation for successful businessmen to do so in their culture. However, the scope of social responsibility could be varied by different circumstances such as international politics and the national cultural standard. From 1945 to the 1980s Thai-Chinese entrepreneurs put an emphasis on providing aid to fellow Thai-Chinese because of their commitment to philanthropy in Chinese culture. Meanwhile, other people in the society also benefited from activities of ThaiChinese entrepreneurs. In fact, Thai-Chinese entrepreneurs portrayed themselves as good businessmen and patriots in order to conform to Thai national culture. Since 1980s, under changing international political circumstance when being a Chinese is no longer considered a threat, the Thai-Chinese entrepreneurs expand more activities to promote and show their commitment to Chinese culture, as well as core values in accordance with Thai national ideology, i.e. gratitude to the Nation, devotion to Buddhism, and loyalty to the monarchyen
dc.identifier.urihttps://harrt.in.th/handle/123456789/8132
dc.language.isoth
dc.subjectผู้ประกอบการไทยเชื้อสายจีน
dc.subjectอุดมคติทางธุรกิจ
dc.subjectกิจกรรมทางสังคม
dc.subjectชนชั้นพ่อค้าในสังคมจีน
dc.subjectประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย
dc.subjectสมาคมการค้าและหอการค้าจีน
dc.subject.isced0222 ประวัติศาสตร์และโบราณคดี
dc.subject.oecd6.1 ประวัติศาสตร์และโบราณคดี
dc.titleอุดมคติทางธุรกิจของผู้ประกอบการไทยเชื้อสายจีน: กรณีศึกษากลุ่มผู้นำหอการค้าจีน (พ.ศ. 2488-2540)
dc.title.alternativeBusiness ideology of Thai-Chinese entrepreneurs: a case study of leaders of Thai-Chinese chamber of commerce, (1945-1997)en
dc.typeวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท (Master Thesis)
dspace.entity.typePublication
harrt.itemID48
harrt.researchAreaประวัติศาสตร์
harrt.researchGroupประวัติศาสตร์
harrt.researchTheme.1ประวัติศาสตร์ไทย
harrt.researchTheme.2ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
mods.location.urlhttp://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:90279
thesis.degree.departmentคณะศิลปศาสตร์
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Files